ครม.ไฟเขียวปรับลดภาษีน้ำมันดีเซล 1 บาท/ลิตร เริ่ม 20 ม.ค.-19 เม.ย. 67

Advertisement ​ครม. อนุมัติปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลและน้ำมันอื่นๆ ที่คล้ายกัน ประมาณ 1 บาท/ลิตร ตรึงไม่เกิน 30 บาท/ลิตร จนถึงหลังสงกรานต์ เริ่ม 20 ม.ค. 67 จนถึง 19 เม.ย. 67 Advertisement 16 มกราคม 2567 นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (16 มกราคม 2567) มีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่…) พ.ศ. … ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตสินค้าน้ำมันดีเซลและน้ำมันอื่นๆ ที่คล้ายกัน ประเภทอัตราตามปริมาณ (ลิตร) (ปรับลดประมาณ 1 บาท/ลิตร) เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2567 จนถึงหลังเทศกาลสงกรานต์ วันที่ […]

ทำเนียบส่งหนังสือด่วน 5 หน่วยงาน จ่อเลิกจ่ายเงินอุดหนุนช่วยเกษตรกร

แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล แจ้งว่า ขณะนี้ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้ทำหนังสือด่วนที่สุด ที่ นร 0505/ว(ล)25288 แจ้งถึงกระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงบประมาณ และสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ถึงการจัดทำมาตรการ/โครงการเพื่อสนับสนุนหรือให้ความช่วยเหลือเกษตรกร หนังสือราชการดังกล่าวมีสาระสำคัญ โดยระบุมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ขอให้การช่วยเหลือเกษตรกรและภาคเกษตรต่อจากนี้ไป ขอให้ทุกหน่วยงานหลีกเลี่ยงการดำเนินการในลักษณะการให้เงินอุดหนุน ช่วยเหลือ ชดเชย หรือประกันราคาสินค้าเกษตรโดยตรงแก่เกษตรกร ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นว่า เพื่อยกระดับขีดความสามารถของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรที่เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจต่าง ๆ ของประเทศ เช่น ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง ข้าวโพด ปาล์ม และอ้อย รวมถึงพัฒนาภาคเกษตรให้มีความเข้มแข็งและเกิดความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน ทำให้เกษตรกรที่เพาะปลูกพืชดังกล่าวสามารถประกอบอาชีพของตนได้อย่างมีศักยภาพ มีรายได้พอเพียงแก่การดำรงชีวิตได้อย่างยั่งยืน โดยไม่เป็นภาระต่อภาครัฐในการให้ความช่วยเหลือดูแล และชดเชยเกินจำเป็น คณะรัฐมนตรีจึงมีมติกำหนดเป็นหลักการว่า ในการจัดทำมาตรการ/โครงการเพื่อสนับสนุนหรือให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและภาคเกษตรต่อจากนี้ไป ให้ทุกหน่วยงานหลีกเลี่ยงการดำเนินการในลักษณะการให้เงินอุดหนุน ช่วยเหลือ ชดเชย หรือประกันราคาสินค้าเกษตรโดยตรงแก่เกษตรกร พร้อมทั้งให้พิจารณาดำเนินมาตรการ/โครงการในลักษณะที่เป็นการสนับสนุนการเพิ่มระดับผลิตภาพ (Productivity) ของภาคการเกษตรการพัฒนาภาคเกษตรตลอดห่วงโซ่อุปทาน หรือเป็นการยกระดับกระบวนการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าเกษตร ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรสามารถสร้างรายได้ของตนเองได้อย่างเพียงพอได้ในระยะยาวและดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพและมีความยั่งยืนต่อไป ท้ายหนังสือด่วนฉบับนี้ยัง ระบุว่า ขอให้หน่วยงานต่าง ๆ […]

ธปท. เตือน จ่ายเงินชาวนาไร่ละ 1,000 เสี่ยงเกิด Moral Hazard

14 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา มีมติเห็นชอบในหลักการ โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2566/67 วงเงินงบประมาณจ่ายขาด 56,321.07 ล้านบาท หรือ จ่ายเงินชาวนาไร่ละ 1,000 บาท ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เสนอ แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล ระบุว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ทำหนังสือด่วนที่สุด ที่ ธปท.ฝศม. 806/2566 เรื่อง มาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือก ปีการผลิต 2566/67 (เพิ่มเติม) ระบุถึงการดำเนินโครงการจ่ายเงินชาวนาไร่ละ 1,000 บาท ดังนี้ ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีมีหนังสือด่วนที่สุดที่ นร 0506/ว(ล) 24405 ลงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2566 แจ้งว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เสนอเรื่อง มาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือก ปีการผลิต 2566/67 (เพิ่มเติม) ให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา โดยขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พิจารณาเสนอความเห็นในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อประกอบการพิจารณาของ ครม. […]

ครม.เห็นชอบร่าง กม.ซื้อของไม่ตรงปก ผู้ประกอบการต้องรับผิดชอบภายใน2ปี

27 พฤศจิกายน 2565 ในการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ที่มี”พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เป็นประธาน เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายนที่ผ่านมา มีประเด็นสำคัญเรื่องหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับ”ผู้บริโภค” ประสบปัญหาการซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการร้านค้า หรือ ผ่านออนไลน์ แต่กลับได้สินค้าไม่ตรงตามที่แจ้ง หรือตามประสาโซเชี่ยล ได้ของ”ไม่ตรงปก” ได้สินค้าที่ชำรุดบกพร่องบ้าง ได้สินค้าหมดอายุบ้าง แล้วจะมีข้อกฎหมายใดมาคุ้มครองผู้บริโภค ด้วยเหตุนี้ การประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)วันดังกล่าว จึงมีมติ “อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติความรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องของสินค้า พ.ศ. ” ร่างกฎหมายดังกล่าว เป็นการกำหนด “ความรับผิดของผู้ประกอบการธุรกิจ” ในความชำรุดบกพร่องของสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ส่วนบุคคลและรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล รวมถึงสินค้าอื่นที่อาจกำหนดตามพระราชกฤษฎีกา โดยผู้ประกอบธุรกิจต้องรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องของสินค้าอันเป็นเหตุให้เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสม ภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันส่งมอบสินค้า ไม่ว่าผู้ประกอบธุรกิจจะรู้ถึงความชำรุดบกพร่องของสินค้าหรือไม่ก็ตาม กรณีสินค้าชำรุดบกพร่องภายใน 1 ปี นับแต่วันส่งมอบสินค้า ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าสินค้านั้น ชำรุดบกพร่องในเวลาส่งมอบสินค้า กรณีผู้ประกอบธุรกิจเป็น “ผู้ติดตั้งหรือประกอบสินค้า” หรือกรณี “ผู้บริโภคประกอบสินค้า-ติดตั้งตามคู่มือ” ที่ผู้ประกอบธุรกิจจัดให้ แต่คู่มือนั้นกำหนดวิธีติดตั้งหรือประกอบสินค้า “ไม่ถูกต้องหรือครบถ้วน” ผู้บริโภคสามารถดำเนินการได้ […]

error: