สสส.เผยสถิติ “น่าน” อันดับ1 นักดื่มของไทย ให้หมออนามัยเช็ค “เอนไซม์ตับ” ช่วยเลิกเหล้าได้

Advertisement 7 ก.ย.2566 นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผอ.สำนักสนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส.และสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) ลงพื้นที่ รพ.สต.บ้านสะเนียน อ.เมือง จ.น่าน ถอดบทเรียนความสำเร็จ “พลังหมออนามัย ชวนคนไทยตื่นรู้ เช็กตับ เลิกเหล้า” จัดการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วยเอนไซม์ตับ ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายหมออนามัยเพื่อพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพในผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน Advertisement เนื่องจากการสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชากร โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติปี 2564 พบว่า จ.น่าน มีอัตราการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นอันดับ 1 ของไทย คิดเป็น 43% ของประชากร จึงควรส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงระบบการสร้างเสริมสุขภาพ ลด ละ เลิก ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จึงได้มีการบูรณาการองค์ความรู้ด้านปัจจัยเสี่ยงหลัก และระบบบริการสุขภาพ เพื่อแก้ไขปัญหา จนเกิดโครงการดังกล่าวขึ้น Advertisement ควบคู่กับงดเหล้าเข้าพรรษาในฤดูกาลสุขปลอดเหล้า Healthy Sobriety ได้รับความร่วมมือจากเครือข่ายหมออนามัยวิชาการ เครือข่ายหมออนามัย ม.ทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง และภาคีที่เกี่ยวข้อง ขับเคลื่อนการจัดการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน พัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ […]

คลังเล็งเก็บแวต “บุหรี่-เหล้า” เพิ่มเป็น10% หารายได้โปะรัฐ-ใช้หนี้

26 กันยายน กระทรวงการคลัง เล็งหารายได้โปะรัฐด้วยการปรับวิธีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม(แวต) เป็น 2 อัตรา โดยสินค้าฟุ่มเฟือย และสินค้าที่ไม่จำเป็น อาจจะเก็บเต็มเพดานที่ 10% แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง กล่าวว่า กระทรวงการคลัง จะเสนอแนวคิดการใช้อัตราภาษีแวต 2 อัตรา โดยอัตราปกติ 7% สำหรับสินค้าทั่วไปและจัดเก็บอัตราสูงกว่า 7 % สำหรับสินค้าฟุ่มเฟือย คาดว่าจะสร้างรายได้เข้ารัฐกว่า 1 แสนล้านบาท ซึ่งแนวคิดการจัดเก็บภาษีแวต 2 อัตรานั้น ทางสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เคยศึกษาไว้นานแล้ว โดยจะไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชนส่วนใหญ่ เพราะสินค้าอุปโภคบริโภคสินค้าที่จำเป็นในชีวิต ภาษีอยู่ที่อัตราเดิม 7 % แต่สินค้าบางชนิด ที่ไม่จำเป็นหรือจัดอยู่ในสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น สุรา ยาสูบ จะเก็บในอัตราสูงกว่าปกติ ตามเพดานในกฎหมาย กำหนดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มสูงสุดไม่เกิน 10 % แหล่งข่าวกล่าวว่า ที่ผ่านมากระทรวงการคลัง เสนอปรับขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มมาโดยตลอด แต่ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากเศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวย และฝ่ายการเมืองไม่สนับสนุน เนื่องจากเกรงว่าจะกระทบต่อประชาชน ช่วงที่ผ่านมามีการปรับปรุงโครงสร้างภาษีหลายครั้ง […]

ไขข้อข้องใจ ทำไมไทยห้ามขายเหล้า-เบียร์ 14.00-17.00 น. มานานกว่า50ปี

ไขข้อข้องใจ ทำไมไทยห้ามขายสุรา 14.00-17.00 น. มานานกว่า 50 ปี จากกรณีที่ นายธนากร คุปตจิตต์ อดีตนายกสมาคมธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไทย และผู้บริหารบริษัทจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เปิดเผยว่า รัฐเตรียมปลดล็อกระยะเวลาห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ช่วงเวลา 14.00-17.00 น. ตามที่ 16 องค์กรภาคบริการ อาทิ สมาคมเกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สมาคมค้าปลีก สมาคมผู้ประกอบการถนนข้าวสาร สมาคมร้านอาหาร เป็นต้น ร้องขอให้รัฐยกเลิกประกาศช่วงเวลาห้ามขายดังกล่าวที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2515 ซึ่งก่อนหน้านี้รัฐบาลเตรียมปรับปรุงและแก้กฎหมายที่ล้าสมัย ทางภาคเอกชนจึงเสนอเรื่องดังกล่าว ล่าสุด รับทราบว่ามีสัญญาณที่ดีที่จะยกเลิกประกาศห้ามขายดังกล่าว และคณะกรรมการพัฒนากฎหมายของรัฐจะเสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป ทั้งนี้ ประเด็นเรื่องการงดขายเหล้า เวลา 11.00 -17.00 น. นั้น เคยเป็นที่ถกเถียงในโลกออนไลน์มาอย่างยาวนาน ให้เกิดความสงสัยถึงสาเหตุ ที่มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2515 ซึ่งมีการตั้งกระทู้ในเว็บ ไซต์พันทิป และมีคนเข้ามาแสดงความคิดเห็นจำนวนมาก โดยเว็บไซต์ surathai ได้เปิดเผยที่มาของการกำหนดเวลาขายเหล้าว่า “ที่มาของกำหนดเวลาขายเหล้า สามารถย้อนไปได้ถึงยุคคณะปฏิวัติ โดยจอมพลถนอม […]

ราคาพุ่งไม่หยุด “น้ำมันถั่วเหลือง-เหล้า-เบียร์-ชูกำลัง” ปรับขึ้น10-30%

สินค้าราคาพุ่งไม่หยุด ‘น้ำมันถั่วเหลือง-เหล้า-เบียร์-ชูกำลัง’ ดาหน้าปรับขึ้น 10-30% เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ นายสมชาย พรรัตนเจริญ นายกสมาคมค้าส่งค้าปลีกไทย เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำมันพืชเพื่อการบริโภค พบว่า อยู่ในภาวะสต็อกเริ่มตึงตัว และราคาปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง จึงส่งผลต่อราคาขายส่งขายปลีกน้ำมันปาล์มและน้ำมันถั่วเหลืองเพื่อใช้ในครัวเรือนมีราคาสูงขึ้น โดยราคาขายปลีกน้ำมันปาล์มบรรจุขวด (1 ลิตร) เกิน 60 บาท และบางพื้นที่สูงถึง 70 บาท ขณะที่ราคาถั่วเหลืองเริ่มเกิน 55 บาท และบางพื้นที่สูงถึง 58-59 บาทแล้วหรือปรับขึ้นประมาณ 10% ต่อขวด ซึ่งเป็นราคาที่ขยับต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา จึงทำให้ขณะนี้โมเดิร์นเทรดใช้การจำกัดจำนวนการซื้อไม่เกิน 2-6 ขวดต่อครอบครัว “ตอนนี้น้ำมันถั่วเหลืองอยู่ในภาวะตึงตัวมากขึ้น สาเหตุสะสมมาตั้งแต่การที่ราคาน้ำมันปาล์มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและจำนวนวางขายในตลาดลดลง ทำให้ประชาชนหรือพ่อค้ารายย่อยเปลี่ยนไปใช้น้ำมันถั่วเหลืองที่มีราคาถูกกว่าแทน แต่เมื่อสถานการณ์ราคาปาล์มยังสูง สต็อกปาล์มไม่ได้เพิ่มมาก และจิตวิทยาจากสถานการณ์การโจมตียูเครนของสหรัฐ อาจกระทบต่อปริมาณถั่วเหลืองโลกลดลง ซึ่งไทยยังต้องพึ่งพาการนำเข้าถั่วเหลือง เพื่อสกัดเป็นน้ำมันและเป็นส่วนผสมหนึ่งในอาหารสัตว์“ นายสมชายกล่าวและว่า “แต่ก็อยากตั้งข้อสังเกตและให้ภาครัฐตรวจสอบว่ามีการบิดเบือนตลาดทั้งในแง่กักตุนวัตถุดิบ กักตุนสินค้า เพื่อเก็งกำไรและปั่นราคาตลาดให้สูงเกินความเป็นจริงหรือไม่ ปล่อยไปอย่างนี้ไม่นานจะเกิดวงจรสินค้าขาดราคาแพง อยากให้ป้องกันก่อนเกิดปัญหา เหมือนกรณีเนื้อหมู ที่พบว่ามีสต็อกมากแต่ไม่มีขายในตลาด ขณะที่ผู้ผลิตน้ำมันปาล์มและถั่วเหลืองได้จำกัดการจัดส่งถึงร้านค้าแล้ว แม้จะยังมีขายแต่ไม่ได้เท่าเดิม” […]

‘สรรพสามิต’ โอดรายได้วืด 6,000ล้าน เหตุคนไทยดื่มเหล้า-เบียร์น้อยลง!

  "สรรพสามิต" เผยยอดเก็บภาษี 7 เดือนแรก รายได้จากการเก็บภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หายไปกว่า 6,000 ล้านบาท หลังคนไทยดื่มสุรา-เบียร์น้อยลง ผู้ประกอบการปรับสูตรผลิต ทำรัฐเก็บภาษีลดลง  วันที่ 14 พฤษภาคม 2561 นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า ภาพรวมการจัดเก็บรายได้ในรอบ 7 เดือน ปีงบประมาณ 2561 (ตุลาคม 2560-เมษายน 2561) ทำได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 2,289 ล้านบาท โดยเก็บภาษีได้ 322,132 ล้านบาท เป็นผลมาจากการเก็บภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่พลาดเป้าถึง 6,300 ล้านบาท เพราะระยะหลังคนไทยคนไทยดื่มเบียร์ ดื่มสุราน้อยลง โดยเฉพาะช่วงสงกรานต์ที่ปกติจะจัดเก็บภาษีได้เป็นจำนวนมาก แต่ปีนี้มีมาตรการณรงค์งดเครื่องดื่มมึนเมา ควบคู่กับการจัดโซนนิ่งตามสถานที่เล่นน้ำและสถานีขนส่งต่าง ๆ จึงทำให้ยอดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการเก็บภาษีน้อยลงตามด้วย ขณะเดียวกันยังได้รับผลกระทบจากโรงงานผลิตเบียร์ได้ปรับสูตรผลิตใหม่ โดยลดปริมาณแอลกอฮอล์และลดขนาดสินค้าให้เล็กลง เช่น เดิมมีปริมาณแอลกอฮอล์ผสม 5% ก็ลดลงเหลือ 3% รวมถึงได้ปรับขนาดเบียร์กระป๋องจาก 350 ซี.ซี. เหลือ 330 ซี.ซี. เพื่อชดเชยต้นทุนที่สูงขึ้น จากการถูกเก็บภาษีเข้ากองทุนผู้สูงอายุ […]

error: