พิธา ปราศรัยเดือด เลือกตั้งทำไม เสียงประชาชนไม่มีความหมาย

Advertisement 22 ก.ค.2566 นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล พร้อม น.ส.เบญจา แสงจันทร์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรค และทีมงานก้าวไกล จ.ชลบุรี เดินทางพบประชาชน ที่หน้าโรงแรมThe Now ชายหาดจอมเทียน พัทยา เพื่อปราศรัยขอบคุณ ชาวชลบุรี ถือเป็นการลงพื้นที่ครั้งแรกหลังถูก ศาลรัฐธรรมนูญ สั่งยุติปฎิบัติหน้าที่ ส.ส. โดยบรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก มีผู้สนับสนุนพรรคก้าวไกล ใส่เสื้อสีส้ม หมวกสีส้ม และอุปกรณ์เชียร์ต่างๆซึ่งมีสัญลักษณ์พรรคก้าวไกล และสีส้มเข้าร่วมรอต้อนรับนายพิธา เพื่อให้กำลังใจเป็นจำนวนมาก Advertisement ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างที่ นายพิธามาถึง เกิดฝนตกกลงมาอย่างหนัก แต่มววลชนยังยืนตากฝนรอนายพิธา ไม่หนีไปไหน จากนั้นนายพิธาเดินทางมาถึง และขึ้นกล่าวปราศรัยบนรถเครื่องเสียงทันที นายพิธา กล่าวว่า ถึงแม้ว่าพวกเขา จะไม่ยอมให้พวกเราจัดตั้งรัฐบาล ถึงแม้พวกเขาจะไม่ยอมให้ผมเป็นนายกรัฐมนตรี ผมก็จะลงมายืนอยู่กับพวกคุณ ยืนยันผมจะไม่ทิ้งพวกคุณ ว่าแต่ว่า เขาจะให้เลือกตั้งกันมาทำไม พอเลือกมาเป็นพิธา ก็เลือกกันไปพอพิธีใช่หรือไม่ แต่พวกเราหมดหวังกันไม่ได้ ยังยอมแพ้ไม่ได้ ในเมื่อเราลงเรือลำเดียวกันแล้ว ทั้ง 8 […]

เปิดคุณสมบัติ “ผู้ช่วย ส.ส.” ค่าตอบแทน1.5หมื่น คุณสมบัติอะไรบ้าง

ตามระเบียบของสภาผู้แทนราษฎร ระบุไว้ว่า ส.ส. สามารถแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญประจำตัว ผู้ชำนาญการประจำตัว และผู้ช่วย ดำเนินงาน ส.ส. ได้รวม 8 คน ส่วนตำแหน่งที่ นายศุภณัฐ เปิดรับ คือ ผู้ช่วยดำเนินงาน จริงๆ แล้วสามารถมีได้ถึง 5 คน คุณสมบัติทั่วไป (ต้องมีครบทุกประการ) 1. มีสัญชาติไทย 2. มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ 3. เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ 4. ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ 5. ไม่เป็นข้าราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีตำแหน่ง หรือเงินเดือนประจำ ผู้บริหารท้องถิ่น ข้าราชการการเมือง ข้าราชการ รัฐสภาฝ่ายการเมือง พนักงานหน่วยงานของรัฐ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ 6. ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม 7. ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง (ต้องมีข้อใดข้อหนึ่ง) 1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไป หรือ 2. […]

กกต.แจง ไม่ได้เร่งรัดพิจารณา ส่งศาล รธน.วินิจฉัยสมาชิกภาพ ส.ส. “พิธา”

13 ก.ค. สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง กกต.ขอชี้แจง กรณีการส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยสมาชิกภาพ ส.ส.ของ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ มีเหตุสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ ตามที่ กกต.ได้ส่งคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยกรณีสมาชิกภาพของ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ มีเหตุสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปัจจุบัน เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 นั้น กกต.ขอชี้แจงว่า การดำเนินการดังกล่าว เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปัจจุบัน ตามมาตรา 82 วรรคสี่ บัญญัติว่า “ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่าสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร… มีเหตุสิ้นสุดลง… ให้ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย…” การส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย กกต.ได้ดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ กล่าวคือ มาตรา 82 วรรคสี่ บัญญัติให้ กกต.เป็นผู้ใช้อำนาจโดยตรง สามารถส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยได้ กรณีดังกล่าว ไม่ใช่เป็นเรื่องการกระทำความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้งและพรรคการเมือง หรือการกระทำอันอาจเป็นเหตุให้การเลือกตั้ง มิได้เป็นไปโดยสุจริตหรือเที่ยงธรรม หรือมิได้เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ที่จะต้องนำบทบัญญัติตามมาตรา 43 ของ พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2560 และ ข้อ 54 ของระเบียบ กกต. […]

“พล.อ.ชวลิต” อวยพรให้ก้าวไกลตั้งรัฐบาลได้สำเร็จ โหวต “พิธา” เป็นนายกฯ ได้ราบรื่น

7 ก.ค. 2566 นางอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ ในฐานะกรรมการบริหารก้าวไกล โพสต์เฟซบุ๊กเปิดเผยภาพที่ตนเองพร้อมกับ ส.ส.พรรคก้าวไกล อาทิ นายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ ส.ส.กทม. นายนิติพล ผิวเหมาะ ส.ส.บัญชีรายชื่อ นำกระเช้าดอกไม้เข้าพบ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี ที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง พร้อมกับข้อความระบุว่า “พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อวยพรให้พรรคก้าวไกล ในฐานะพรรคแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ประสบความสำเร็จ ให้การโหวตเลือก นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกลเป็นนายกฯ ในวันที่ 13 ก.ค.นี้ เป็นไปอย่างราบรื่นเรียบร้อย” ต่อมา นางอมรัตน์ ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติม ว่า ก็ไม่ได้มีนัยอะไร พอดีหลานชายแท้ๆ ของ พล.อ.ชวลิต เป็นผู้ช่วย ส.ส.พรรคก้าวไกล คือเป็นผู้ช่วยของ นายนิติพล เขามาแจ้งเราว่า พล.อ.ชลลิต ป่วยเข้าโรงพยาบาล จึงนำกระเช้าเข้าไปเยี่ยม ซึ่งท่านก็ได้อวยพร นายพิธา อย่างที่ตนได้โพสต์ไป […]

ชาวสัตหีบโวย พบต้นขั้วของบัตรเลือกตั้ง ถูกทิ้งกองขยะ วอน กกต.ชี้แจงด่วน

21 พ.ค. 66 ที่ทำการอำเภอสัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี มีชาวบ้านร่วมตรวจสอบบัตรเลือกตั้ง ส.ส.ชลบุรี เขต10 แจ้งว่าพบต้นขั้วบัตรจำนวนมากใส่ถุงไว้ ปนอยู่กับกองขยะ ที่เตรียมถูกนำไปกับขยะอุปกรณ์เลือกตั้ง ซึ่งมีต้นขั้วจำนวน 2 ปึก และ กล่องเลือกตั้ง โดยอยากให้ตรวจสอบที่มาที่ไป แล้วทำไมถึงนำมาทิ้งตรงบริเวณเอกสารที่ไม่ได้ใช้ จากการสอบถามชาวบ้านรายหนึ่ง เผยว่า ตนกับเพื่อนมาเดินรอบ ๆ พอเดินไปรอบ ๆ พบว่ามีหน้าต่างปิดอยู่บางจุด พอเดินไปอีกก็เจอถุงที่ใส่บัตร คล้ายกับบัตรเลือกตั้งแต่ก็ไม่แน่ใจว่าเป็นบัตรอะไร เนื่องจากอยู่ข้างนอก ซึ่ง ผู้สมัคร สส. พรรคก้าวไกลก็ได้ไปแจ้งกับ กกต. ด้าน กกต.แจ้งว่าจะไม่มีการเคลื่อนย้ายบัตร แต่จะเก็บอุปกรณ์บางส่วนกลับไปเก็บที่สำนักงาน หลังจากนี้ก็จะให้ตัวแทนของแต่ละพรรคเข้าไปสำรวจบริเวณด้านใน อุปกรณ์ เอกสาร ที่ไม่เกี่ยวข้องเพื่อให้หน่วยงานเก็บกลับไปที่สำนักงาน หลังจากที่เปิดห้องเข้าไปก็พบถุงจำนวนมากที่กองไว้ ซึ่งมีเจ้าหน้าที่แจ้งว่า บัตรนี้เป็นบัตรต้นขั้ว ตนก็สงสัยว่าบัตรบางอันไม่ได้เจาะรู เนื่องจากสงสัยก็เลยถามเจ้าหน้าที่ แต่เจ้าหน้าที่ตอบกลับมาว่า เจาะรูแล้ว บัตรร้อยเชือกอยู่ไม่เห็นหรอ ซึ่งในถุงมีบัตรจำนวนเยอะมาก แต่ตนก็ไม่ได้แตะต้องถุงแต่อย่างใด ขณะที่ร่วมกันตรวจสอบกับตัวแทนพรรคหลาย ๆ พรรค ก็มีเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐท่านเดิมแจ้งว่าอันนี้ไม่ใช่บัตรต้นขั้ว […]

ประชุม ครม.นัดแรก หลังแพ้เลือกตั้ง รัฐมนตรีลา 13คน

16 พฤษภาคม ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พบว่าวันนี้มีรัฐมนตรีแจ้งลาการประชุม 13 ราย ประกอบด้วย 1.นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.สาธารณสุข 2.นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พาณิชย์ 3.นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.ต่างประเทศ 4.นายอิทธิพล คุณปลื้ม รมว.วัฒนธรรม 5.น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รมว.ศึกษาธิการ 6.นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 7.นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรและสหกรณ์ 8.นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา 9.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รมช.ศึกษาธิการ 10.นายทรงศักดิ์ ทองศรี รมช.มหาดไทย 11.นายสินิตย์ เลิศไกร รมช.พาณิชย์ 12.น.ส.มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รมช.เกษตรและสหกรณ์ และ 13.นายสุนทร ปานแสงทอง รมช.เกษตรและสหกรณ์ ขณะที่วาระการประชุม ประกอบด้วย […]

หาเสียงแบบใหม่! ผู้สมัครก้าวไกล นครปฐม หาบพวงมาลัยแผ่นพับ แจกตามแยกไฟแดง

27 เมษายน ที่บริเวณแยกไฟแดง ต.สามควายเผือก อ.เมือง จ.นครปฐม น.ส.จารุพรรณ เพชรดี หรือเกด ผู้สมัคร ส.ส.นครปฐม เขต 1 เบอร์ 1 พรรคก้าวไกล (ก.ก.) เดินหาเสียงอย่างหนักช่วงโค้งสุดท้าย พร้อมกับสร้างสีสัน สร้างรอยยิ้มให้กับพ่อแม่พี่น้องที่ผ่านไปมาบริเวณแยกไฟแดง ด้วยพวงมาลัยแผ่นพับหาเสียง โดยนำแผ่นพับผูกติดกับริบบิ้นยกขึ้นบ่าเดินประชาสัมพันธ์นโยบายพรรคก้าวไกลทุกแยกไฟแดงในเขตของตัวเอง น.ส.จารุพรรณกล่าวว่า การสร้างสรรค์แบบนี้ทำให้ประชาชนสนใจในตัวเกดมากขึ้น อยากรู้ว่าในแผ่นพับมีอะไร บางคนเปิดกระจกให้กำลังใจ บางคนชมชอบความคิดสร้างสรรค์ ประชาชนเบื่อการหาเสียงแบบเดิมๆ อยากเห็นความครีเอทของผู้สมัครว่าจะนำเสนอตนเองผ่านวิธีไหนให้ไม่น่าเบื่อ น.ส.จารุพรรณกล่าวว่า แผ่นพับที่ติดกับริบบิ้นเป็นเพียงแค่พร็อพที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์ ไม่ได้แจกจ่ายให้ประชาชนเพราะริบบิ้นที่ติดกับแผ่นพับอาจถูกตีความว่าเป็นการให้สิ่งของกับประชาชน เมื่อประชาชนสนใจและต้องการแผ่นพับจะมีทีมงานส่งแผ่นพับปกติให้แทน   ข่าวจาก : มติชน

กกต.ส่งหนังสือถึง สสจ. ขอช่วยปราม อสม.ทำตัวเป็นหัวคะแนน

26 เมษายน บรรยากาศการหาเสียงเลือกตั้งในจังหวัดสงขลา พบว่า สภาพแผ่นป้ายหาเสียงของผู้สมัคร ส.ส.รวมถึง แผ่นป้ายนโยบายพรรค ของพรรครวมไทยสร้างชาติ ที่ติดตั้งเอาไว้ในเขตเลือกตั้งที่ 3 สงขลา ได้รับความเสียหาย ล้มลงบนพื้น รวมถึงถูกกรีด ทุบ ทำลายไปไม่น้อย นอกจากนั้นยังมีแผ่นป้ายหาเสียงของผู้สมัครอีกหลายพรรคการเมือง ในทั้ง 9 เขตเลือกตั้ง ถูกทุบทำลาย ซึ่งสะท้อนถึงปัญหาความขัดแย้ง รวมถึงการแข่งขันที่ดุเดือด แม้ทางสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดสงขลา จะได้มีการขอความร่วมมือในการหาเสียงเชิงสมานฉันท์ไปแล้วก็ตาม ในขณะเดียวกันก็พบว่ากระแสการซื้อเสียงผ่านระบบหัวคะแนนอีกหลายเขต โดยเฉพาะในเขตเลือกตั้งที่ 1 และ เขตเลือกตั้งที่ 4 สงขลา นางพะเยีย ศิริโชติ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดสงขลา ระบุว่า ได้ทำหนังสือส่งถึงนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสงขลา ให้กำชับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือ อสม.ไม่ให้กระทำการฝ่าฝืนกฎหมายเลือกตั้งและพรรคการเมือง หลังได้รับรายงานว่าอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตพื้นที่จังหวัดสงขลามีพฤติกรรมเป็นตัวแทน (หัวคะแนน) กระทำการซื้อเสียงให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา   ข่าวจาก : มติชน

ชัชชาติเตรียมเสนอ กกต.ใช้ AI ตรวจสอบนับคะแนน

10 เม.ย. 2566 ที่ศาลาว่าการกทม. นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะผู้บริหาร กทม. เรื่องความพร้อมในการจัดการเลือกตั้ง ของกทม. ว่า ได้เน้นย้ำเรื่องความโปร่งใสในการจัดการเลือกตั้ง โดยเฉพาะการเลือกตั้งล่วงหน้า ได้มอบหมายให้ พล.ต.อ.อดิศร์ งามจิตสุขศรี ที่ปรึกษาผู้ว่าฯ กทม. เป็นผู้ดูแลด้านความปลอดภัย การรักษาบัตรเลือกตั้ง ตั้งแต่รับบัตรมาจาก กกต. และการเก็บรักษาบัตรเลือกตั้งที่ลงคะแนนแล้ว โดยนำเทคโนโลยีป้องกันไม่ให้มีใครเข้าออกห้องที่เก็บรักษาบัตร หากมีใครไปยุ่งหรือขยับกล่องลงคะแนนก็จะมีสัญญาณเตือนทันที และจะมีการถ่ายทอดสด ผ่านกล้องวงจรปิด (CCTV) ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อสร้างความมั่นใจให้ประชาชนได้ว่า จะไม่มีการเปลี่ยนบัตรลงคะแนนได้เด็ดขาด รวมถึงกระบวนการให้ประชาชนมีส่วนในการเลือกตั้งโปร่งใสครั้งนี้ โดยสามารถแจ้งเหตุผ่านทราฟฟี่ฟองดูว์ เลือกเมนูหลักเรื่องเลือกตั้ง แจ้งเหตุในเมนูย่อยเรื่องความไม่โปร่งใส สามารถแจ้งเหตุ หากพบเห็นเรื่องผิดกฎหมายเลือกตั้งใดๆ เช่น การซื้อสิทธิขายเสียง ซึ่ง กทม.จะรวบรวมข้อมูลส่งให้กับ กกต.ดำเนินการต่อไป รวมถึงเรื่องของป้ายหาเสียง ที่ไม่ทำตามระเบียบในการติดประกาศป้าย ประชาชนก็สามารถแจ้งได้เช่นเดียวกัน นายชัชชาติ กล่าวว่า สำหรับในวันเลือกตั้ง ได้มอบ นายศานนท์ หวังสร้างบุญ […]

กกต.แจงใช้บัตรเลือกตั้งเหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา ไม่สับสนแน่นอน

1 เม.ย. นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) โพสต์เฟซบุ๊คส่วนตัว ชี้แจงเรื่องบัตรเลือกตั้ง ว่าในการเลือกตั้ง ส.ส.ทั่วไป พ.ศ. 2566 ใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ คือ แบบบัญชีรายชื่อ และแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง แม้จะเป็นพรรคเดียวกันแต่เป็นคนละหมายเลข (เบอร์ ) เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กกต.เป็นเพียงผู้กำหนดรูปแบบบัตรให้เป็นไปตามกฎหมายเท่านั้น โดยรูปแบบบัตรเลือกตั้ง นับแต่มีการเลือกตั้งในประเทศไทยมาจนถึงปัจจุบัน มีรูปแบบบัตรที่ใช้เลือกตั้ง อยู่ 3 ประเภท คือ บัตรมาตราฐานแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง คือ 1.บัตรที่มีเฉพาะหมายเลข(เบอร์)ผู้สมัคร หรือที่ภาษาชาวบ้านเรียกว่าบัตรโหล จะไม่มีรายชื่อผู้สมัครแต่อย่างใด ทุกการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งในประเทศไทยใช้บัตรเลือกตั้งแบบนี้มาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งที่มีเฉพาะแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ก่อนรัฐธรรมนูญ ปี 2540 หรือมีการเลือกตั้งแบบบัญชีราบชื่อ หลังปี 2540 ก็ตาม หมายความว่า ไม่เคยมีชื่อผู้สมัครในบัตรเลือกตั้งแต่อย่างใด 2.บัตรมาตราฐานแบบบัญชีรายชื่อ คือ บัตรที่มีหมายเลขผู้สมัคร(เบอร์) มีสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายของพรรคการเมือง และมีชื่อพรรคในบัตรเลือกตั้ง เริ่มใช้บัตรเลือกตั้งรูปแบบนี้นับแต่รัฐธรรมนูญ ปี […]

1 2 4
error: