วิธีแลกธนบัตรขาด-ธนบัตรชำรุด และ สถานที่แลก ธปท.แจ้งพิกัดแล้ว

Advertisement วิธีแลกธนบัตรชำรุด และ สถานที่แลกแบงก์ขาด ธนาคารแห่งประเทศไทย พร้อมขั้นตอนขอแลกธนบัตรขาด สามารถแลกได้ทั้งแบงก์รัฐ และ ธนาคารพาณิชย์ Advertisement วิธีการแลกธนบัตรชำรุด ดังนี้ ธนาคารออมสินทั่วประเทศ (ให้บริการในเวลาทำการทุกวัน) ธนาคารพาณิชย์ทั่วประเทศ (ให้บริการเฉพาะวันพุธ ยกเว้นสาขาย่อยและสาขาในห้างสรรพสินค้า) คลินิกธนบัตร ณ ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย ชั้น 1  ทุกวันพุธ สุดท้ายของเดือน เวลา 10:00 – 15:00 น. วิธีแลกธนบัตรชำรุด ธนาคารออมสิน สิ่งที่ต้องเตรียมไป ธนบัตรชำรุด ธนบัตรมีเนื้อเหลือมากกว่า 3 ใน 5 ส่วน และ ตรวจพิสูจน์ง่าย แลกได้ทันที ธนาคารอื่นๆ แลกธนบัตรได้เฉพาะวันพุธ สิ่งที่ต้องเตรียมไป สมุดเงินฝาก บัตรประชาชน หลักเกณฑ์ ธนบัตรชำรุด ธนบัตรมีเนื้อเหลือมากกว่า 3 ใน 5 ส่วน และ ตรวจพิสูจน์ยาก […]

เปิดสถิติ ธปท. ปรับดอกเบี้ย 8 ครั้ง ใน 2 ปี จากระดับ 0.50% ดีดขึ้น 2.50%

8 มกราคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ช่วง 1 ปีที่ผ่านมา อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยเรียกว่าอยู่วงจรขาขึ้น หลังจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เริ่มปรับอัตราดอกเบี้ยตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2565 จากระดับ 0.50 % สู่ระดับปัจจุบันที่ 2.50 % ซึ่ง กนง.ปรับขึ้นติดต่อกัน 8 ครั้ง โดยให้เหตุผลว่าต้องการควบคุมอัตราเงินเฟ้อที่เคยแตะระดับสูงสุดที่ 8% ในปี 2565 และการขยายตัวของเศรษฐกิจมีแนวโน้มดีขึ้น จึงทยอบปรับอัตราดอกเบี้ยสอดคล้องกับเศรษฐกิจ รวมถึงเศรษฐกิจไทยยังทยอยฟื้นตัวแม้เป็นไปในลักษณะเปราะบางสะท้อนผ่านตัวเลขจีดีพีในไตรมาส 3/2566 ที่ขยายตัวต่ำกว่าคาด กนง. จะคงดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 2.50% ไปทั้งปี 2567 และเงินเฟ้อทรงตัวในกรอบ 1-3% ทั้งนี้ โดยปกติ กนง. จะมีการประชุมเพื่อวิเคราะห์เศรษฐกิจและมีการพิจารณาเรื่องอัตราดอกเบี้ยใน 1 ปี จะมีการประชุม 6 ครั้ง สำหรับตารางการประชุม กนง. ปี 2567 ดังนี้ 1.วันที่ 7 […]

ธปท.ห้ามนำดอกเบี้ย-เบี้ยปรับ มาคำนวณรวมกับหนี้ที่ค้างชำระ

ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เรื่อง การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) เพื่อแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน ซึ่งมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 1 มกราคม 2567 พบหนึ่งในข้อกำหนดเกี่ยวกับ การพัฒนาผลิตภัณฑ์สินเชื่อ ตามประกาศของธปท.ในเอกสารแนบ 1 พบประเด็นที่น่าสนใจ คือ การกำหนดให้สถาบันการเงินผู้ให้บริการต้องไม่นำดอกเบี้ย ค่าบริการ เบี้ยปรับ และค่าใช้จ่ายตามที่ผู้ให้บริการได้จ่ายไปจริงและพอสมควรแก่เหตุมารวมกับจำนวนหนี้ที่ค้างชำระเพื่อคิดดอกเบี้ย และเบี้ยปรับอีก สำหรับผลิตภัณฑ์สินเชื่อรายย่อยทุกประเภท รวมถึงบัญชีเดินสะพัดของสินเชื่อวงเงินกู้เบิกเกินบัญชี (overdraft) ด้วย เนื่องจากการคิดอัตราดอกเบี้ยแบบทบต้นมีความซับซ้อนและอาจเป็นการซำเติมลูกหนี้ ในกรณีที่ลูกหนี้ไม่สามารถจ่ายชำระหนี้ได้ รวมทั้งผู้ให้บริการต้องไม่กำหนดให้การเบิกใช้สินเชื่อทันทีที่ได้รับอนุมัติสินเชื่อเป็นเงื่อนไขของผลิตภัณฑ์สินเชื่อ โดยลูกค้าต้องมีสิทธิเลือกช่วงเวลาในการเบิกใช้สินเชื่อดังกล่าวได้ตามความต้องการ หากผู้ให้บริการประสงค์จะมีผลิตภัณฑ์ที่มีเงื่อนไขให้ลูกค้าต้องเบิกใช้สินเชื่อทันที เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าบางกลุ่ม ผู้ให้บริการต้องจัดให้มีผลิตภัณฑ์ลักษณะเดียวกันที่มีทางเลือกให้ลูกค้าสามารถเลือกช่วงเวลาในการเบิกใช้สินเชื่อได้ตามความประสงค์และต้องเสนอขายผลิตภัณฑ์สินเชื่อนั้นให้เป็นทางเลือกไปพร้อมกัน รวมถึงต้องให้ข้อมูลสำคัญที่ถูกต้องครบถ้วน เพื่อให้ลูกค้าเปรียบเทียบทางเลือกดังกล่าวได้ กรณีที่สถาบันการเงินผู้ให้บริการใช้สิทธิตามกฎหมายในการหักเงินในบัญชีเงินฝากเพื่อนำมาชำระหนี้กรณีลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ไว้ ผู้ให้บริการต้องเหลือเงินในบัญชีเงินฝากเพียงพอให้ลูกหนี้ดำรงชีพ ยกเว้นกรณีที่ผู้ให้บริการมีบัญชีเงินฝากของลูกหนี้เป็นหลักประกัน หรือลูกหนี้แจ้งความประสงค์หักบัญชีอัตโนมัติเมื่อครบกำหนดชำระสินเชื่อ   ข่าวจาก : ฐานเศรษฐกิจ

ราชกิจจาฯ ประกาศ ’การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม’ เริ่ม 1 ม.ค.67

ล่าสุด ราชกิจจานุเบกษา ลงประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) โดยเหตุผลในการออกประกาศหนี้ครัวเรือนไทยเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่สะสมมานานและเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามลำดับจากเดิมอยู่ที่ 76% ต่อ GDP ในปี 2555 มาอยู่ที่ 89% ต่อ GDP ในปี ๒๕๖๒ และถูกซ้ำเติมรุนแรงขึ้นในช่วงโควิด 19 ที่ 95% ต่อ GDP ในปี 2564 แม้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP จะเริ่มทยอยปรับลดลงมาอยู่ที่ 91% ณ ไตรมาส 2 ปี 2566 ตามเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวและสินเชื่อที่ขยายตัวชะลอลงหลังสิ้นสุดมาตรการช่วยเหลือ แต่สัดส่วนดังกล่าวยังอยู่ในระดับสูง ธปท.ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาหนี้ครัวเรือนว่าเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างของประเทศที่ต้องได้รับการแก้ไขเพื่อควบคุมระดับหนี้ครัวเรือนไม่ให้ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพระบบการเงินและการขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะยาว ซึ่งการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนต้องใช้เวลาและทำอย่างครบวงจรให้เหมาะสมกับลักษณะและสาเหตุของปัญหาในแต่ละช่วงของการเป็นหนี้และทำอย่างถูกหลักการคือแก้ให้ตรงจุดไม่สร้างภาระเพิ่มให้ลูกหนี้ และไม่ลดโอกาสการเข้าถึงสินเชื่อซึ่งทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน ทั้งเจ้าหนี้ ลูกหนี้ และภาครัฐ ธปท. จึงได้ออกหลักเกณฑ์การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม(Responsible Lending)เพื่อยกระดับการปฏิบัติตามหนังสือเวียน เรื่อง แนวทางการบริหารจัดการด้านการให้สินเชื่ออย่างเป็นธรรม ให้มีความครอบคลุมและชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยใช้เป็นหลักเกณฑ์เพิ่มเติมจากประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการบริหารจัดการด้านการให้บริการแก่ลูกค้าอย่างเป็นธรรม (Market Conduct) โดยกำหนดบทบาทหน้าที่ของผู้ให้บริการในการรับผิดชอบลูกค้าตลอดวงจรการเป็นหนี้อย่างเหมาะสม ตั้งแต่การพัฒนาและการโฆษณาผลิตภัณฑ์สินเชื่อ […]

ธปท. เตือน จ่ายเงินชาวนาไร่ละ 1,000 เสี่ยงเกิด Moral Hazard

14 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา มีมติเห็นชอบในหลักการ โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2566/67 วงเงินงบประมาณจ่ายขาด 56,321.07 ล้านบาท หรือ จ่ายเงินชาวนาไร่ละ 1,000 บาท ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เสนอ แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล ระบุว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ทำหนังสือด่วนที่สุด ที่ ธปท.ฝศม. 806/2566 เรื่อง มาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือก ปีการผลิต 2566/67 (เพิ่มเติม) ระบุถึงการดำเนินโครงการจ่ายเงินชาวนาไร่ละ 1,000 บาท ดังนี้ ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีมีหนังสือด่วนที่สุดที่ นร 0506/ว(ล) 24405 ลงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2566 แจ้งว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เสนอเรื่อง มาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือก ปีการผลิต 2566/67 (เพิ่มเติม) ให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา โดยขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พิจารณาเสนอความเห็นในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อประกอบการพิจารณาของ ครม. […]

นายกฯ นัดถก “ผู้ว่าแบงก์ชาติ” 2ต.ค.นี้ ยืนยันขึ้นดอกเบี้ยเหมาะสม

นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.การคลัง นัดหารือในวันจันทร์ที่ 2 ต.ค.นี้ทั้งนี้ ยังไม่ทราบว่าจะเป็นการหารือในประเด็นใด แต่ก็พร้อมที่จะตอบทุกคำถาม “ท่านนายกฯ นัดไปเจอวันจันทร์ ยังไม่ทราบว่าจะเป็นเรื่องอะไร ถ้าไปคงรู้ หากถามอะไร ก็พร้อมที่จะตอบ” ผู้ว่าฯ ธปท.ระบุ ส่วนที่การนัดหารือครั้งนี้ จะเนื่องมาจากกรณีมีกระแสข่าวปลดผู้ว่าฯ ธปท. ก่อนหน้านี้หรือไม่นั้น ผู้ว่าฯ ธปท.เพียงแค่หัวเราะ และปฏิเสธที่จะตอบคำถาม อย่างไรก็ดี นายเศรษฐพุฒิ ยังกล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 เมื่อวันที่ 27 ก.ย.ที่ผ่านมา ว่า กนง.ได้ให้น้ำหนักกับมุมมองเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า ซึ่งที่ผ่านมาอัตราดอกเบี้ยของไทยอยู่ในระดับต่ำมานานมาก จนส่งผลให้หนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง และสร้างพฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทน (Search for yield) ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยนโยบายล่าสุดที่ ร้อยละ 2.50 นั้น เชื่อว่าคงจะอยู่ในระดับนี้ไปอีกสักพัก โดยระดับอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวถือว่ามีความเหมาะสมกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันแต่หากในระยะข้างหน้า มุมมองเศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ กนง.ก็พร้อมที่จะ […]

แบงก์ชาติ รับสมัคร นศ.จบใหม่ ไม่มีประสบการณ์ TOEIC550 บัดนี้-31มี.ค.66

  ธปท. เปิดรับสมัครบุคคลภายนอก เพื่อปฏิบัติงานในตำแหน่งที่ต้องการผู้สำเร็จการศึกษา ทั้งมีและไม่มีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านต่างๆ ดังนี้ 1) นโยบายการเงิน 2) ตลาดการเงิน​ 3) นโยบายและกำกับตรวจสอบสถาบันการเงิน​ 4) นโยบายระบบการชำระเงิน​ 5) เทคโนโลยีสารสนเทศ 6) Data Analytics​ 7) กฎหมาย​ คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งงาน ● สัญชาติไทย ● สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ในสาขาวิชาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงาน ธปท. ทักษะที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งงาน ● ความสามารถด้านภาษาอังกฤษ คะแนน TOEIC 550 โดยผลการสอบภาษาอังกฤษจะต้องมีอายุไม่เกิน 2 ปี ณ วันที่ยื่นใบสมัคร สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Email: [email protected] รับสมัครบัดนี้-31มี.ค.66 ((คลิกที่นี่เพื่ออ่านรายละเอียดเพิ่มเติม/ดาวน์โหลดเอกสารประกาศฉบับเต็ม))

คลังเล็งขยายมาตรการ อุ้มอสังหาฯ อีก 1 ปี สั่งตรึงดอกเบี้ยบ้านให้นานที่สุด

เมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2565 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง กล่าวว่า เตรียมหารือร่วมกับธนาคารแห่งประเทศ (ธปท.) เพื่อขยายมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ที่จะหมดอายุในสิ้นปี 2565 ได้แก่ 1. มาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนอง เหลือ 0.01% โดยเบื้องต้นอยากขยายเพิ่มอีก 1 ปี เนื่องจากเศรษฐกิจมีการฟื้นตัว ซึ่งกระทรวงการคลังต้องการหามาตรการช่วยเหลือเพื่อให้เกิดการฟื้นตัวต่อเนื่อง 2.มาตรการควบคุมสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (LTV) ที่กำหนดให้เพดานอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน (LTV ratio) เป็น 100% (กู้ได้เต็มมูลค่าหลักประกัน) สำหรับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2565 3.เร่งผลักดันโครงการบ้านล้านหลัง โดยต้องการให้เอกชนเข้ามาร่วมโครงการมากขึ้น ในช่วงที่ภาวะดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้น โดยโครงการนี้คณะรัฐมนตรี ได้ขยายสินเชื่อจาก 1.2 ล้านบาท เป็น 1.5 ล้านบาท ดอกเบี้ยต่ำ 1.99% ระยะเวลา 4 ปี ซึ่งมาตรการนี้จะดูแลผู้มีรายได้น้อยและปานกลาง นอกจากนี้ ในภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น แบงก์รัฐซึ่งถือเป็นกลไกของรัฐบาล ในส่วนของธนาคารอาคารสงเคราะห์ […]

เปิดมาตรการ “ผ่อนคลายหลักเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อบ้าน” กู้ได้เต็ม 100%

ธปท. “ผ่อนคลายหลักเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อบ้าน” หวังกระตุ้นเม็ดเงินเข้าภาคอสังหาริมทรัพย์จากพิษโควิด-19 คาดสร้างการจ้างงานได้ 2.8 ล้านคน นางรุ่ง มัลลิกะมาส ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า การผ่อนคลายหลักเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่ออื่นที่เกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (มาตรการ LTV) เป็นการชั่วคราว จะเป็นการเร่งเพิ่มเม็ดเงินใหม่เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจผ่านภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีธุรกิจเกี่ยวเนื่องจำนวนมาก หลังอยู่ในภาวะซบเซาจากอุปสงค์ที่อ่อนแอและภาคก่อสร้างที่ได้รับผลจากการระบาดของโควิด 19 ซึ่งสาระสำคัญของการผ่อนคลายมาตรการ LTV ในครั้งนี้ คือ 1. กำหนดให้เพดานอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน (LTV ratio) เป็น 100% (กู้ได้เต็มมูลค่าหลักประกัน) สำหรับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (รวมสินเชื่ออื่นนอกเหนือจากเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยและมีที่อยู่อาศัยนั้นเป็นหลักประกันหรือสินเชื่อ Top-up แล้ว) ทั้งกรณี – มูลค่าหลักประกันต่ำกว่า 10 ล้านบาท ตั้งแต่สัญญากู้หลังที่ 2 เป็นต้นไป – มูลค่าหลักประกันตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป ตั้งแต่สัญญากู้หลังที่ 1 เป็นต้นไป หมายเหตุ : LTV […]

เปิดวิธีการแก๊งดูดเงิน ใช้บอทสุ่มเลขบัตร สูบเงินรัว ๆ 130 ล้าน

ธปท. สมาคมธนาคารไทย แถลงสาเหตุลูกค้าเงินหายจากบัญชี มิจฉาชีพใช้โปรแกรม Bot สุ่มข้อมูลบัตรนำไปซื้อสินค้า พบเสียหายกว่า 1 หมื่นบัญชี มูลค่ากว่า 130 ล้านบาท วันที่ 19 ตุลาคม 2564 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และ สมาคมธนาคารไทย ชี้แจงความคืบหน้ากรณีการตัดเงินที่ผิดปกติผ่านบัตรเครดิตและบัตรเดบิตของลูกค้าจำนวนมาก เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม ที่ผ่านมา ตั้งแต่วันที่ 1- 17 ตุลาคม ที่ผ่านมา พบความผิดปกติของการถูกตัดเงินจากบัญชีจำนวน 10,700 ใบ ทั้งบัตรเดบิตและบัตรเครดิต แต่ในส่วนมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบัตรเดบิตมีกว่า 30 ล้านบาท ส่วนบัตรเครดิตเป็นวงเงินกว่า 100 ล้านบาท นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย ระบุว่า พฤติกรรมของมิจฉาชีพจะใช้โปรแกรมอัตโนมัติ (Bot) สุ่มยิงข้อมูลเลขหน้าบัตร หรือเรียกว่าบินนัมเบอร์ ซึ่งจะสุ่มเลขหน้าบัตร 6 หลัก จาก 12 หลัก โดยไม่ต้องใช้ตัวเลข […]

1 2
error: