สาวสุดช้ำ ซื้อประกันสุขภาพ แต่โดนเท อ้างเคลมมากไป ทำจดหมายสั่งหมอให้ออกจาก รพ.!!

  เป็นเรื่องราวของผู้บริโภค ที่ได้รับความไม่เป็นธรรมและนำมาร้องเรียนผ่านสื่อออนไลน์ โดยพบว่า สมาชิกเฟซบุ๊ก Pimnarakul Perth ได้เขียนเรื่องราวหลังจากทำประกันสุขภาพ โดยหวังว่าจะเป็นที่พึ่งพาเมื่อเจ็บป่วย และเป็นการซื้อความเสี่ยงในอนาคต ตามที่บริษัทประกันมักโฆษณาลักษณะนี้อยู่บ่อยๆ แต่ผู้โพสต์ท่านนี้ ได้พบกับประสบการณ์สุดช้ำ เมื่อเจ็บป่วยแต่กลับโดนประกันเทดื้อๆ โดยโพสต์ดังกล่าวระบุว่า “#ย้ำชัดๆ ตัวแทนแจ้งเหตุผลว่ายกเลิกเพราะเคลมบ่อยค่ะ #เราไม่มีโรคประจำตัวมาก่อนทำประกัน #หลังทำประกันเป็นโรคซึมเศร้าซึ่งก็ไม่เคยแอดมิทในโรคนี้ #การแอดมิททุกๆ ครั้งบริษัทจ่ายผลประโยชน์ค่ารักษาให้ตามที่ระบุทุกครั้ง #ไม่เคยถูกปฏิเสธการจ่ายค่ารักษาจากประกัน แต่จู่ๆก็โดน XXXX เท ตัวแทนให้เหตุผลว่าเพราะเคลมบ่อย  อีกทั้งทางบริษัทใหญ่ก็ส่งจดหมายมาขอยกเลิกชดเชยรายวันและค่ารักษาพยาบาล แบบนี้ก็ได้เหรอ??? ที่ทำประกันก็เพื่อประกันความเสี่ยงในการเจ็บป่วย แถมปีที่แล้วมีปัญหาเยอะมาก ต้นปีเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบ บริษัทให้สำรองจ่าย ตามแล้วตามอีก กว่าจะได้เงินคืนปาเข้าไป 2 เดือนกว่า รอบต่อมาเป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ A นอนได้คืนนึง บริษัทส่งเอกสารมาให้หมอให้คนไข้ออกจาก รพ ซะงั้น ทั้งๆ ที่ยังมีไข้อยู่แล้วเหนื่อยหอบมาก วันต่อมาเลยต้องยอมออกจาก รพ ทั้งๆที่ยังไม่หายดี เพราะกลัวจะโดนสำรองจ่ายแบบคราวที่แล้วอีก ออกจาก รพ. มาแบบไม่หาย สุดท้ายต้องซื้อเครื่องพ่นยามาพ่นต่อที่บ้านเอง  เจริญporn ใครคิดจะซื้อประกัน แนะนำซื้อบริษัทอื่นเถอะ […]

ผู้บริโภคต้องรู้! มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเปิดผลสำรวจ ‘ประกันชีวิตเจ้าไหนให้ผลประโยชน์มากกว่ากัน’(คลิป)

  18 ก.ย.61 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) จัดแถลงข่าวสำรวจเรื่อง “ประกันชีวิตเจ้าไหนให้ผลประโยชน์มากกว่ากัน”  นิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ภายใต้โครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ โดยได้สำรวจเรื่องประกันชีวิตเจ้าไหนให้ผลประโยชน์มากกว่ากัน   โดยพิจารณาจากบริษัทที่มีสัดส่วนทางการตลาดสูงสุด 11 รายแรก ซึ่งได้คัดเลือกจากแบบประกันชีวิตที่มีหลากหลายผลิตภัณฑ์ในตลาด เช่น ประกันชีวิตเพื่อการออมทรัพย์ ประกันเพื่อการศึกษาบุตร ประกันเพื่อวัยเกษียณอายุ ประกันเพื่อการลงทุน และยังมีแบบอื่น ๆ อีกหลายประเภท แต่สำหรับการสำรวจเปรียบเทียบในครั้งนี้จะศึกษาเฉพาะประกันชีวิตแบบออมทรัพย์หรือสะสมทรัพย์ และประกันสุขภาพ เท่านั้น และทำการทดสอบโดยเปรียบเทียบจากใบเสนอราคาจากตัวแทนประกันชีวิต ช่วงเดือนมิถุนายน 2561 น.ส.สารี อ๋องสมหวัง บรรณาธิการบริหารนิตยสารฉลาดซื้อ กล่าวว่า วิธีการสำรวจเปรียบเทียบนั้น นิตยสารฉลาดซื้อตั้งโจทย์เป็นการยกตัวอย่างการซื้อประกันชีวิตของบุคคลเพศชาย (นามสมมติ “นายธรรมดา ฉลาดซื้อ”) อายุ 35 ปี โสด ทำงานเป็นพนักงานในสำนักงานแห่งหนึ่ง ไม่มีสภาพแวดล้อมที่เป็นความเสี่ยงหรือเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย มีความสนใจอยากเลือกซื้อประกันชีวิต แบบสะสมทรัพย์ ทุนประกันชีวิต (สัญญาหลัก) จำนวน 200,000 บาท มีระยะเวลาการคุ้มครองชีวิต 20 – 25 […]

error: