กฎใหม่พนักงาน ห้ามขาด-หยุด-ลาคลอด ฝ่าฝืนหักเงิน

Advertisement กลายเป็นประเด็นร้อนในโลกออนไลน์ทันที เมื่อเฟซบุ๊ก “อีซ้อขยี้ข่าว” โพสต์เรื่องราวกฎใหม่ของพนักงานบริษัท ซึ่งอ้างว่านำมาจากบริษัทขนส่งแห่งหนึ่งแถวสมุทรปราการ โดยระบุข้อความว่า “แบบนี้ได้ด้วยหรอ…บริษัทขนส่งออกกฎพนักงานใหม่ ห้ามขาด ห้ามหยุด ห้ามลาคลอด ฝ่าฝืนหักเงิน…สมุทรปราการ” หลังโพสตดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไป ทำให้ชาวเน็ตต่างเข้ามาแสดงความคิดเห็นกันอย่างล้นหลามมากกว่า 1.4 พันครั้ง (ถึงวันที่ 22 มี.ค.67) Advertisement เมื่อวันที่ 21 มี.ค.67 เฟซบุ๊กชื่อดัง “อีซ้อขยี้ข่าว” ได้โพสต์เรื่องราวกฎใหม่ของพนักงานบริษัท ซึ่งอ้างว่านำมาจากบริษัทขนส่งแห่งหนึ่งแถวสมุทรปราการ โดยมีการลงภาพพร้อมรายละเอียดของกฎใหม่ไว้ 2 ตำแหน่งงาน ซึ่งระบุไว้ดังนี้ ตำแหน่งงานแรก ขาดงาน ลากิจ หักวันละ 400 บาท ขาดงาน ลากิจ ครึ่งวัน หักวันละ 200 บาท ไม่เช็กอิน/เช็กเอ๊าท์ หัก 200 บาท/ครั้ง ลาป่วยไม่หักเงินได้ 2 วัน /เดือน หยุดติดกัน 2 วันขึ้นไปต้องมีใบรับรองแพทย์ หากไม่มีจะปรับเป็นลากิจทั่วไป […]

เพจกฎหมายแรงงาน วิเคราะห์ปม ไม่รับปริญญา-ไม่รับเข้าทำงาน ทำได้หรือไม่?

เพจกฎหมายแรงงาน วิเคราะห์ปม ไม่รับปริญญา-ไม่รับเข้าทำงาน ทำได้หรือไม่? ชี้รัฐธรรมนูญ มีหลักการห้ามเลือกปฎิบัติ แนะเลือกจากความสามารถและคุณค่า วันที่ 16 ม.ค.65 เพจ กฎหมายแรงงาน โพสต์ข้อความ กรณีแพทย์หญิงท่านหนึ่งออกมาโพสต์ ระบุว่า “ไม่เข้ารับปริญญา ระวังเขาจะไม่รับเข้าทำงาน” และยังได้กล่าวไปถึงการดูโทรศัพท์ ซึ่งก็ถือเป็นการล่วงล้ำเข้าไปทำลายความเป็นส่วนตัวโดยเอาเงื่อนไขการรับสมัครงาน ส่งผลให้เกิด #ไม่รับปริญญา โดยเพจ ระบุว่า “เขา” ในที่นี้น่าจะรวมทั้งงานภาคเอกชน งานราชการ และรัฐวิสาหกิจ ซึ่งการไม่เข้ารับปริญญาอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ไม่มีเงิน เพราะการรับปริญญามีค่าใช้จ่ายมากพอสมควร หรือหลายอาจเรียนเพื่อต้องการความรู้แต่ก็ไม่ได้สนใจเข้ารับปริญญา โดยปกติมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาจะเปิดให้ลงทะเบียนว่าใครจะเข้ารับปริญญาบ้าง และใครจะไม่เข้ารับปริญญา ซึ่งก็เป็นการให้สิทธิหรือเสรีภาพที่จะเข้ารับหรือไม่ ส่วนจะรับปริญญากับใครก็สุดแล้วแต่ อย่างต่างประเทศก็อาจรับกับอธิการบดี ในไทยหากเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐก็อาจรับกับราชวงศ์ มหาวิทยาลัยเอกชนส่วนใหญ่ก็รับกับอธิการบดี หรือผู้ทรงคุณวุฒิ การวางกติกาว่า หากใครไม่เข้ารับปริญญาจะไม่รับเข้าทำงานนั้นถือว่าผิดธรรมชาติการรับคนเข้าทำงานที่จะต้องพิจารณาจากความรู้ความสามารถ หรือทัศนคติ และการไม่เข้ารับปริญญาก็ไม่ได้หมายความว่าบุคคลเหล่านั้นจะมีทัศนคติที่ไม่ดีเสมอไป อย่างไรก็ตาม แม้มีการกำหนดกติกาการรับสมัครงานเอาไว้ แต่เมื่อตราบใดที่ยังไม่มีสถานะเป็นลูกจ้าง ก็ไม่อาจนำกฎหมายคุ้มครองแรงงานเข้าไปใช้บังคับได้ แต่เมื่อเปิดรัฐธรรมนูญมาดู เราจะพบกับหลักการห้ามเลือกปฎิบัติถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ […]

ปรับแรง!! เตือนแรงงานต่างด้าว ห้ามขายของหน้าร้าน ถือเป็นการแย่งอาชีพคนไทย ฝ่าฝืนปรับ200,000

  เฟซบุ๊ก สำนักประชาสัมพันธ์เขต 7 เปิดเผยถึงห้ามแรงงานข้ามชาติประกอบอาชีพที่แย่งอาชีพของคนไทย โดยระบุว่า ย้ำเตือนอีกครั้ง ห้ามแรงงานต่างด้าวทำงานผิดประเภททั้งขายของหน้าร้านหรือแย่งอาชีพสงวนของคนไทย ฝ่าฝืนมีโทษปรับสูงถึง 200,000 บาท จำคุกไม่เกิน 1 ปี กฎหมายกำหนดให้แรงงานต่างด้าวที่มาทำอาชีพสงวนสำหรับคนไทยและทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามมาตรา 8 มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับตั้งแต่ 2,000 – 100,000 บาท ส่วนนายจ้างถูกจับในข้อหาให้ต่างด้าวทำงานไม่ตรงกับใบอนุญาต หากผิดจริงมีอัตราโทษปรับ 10,000-100,000 บาทต่อแรงงานหนึ่งคน และหากทำผิดซ้ำมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับเพิ่มเป็น 50,000-100,000 บาทต่อแรงงานหนึ่ง ทั้งนี้ งานที่ผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ เมียนมา ลาว และกัมพูชา สามารถทำงานได้ 2 ประเภท คือ งานกรรมกร และงานบ้าน ส่วนงานขายของหน้าร้านหรือการเป็นเจ้าของกิจการยังคงเป็นอาชีพที่ห้ามแรงงานต่างด้าวทำ ตามที่กำหนดงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามแรงงานต่างด้าวทำ บัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ พ.ศ. 2522 หากพบแรงงานต่างด้าวทำงานผิดกฎหมายหรือพบการกระทำความผิดเกี่ยวกับการทำงานของแรงงานต่างด้าว สามารถแจ้งเบาะแสได้ที่สายด่วนกรมการจัดหางาน 1506 กด […]

ลูกจ้างทุกคนโปรดทราบ! ทนายเผยมาทำงานสายนายจ้างไม่มีสิทธิ์หักเงิน? ฝ่าฝืนโทษถึงติดคุก!

  7 ส.ค. 61 เพจเฟซบุ๊ก "สายตรงกฎหมาย" โดยทนายรัชพล ศิริสาคร ประธานชมรมสนับสนุนการต่อสู้เพื่อความยุติธรรม ได้โพสต์ข้อกฎหมายที่ลูกจ้างควรรู้  โดยระบุว่า เชื่อว่าในสถานประกอบกิจการต่างๆ ลูกจ้างคงจะโดนหักเงินจากนายจ้างมิใช่น้อย ซึ่งจริงๆ แล้ว ตามกฎหมายเค้าห้ามนายจ้างหักเงินมั่วๆ โดยเฉพาะเมื่อมาสาย นายจ้างจะหักเงินได้แค่ที่กฎหมายกำหนด ใน พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 76 ระบุว่า ห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้าง นายจ้างจะหักค่าจ้างได้กรณีดังนี้ – หักภาษีหรือชำระเงินอื่นๆ ที่กฎหมายกำหนด – หักค่าสหภาพ – ชำระหนี้สหกรณ์ – หักเงินประกันบางประเภท หรือหักค่าเสียหายโดยลูกจ้างต้องยินยอม – หักเงินสะสม ดังนั้น มาสายหักเงินไม่ได้ ใครโดนก็ไปร้องเรียนได้ที่ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานครับ หากฝ่าฝืนมีโทษสูงสุด คุก 6 เดือน ปรับ 1 แสน ตามมาตรา 144   ขอบคุณข้อมูลจาก : "สายตรงกฎหมาย"

กสร.เตือนนายจ้าง! ห้ามบังคับลูกจ้างทำงานวันหยุดหากจำเป็น ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนและต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดด้วย!

  7 ก.ค.61 เว็บไซต์ thaigov.go.th ซึ่งเป็นเว็บไซต์ของรัฐบาลไทยรายงานว่า กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เตือนนายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุดผิดกฎหมาย หากจำเป็น ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนและต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุด นายอนันต์ชัย อุทัยพัฒนาชีพ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กำหนดห้ามไม่ให้นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุด เพื่อให้ลูกจ้างได้มีโอกาสพักผ่อนหรือทำกิจธุระ  อย่างไรก็ตามหากนายจ้างมีความจำเป็นต้องให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุดเพื่อประโยชน์แก่การผลิต จำหน่าย และบริการอาจให้ลูกจ้างทำงานได้ แต่ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนเป็นคราว ๆ ไป ทั้งนี้เมื่อให้ลูกจ้างทำงานแล้วนายจ้างจะต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้กับลูกจ้าง โดยจ่ายไม่น้อยกว่า 1 เท่า ของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนที่ทำ สำหรับลูกจ้างที่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดหรือลูกจ้างรายเดือน และจ่ายไม่น้อยกว่า 2 เท่า สำหรับลูกจ้างที่ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดหรือลูกจ้างรายวัน นายอนันต์ชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า กรณีที่นายจ้างฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะมีโทษสูงสุดคือ จำคุก ไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ กสร.จึงขอให้นายจ้างปฏิบัติให้ถูกต้อง หากมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสอบถามได้ที่ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 ถึง 10 สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดทุกจังหวัด หรือโทรศัพท์สายด่วน 1506 กด […]

พนง.สาวร้องทุกข์ ลาป่วย1วัน ไม่มีใบรับรองแพทย์แนบ เพราะไม่ได้ไปหาหมอ สุดท้ายโดนใบเตือนจากหัวหน้า ชาวเน็ตชี้ตามกฎหมายแรงงานถือว่าทำได้!

  ไม่มีใครอยากเจ็บป่วย เพราะเป็นทีก็ไม่สนุก ต้องเสียเงิน เสียเวลา เสียสุขภาพ ยิ่งถ้าเป็นพนักงานออฟฟิศ ส่วนใหญ่แล้วยิ่งไม่อยากป่วยเล็กน้อย เพราะเข้าใจว่าขอใบรับรองแพทย์ก็ไม่ได้ ไม่มีหลักฐานไปยืนยันฝ่ายบุคคล ก็โดนฝ่ายบุคคลเพ่งเล็งมาว่าโกหกรึเปล่า? 21 พ.ค.61 ล็อกอิน ขี้เหงา…เอาแต่ใจ ได้โพสต์ประสบการณ์ตนเองถึงเรื่องดังกล่าวนี้ โดยเธอเล่าว่า… สวัสดีค่ะ  เราทำงานอยู่ในบริษัทแห่งหนึ่ง เราลาป่วยโดยไม่มีใบรับรองแพทย์ เราเลยโดนใบเตือนจากบริษัท โดยเขากล่าวหาเราว่าเราไม่ได้ป่วยจริง แต่ลาเพื่อไปงานแต่งเพื่อน เราจัเล่าอย่างละเอียดเพราะมันเกี่ยวโยงกัน เย็นวันที่ 14 พ.ค.61 เป็นวันที่เพื่อนเราแต่งงาน (แต่งตามศาสนาจัดงานแค่เชิญญาติๆและเพื่อนสนิทตอนค่ำ) เราเลิกงาน5โมงเย็น เพื่อนเราก็มารับเพื่อไปงานแต่งกัน เราอยู่ในงานตั้งแต่21.30-23.40 น. หลังจากกลับจากงานเพื่อนๆมันก็แท็กรูปอวยพรยินดีกับเพื่อนที่แต่งงานกัน แล้วแท็กเรา ในเวลานั้นๆ (เรานอนบ้านเพื่อน) และเมื่อวันที่15 พ.ค 61 เวลา ตี1กว่าๆ เราปวดท้อง และคลื่นไส ลุกมาเข้าห้องน้ำและนอนพัก พอตอน6โมงเช้า เป็นเวลาที่เราต้องตื่นมาเพื่อเตรียมตัวไปทำงานปกติ เราก็มีอาการปวดท้องอีก เลยไลน์ไปบอกหัวหน้างานเรา ว่าขอลาป่วย หลังจากนั้นเราก็กินยาพาราแก้ปวด แล้วนอนพักต่อ ตื่นมาอีกทีก็เกือบๆ จะ10โมง เรารู้สึกว่าอาการดีขึ้นแล้ว เราก็เปิด Facebook […]

error: