กรมการจัดหางาน จับมือ กยศ. เสิร์ฟงานผู้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ผ่านเว็บไซต์ “ไทยมีงานทำ”

Advertisement 10 กุมภาพันธ์ นายสมชาย มรกตศรีวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กรมการจัดหางาน ร่วมบูรณาการกับ กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ซึ่งมีหน้าที่สนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาด้วยการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา เพิ่มโอกาสทางการศึกษาแบ่งเบาภาระด้านการเงินของผู้ปกครอง เพื่อหารือถึงแนวทางการกำหนดมาตรการช่วยเหลือให้ผู้กู้ยืมเงินมีงานทำ มีรายได้เพียงพอใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน มีเงินสำรองยามเจ็บป่วยและสามารถชำระหนี้กองทุนฯ ตามกำหนดได้ ซึ่งกรมการจัดหางานได้แนะนำแพลตฟอร์ม “ไทยมีงานทำ” ที่รวบรวมตำแหน่งงานจากภาครัฐ ภาคเอกชน และตำแหน่งงานจากบริษัทจัดหางานชั้นนำไว้หลายตำแหน่ง เพื่อให้ผู้กู้ยืมเพื่อการศึกษาที่กำลังมองหางาน สามารถค้นหาข้อมูลตำแหน่งงานที่เหมาะสมกับตัวเองมากที่สุด ด้วยการจับคู่ (Matching) ตำแหน่งงานตามความรู้ ความสามารถ และทักษะที่มีอยู่ หรือค้นหาหลักสูตรฝึกอบรมทั้งระยะสั้นและระยะยาวเพื่อพัฒนาทักษะการทำงาน ต่อยอดเพิ่มรายได้ โดยใช้บริการฟรีได้ทุกที่ ทุกเวลา โดยไม่มีค่าบริการ ซึ่งปัจจุบันมีตำแหน่งงานในระบบจากทั่วประเทศ จำนวน 179,267 อัตรา โดยตำแหน่งงาน 5 อันดับแรกที่มีความต้องการมากที่สุด ได้แก่ 1.พนักงานขายของหน้าร้านและสาธิตสินค้า 2.เจ้าหน้าที่การตลาด 3.เจ้าหน้าที่สำนักงานอื่นๆ 4.เจ้าหน้าที่บัญชี และ 5.ผู้จัดการฝ่ายขายและการตลาด Advertisement Advertisement “ผมขอชื่นชม กยศ. ที่หยิบยื่นโอกาสให้คนไทยมีทุนศึกษาต่อ กรมการจัดหางานในฐานะหน่วยงานที่รับไม้ต่อในการส่งเสริมให้คนไทยมีงานทำหลังเรียนจบ […]

กฤษฎีกาฯ แจงชัด ยกหนี้ กยศ.ไม่ใช่การแก้ปัญหา ทำให้ขาดวินัยการเงิน

จากกรณีการออกมาล่ารายชื่อ 10,000 รายชื่อ เพื่อยื่นแก้ไขกฎหมายกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) โดยให้รัฐบาลเป็นลูกหนี้แทนผู้กู้ โดยมีการลงชื่อผ่านเว็บไซต์ “ศูนย์วิจัยรัฐสวัสดิการ” จนทำให้ แฮชแท็ก #ล้างหนี้กยศ ขึ้นเทรนด์ทวิตเตอร์ มีการแสดงความเห็นในสื่อสังคมออนไลน์กันอย่างกว้างขวาง แม้จะเห็นด้วยกับการเรียนฟรี แต่เรื่องการกู้เงินต้องดำเนินไปตามกระบวนการ เพราะผู้กู้รู้ถึงกฎระเบียบที่ต้องคืนเงินให้กองทุน กยศ. นายนพดล เภรีฤกษ์ โฆษกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ออกเอกสารชี้แจงในเรื่องดังกล่าว ฉบับลงวันที่ 18 ส.ค.65 โดยระบุว่า ตามที่มีข่าวการล่ารายชื่อให้ยกหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) นั้น สำนักงานฯ ขอเรียนว่า การยกหนี้ กยศ. ไม่ใช่การแก้ปัญหาหนี้ กยศ. แต่จะทำให้ผู้กู้ขาดวินัยทางการเงิน ซึ่งจะเป็นปัญหาต่อไปในอนาคต แต่รัฐบาลเข้าใจปัญหาของหนี้ กยศ. ตามกฎหมายปัจจุบัน จึงเสนอแก้ไขให้การชำระหนี้ กยศ. ยังคงเป็นไปตามหลักเป็นหนี้ต้องใช้หนี้ แต่ผ่อนปรนการชำระหนี้ กยศ. ให้สอดคล้องกับรายได้และความสามารถในการชำระหนี้ของผู้กู้ ขณะนี้ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวอยู่ในชั้นการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร   ข่าวจาก : ข่าวออนไลน์7HD

error: