“ชัชชาติ” ถามกลับ “เห็นผมว่างเหรอ?” หลังคนอยากให้จัดสารพัดรายการ

Advertisement 3 สิงหาคม นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ผู้ว่าฯกทม.) พร้อมด้วย รศ.ดร.วิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าฯกทม., นายอรรถเศรษฐ์ เพชรมีศรี ที่ปรึกษาผู้ว่าฯกทม., นายสุรจิตต์ พงษ์สิงห์วิทยา หรือ ดร.จอหน์ ส.ก.เขตลาดกระบัง, นายธนะสิทธิ์ เมธพันธ์เมือง ผู้อำนวยการเขตลาดกระบัง, นายเจษฎา จันทรประภา รองผู้อำนวยการ (ด้านปฏิบัติการ) สำนักการระบายน้ำ และทีมงาน ลงพื้นที่ดูการขุดลอกท่อระบายน้ำ สำรวจพื้นที่สูง และการเปิด-ปิดประตูระบายน้ำบริเวณคลองสองนุ่น ซึ่งเป็นสาเหตุของน้ำท่วมในเขตลาดกระบัง เพื่อเตรียมรับมือสถานการณ์น้ำในช่วง 1-5 สิงหาคมนี้ Advertisement โดยเวลา 13.00 น. นายชัชชาติ พร้อมทีมงาน ขึ้นรถหาเสียงของ ส.ก.เขตลาดกระบัง พรรคเพื่อไทย มุ่งหน้าไปยังประตูระบายน้ำ คลองประเวศบุรีรมย์ เขตลาดกระบัง เพื่อดูสถานการณ์น้ำจุดที่ 3 โดยผ่านพื้นที่ชุมชน นายชัชชาติโบกมือทักทายประชาชนเป็นระยะ พร้อมสอบถามชาวบ้านขณะติดไฟแดงว่า ขายของดีหรือไม่ เวลา 13.10 […]

กทม.จ่อเพิ่มเบี้ยเสี่ยงภัยนักดับเพลิง จาก5,000 เป็น7,000

18 กรกฎาคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายธีรยุทธ ภูมิศักดิ์ ผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กทม. เปิดเผยว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง เบี้ยเสี่ยงภัยให้กับเจ้าหน้าที่นักผจญเพลิงเพื่อให้ได้รับค่าเสี่ยงภัยจากเดิม 5,000 บาทต่อเดือนเป็นจำนวน 7,000 บาทต่อเดือน ซึ่งหลังจากร่างดังกล่าวเสร็จแล้วจะเสนอ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร (สำนักงาน ก.ก.) และ สภากรุงเทพมหานคร พิจารณาให้ความเห็นชอบ ก่อนเสนอผู้ว่าฯ กทม.ลงนาม ทั้งนี้ สำหรับการเพิ่มค่าเบี้ยเสี่ยงภัยใหม่นั้น เนื่องจากงานบรรเทาสาธารณภัยถือเป็นงานที่มีความอันตรายถึงแก่ชีวิต รวมทั้งเป็นค่าเสี่ยงภัยที่เป็นอัตราเก่า และไม่ได้มีการเพิ่มเบี้ยเสี่ยงภัยมาเป็นระยะเวลานานมากว่า 19 ปีแล้วซึ่งปัจจุบันค่าใช้จ่ายค่าครองชีพต่าง ๆ สูงขึ้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องปรับเพิ่มเบี้ยเสี่ยงภัยให้กับเจ้าหน้าที่นักผจญเพลิง ซึ่งถือเป็นการให้สวัสดิการ รวมทั้งเป็นขวัญกำลังใจให้กับนักผจญเพลิง เนื่องจากงานผจญเพลิงมีความเสี่ยงสูง และอันตรายถึงชีวิต สำหรับอัตราค่าเสี่ยงภัยของนักผจญเพลิงได้รับเงินในอัตรา 5,000 บาท คงเดิมมาตั้งแต่ปี 46 ซึ่งเจ้าหน้าที่ผจญเพลิงถือเป็นผู้ที่ต้องปฏิบัติงานในสถานการณ์ไม่ปกติ เสี่ยงอันตรายต่อชีวิต แต่ค่าตอบแทนที่บุคคลกลุ่มนี้ได้รับกลับไม่เพียงพอ อีกทั้งการปฏิบัติงานเกินระยะ 12 ชั่วโมงต่อวัน เจ้าหน้าที่ไม่สามารถเบิกเงินค่าล่วงเวลาในการทำงานได้เลย ดังนั้น การปรับค่าเสี่ยงภัยรายเดือนจึงเป็นสิ่งที่จะช่วยสร้างขวัญกำลังใจในการทำงานให้แก่เจ้าหน้าที่เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งอัตราค่าเสี่ยงภัยในปัจจุบันเป็นอัตราคงเดิม อย่างไรก็ตาม […]

ชัชชาติ ล้อมวงกินข้าวพนักงานกวาด-เก็บ-รถสูบส้วม-ระบายน้ำ รับฟังปัญหา

เมื่อเวลา 12.00 น.วันที่ 10 ก.ค.ที่สำนักงานเขตบางบอน นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ร่วมรับประทานอาหารกลางวันกับลูกจ้างของสำนักงานเขตบางบอนที่ได้รับคัดเลือกเป็นผู้มีความขยัน รับผิดชอบต่อหน้าที่ ตรงต่อเวลา ให้ความร่วมมือในภารกิจ และอุทิศเวลาให้กับราชการ รวม 5 คน ได้แก่ นางนิภาภรณ์ เล็กสมทรง ลูกจ้างประจำ ตำแหน่งพนักงานทั่วไป (กวาด),นายวัฒนา แสงทับทิม ลูกจ้างประจำ ตำแหน่งพนักงานขับเครื่องจักรกลขนาดเบา (เก็บมูลฝอย),นายวรพล เพิ่มพูล ลูกจ้างชั่วคราว ตำแหน่งพนักงานขับเครื่องจักรกลขนาดเบา (รถสูบสิ่งปฏิกูล),นายสิงห์หา ปัญญาทอง ลูกจ้างประจำ ตำแหน่งพนักงานขับเครื่องจักรกลขนาดเบา (รถแทรลเลอร์) และนายประยงค์ ศักดิ์บริบูรณ์ ลูกจ้างประจำ ตำแหน่งพนักงานทั่วไป (ระบายน้ำ) โดยรายการอาหารวันนี้เป็นข้าวขาหมูกับข้าวหมกไก่ มีขนมหวานคือกล้วยบวชชีมะพร้าวอ่อน และผลไม้จากสวนในพื้นที่เขตบางบอน ระหว่างทานอาหาร นายชัชชาติ ได้ถามถึงปัญหาในการปฏิบัติงานที่พบ รวมไปถึง ความเป็นอยู่ รายได้ของพนักงานกทม. ด้วย สำหรับการรับประทานอาหารร่วมกับลูกจ้าง เป็นหนึ่งในนโยบายของนายชัชชาติ ซึ่งเริ่มครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 ก.ค.ที่ผ่านมา ที่สำนักงานเขตจตุจักร […]

กทม.เปิด 7 สถานที่ ชุมนุมสาธารณะได้ ภายใต้ พ.ร.บ.การชุมนุม

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ลงนามในประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง จัดให้มีสถานที่เพื่อใช้สำหรับการชุมนุมสาธารณะ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดสถานที่เพื่อใช้สำหรับการชุมนุมสาธารณะให้ชัดเจน เพื่อให้การชุมนุมสาธารณะเป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย ไม่กระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของชาติ ความปลอดภัยสาธารณะ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี ตลอดจนสุขอนามัยของประชาชนหรือความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ และไม่กระทบกระเทือนสิทธิและเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 จัดให้มีสถานที่เพื่อใช้สำหรับการชุมนุมสาธารณะตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 โดยมีสถานที่เพื่อใช้สำหรับการชุมนุมสาธารณะ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการใช้สถานที่เพื่อใช้สำหรับการชุมนุมสาธารณะ ดังนี้ 1.สถานที่เพื่อใช้สำหรับการชุมนุมสาธารณะ 1.1 ลานคนเมือง เขตพระนคร 1.2 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) เขตดินแดง 1.3 ที่สาธารณะใต้สะพานรัชวิภา (ใกล้ซอยวิภาวดีรังสิต 36) เขตจตุจักร 1.4 ลานจอดรถหน้าสำนักงานเขตพระโขนง เขตพระโขนง 1.5 ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา เขตมีนบุรี 1.6 […]

กทม.จ่อปรับแนวทางสอบบรรจุขรก.ให้สอดรับตำแหน่งมากขึ้น เล็งปรับวิธีสอบ

กทม.จ่อปรับแนวทางสอบบรรจุ ขรก.สอดรับตำแหน่ง-ตรงความต้องการมากขึ้น วันนี้ (18 มิ.ย. 65) น.ส.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ไปตรวจเยี่ยมการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัดสำนักพัฒนาสังคม ครั้งที่ 1/2565 ณ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เขตดุสิต โดยมี นายเฉลิมพล โชตินุชิต รองปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารสำนักงาน ก.ก. และผู้เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่ ณ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต น.ส.ทวิดา เปิดเผยภายหลังการตรวจเยี่ยมว่า วันนี้ตั้งใจมาดูวิธีการสอบ ระบบการจัดการ รวมถึงสภาพแวดล้อม ซึ่งภาพรวมเป็นไปด้วยดี แต่มีบางจุดที่อาจจะต้องมีการเพิ่มเติมในการสอบครั้งต่อไป เช่น ก้าวอี้นั่งสอบสำหรับผู้เข้าสอบที่ถนัดมือซ้าย การอำนวยความสะดวกให้ผู้พิการที่เข้าสอบในด้านต่าง ๆ เพิ่มขึ้น รวมไปถึงการเพิ่มการอำนวยความสะดวกให้ผู้เข้าสอบเพิ่มเติม อาทิ การจัดส่งแผนผังห้องสอบให้ผู้เข้าสอบ จัดทำระบบตรวจสอบรายชื่อผู้เข้าสอบที่ง่ายขึ้น นอกจากนี้เบื้องต้นได้หารือถึงแนวทางการจัดการสอบที่มีความเหมาะสมกับตำแหน่งมากขึ้น เนื่องจากสถานการณ์เปลี่ยนไป อาจต้องดูในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสอบรวมไปถึงข้อสอบด้วย เพราะบางตำแหน่งหรือบางสาขาวิชาที่ครูต้องใช้ทักษะการสอนที่แตกต่างอาจต้องมีการปรับวิธีการสอบที่ตรงมากขึ้นและเพื่อให้ได้ครูที่ตรงกับความต้องการมากขึ้น ซึ่งการสอบไม่จำเป็นต้องเป็นการสอบแบบเขียน หรือตัวเลือกเสมอไป ครั้งต่อไปในการสอบบางตำแหน่งอาจมีการปรับให้มีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการมากขึ้น แต่ต้องมีความโปร่งใสในกระบวนการสอบด้วยเพราะมีหลายฝ่ายดูอยู่ และเมื่อได้ครูเข้าไปปฏิบัติหน้าที่แล้วก็มีระบบติดตามดูว่าถ้าปรับวิธีการสอบให้สามารถรับครูได้ตรงกับความต้องการแล้วเป็นอย่างไรบ้าง […]

เช็กเลย! กทม. อัพเดตปฏิทินการแสดง “ดนตรีในสวน”

เช็กเลย! กทม. อัพเดตปฏิทินการแสดง ‘ดนตรีในสวน’ หนึ่งในนโยบายของ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ให้เป็นพื้นที่แห่งดนตรีและศิลปะการแสดง 10 มิ.ย. 2565 – นายเฉลิมพล โชตินุชิต รองปลัดกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า กทม. แจ้งงดการจัดกิจกรรมดนตรีในสวน ณ บริเวณสวนสาธารณะป้อมมหากาฬ ซึ่งเดิมกำหนดจะจัดขึ้นครั้งแรกในวันเสาร์ที่ 18 มิ.ย. ส่วนกิจกรรมดนตรีในสวนจุดอื่น ๆ ยังคงมีต่อเนื่องตามปฏิทินที่กำหนดไว้ ดำเนินการโดยกทม. และภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ดังนี้ 12 มิ.ย. 2565 – เวลา 16.00 น. ณ ศูนย์เยาวชนคลองเตย วง Immanuel String Orchestra, วงคลองเตยดีจัง และ วง Kasetsart University Wind Symphony เวลา 17.00 น. ณ ลานนก […]

“ชัชชาติ” ชี้ กทม.ใกล้ถึงเวลาถอดหน้ากาก แต่ต้องยึด ศบค.เป็นหลัก

6 มิ.ย.2565 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยหลังการประชุมร่วมกับคณะผู้บริหาร กทม.นัดแรก นับจากได้ใบรับรองจาก กกต.ที่ศาลาว่าการ กทม.(ดินแดง) โดยระบุว่า วาระการประชุมในวันนี้ เรื่องแรก คือ การหารือเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งตัวเลขมีแนวโน้มดีขึ้น สถานการณ์น่าจะผ่อนคลายได้มาก แต่เรื่องถอดหน้ากากก็ต้องยึด ศบค.เป็นหลัก พร้อมกับการมอนิเตอร์ตัวเลขอย่างเข้มงวด เรื่องถอดหน้ากาก ต้องเข้าที่ประชุม ศบค.กทม.และ สธ.อีกครั้ง แต่คิดว่าใกล้ถึงเวลาแล้ว ตัวเลขที่ดูก็ค่อนข้างลดลงเยอะ อัตราเตียงว่างก็มีมาก ตัวเลขไม่น่าห่วง นี่ถือเป็นก้าวที่จะเข้าสู่ชีวิตปกติ” วาระต่อมา คือ การพิจารณางบประมาณปี 2566 และงบประมาณปี 2565 ที่เหลืออยู่ เพื่อปรับให้เข้ากับยุทธศาสตร์และนโยบาย โดยต้องทำให้แล้วเสร็จภายในสัปดาห์หน้า เพื่อส่งสภา กทม.พิจารณาต่อไป ขณะเดียวกันต้องพิจารณายุทธศาสตร์ 214 แผนด้วย โดยสำนักยุทธศาสตร์ฯ พิจารณาพบว่า สอดคล้องกับนโยบายของ กทม.ที่ดำเนินการอยู่บ้างแล้ว ส่วนใหญ่สามารถดำเนินการได้ทันที ส่วนที่มีงบฯ อยู่แล้วก็ดึงมาใช้ได้ ส่วนโครงการที่ยังไม่ได้เตรียมงบฯ ไว้ก็นำมาใส่ในปี 2566 “นโยบายวันนี้มีการทำ Zero […]

กทม.ชง ”ผู้ว่าคนใหม่” เก็บภาษีบุหรี่-โรงแรม

แหล่งข่าวจากศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร(กทม.) เปิดเผยว่า กทม.เตรียมจะเสนอแผนการจัดเก็บรายได้เพิ่มให้นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯกทม.คนใหม่พิจารณา โดยจะให้ผลักดันร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่…) พ.ศ. …ที่แก้ไขให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 มาตรา 25 เพื่อให้ กทม.มีอำนาจออกข้อบัญญัติจัดเก็บรายได้จากภาษีและค่าธรรมเนียม 3 ประเภท ประกอบด้วย 1. ภาษียาสูบ จัดเก็บอัตรา 10 สตางค์ต่อมวน 2.ภาษีที่พักและโรงแรมร้อยละ 3 ของค่าเช่า และ3.ภาษีน้ำมันจะจัดเก็บเพิ่มจาก 5 สตางค์ต่อลิตร เป็น 10 สตางค์ต่อลิตร โดยภาษีบุหรี่และภาษีโรงแรมกทม.ยังไม่เคยจัดเก็บมาก่อน “หากได้รับอนุมัติ คาดว่ากทม.จะมีรายได้เพิ่มประมาณ 1,900 ล้านบาท แยกเป็นภาษีบุหรี่ประมาณ 500 ล้านบาทต่อปี ภาษีที่พักและโรงแรมประมาณ 1,000 ล้านบาท และภาษีน้ำมันประมาณ 360 ล้านบาทต่อปี ซึ่งการเก็บภาษีตัวใหม่ก็สอดคล้องกับนโยบายการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บรายได้ของผู้ว่าฯกทม.คนใหม่ด้วย “แหล่งข่าวกล่าว ส่วนความคืบหน้าการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประจำปี 2565 จะจัดเก็บในอัตรา 100% ภายในปลายเดือนพฤษภาคม 2565 กทม.จะส่งใบประเมินภาษีให้กับประชาชนผู้เสียภาษีมีอยู่ประมาณ 5-6 […]

ว่าที่ ส.ก.”ก้าวไกล-เพื่อไทย” แถลงข่าวจับมือ ร่วมทำงานเพื่อกรุงเทพฯ

จับมือไว้แล้วไปด้วยกัน ทำงานสภากทม. ย้ำประธานสภาส.ก. ต้องคนของเพื่อไทย เปิดถ่ายทอดสด ให้ประชาชนเข้าชม เพื่อความโปร่งใส ตรวจสอบการทำงานได้ วันที่ 27 พ.ค.2565 ทางพรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกลร่วมแถลงข่าวจับมือร่วมกันในสภากทม. โดยนายประเสริฐ จันทรรวงทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทย เผยว่าหลังจากได้หารือแล้ว ทั้งสองพรรคจะทำงานร่วมกัน เห็นชอบในการลงมติเลือกประธานสภากรุงเทพและรองประธาน โดยทางนายวิชาญ มีนชัยนันท์ ประธาคภาคกทม.ของเพื่อไทย แจ้งว่าประธานสภากรุงเทพนั้น จะเป็นของส.ก.เพื่อไทย ส่วนจะเป็นใครก็ต้องพิจารณากันอีกครั้ง ด้านนายชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล เผยว่า ส.ก.จากทั้งสองพรรคเห็นชอบให้มีการแก้ไขข้อบังคับการประชุมสภาฯ เพื่อให้มีการตั้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อทำให้การบริหารของ กทม.เป็นไปด้วยความสุจริต นอกจากนี้ส.ก.จากทั้งสองพรรคจะร่วมกันเห็นชอบให้มีการถ่ายทอดสดการประชุมสภา กทม.เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน และเพื่อความโปร่งใสในการทำงาน เพื่อให้ภาคประชาชนสามารถตรวจสอบการทำงานของสมาชิกสภาฯได้   ข่าวจาก : ข่าวสด

7 ข้อปฏิบัติ สำหรับผู้ติดโควิด ไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. 22พ.ค.นี้

กทม. ออก 7 ข้อปฏิบัติ สำหรับผู้ติดเชื้อโควิด 19 ที่จะไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. 22 พฤษภาคม 2565 มีอะไรบ้าง? นับถอยหลังเข้าคูหากากบาทเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (สก.) ที่จะมีขึ้นในวันอาทิตย์ ที่ 22 พฤษภาคม 2565 ตั้งต่เวลา 08.00 – 17.00 น. ทั้งนี้ กทม. ยืนยันว่า ผู้ติดเชื้อโควิด 19 จะไม่ถูกตัดสิทธิเลือกตั้งแน่นอน และหากประสงค์จะเดินทางไปหย่อนบัตรลงคะแนนก็สามารทำได้ สำหรับแนวทางปฏิบัติการเลือกตั้งสำหรับผู้ป่วยโควิด มี 7 ข้อ ดังนี้ เตรียมอุปกรณ์ส่วนตัวที่จำเป็น เช่น บัตรประจำตัวประชาชน เจลแอลกอฮอล์ ปากกา สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา หลีกเลี่ยงการใช้บริการขนส่งสาธารณะ แนะนำให้เดินเท้าหรือใช้รถยนต์ส่วนตัว เว้นระยะห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 1 เมตร แจ้งเจ้าหน้าที่ และเข้าคูหาที่จัดไว้สำหรับผู้ป่วยโควิด 19 เท่านั้น ทำการหย่อนบัตรด้วยตนเอง ภายใต้การกำกับดูแลของเจ้าหน้าที่ เมื่อเสร็จจากการเลือกตั้งกลับที่พักทันที […]

1 3 4 5 7
error: