ครม.อนุมัติร่างกฎ ก.พ. “โรคจิต-โรคอารมณ์ผิดปกติ” รับราชการได้

Advertisement 18 กรกฎาคม 2566 เว็บไซต์ รัฐบาลไทย รายงานว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีการกล่าวถึงประเด็นที่มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีข้อเสนอแนะต่อสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.) เกี่ยวกับร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรคที่ถูกกำหนดเป็นลักษณะต้องห้ามในการเข้ารับราชการ Advertisement โดยมีการเพิ่ม โรคจิต (Psychosis) หรือ โรคอารมณ์ผิดปกติ (Mood Disorders) ที่ปรากฏอาการเด่นชัดรุนแรงหรือเรื้อรัง และเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ไว้เป็นการเฉพาะ อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าบุคคลที่ป่วยโรคดังกล่าว ไม่มีความสามารถในการทำงานใด ๆ และอาจเสี่ยงต่อการเลือกปฏิบัติในการจ้างงาน ดังนั้น เพื่อเป็นการกำหนดโรคอันมีลักษณะต้องห้ามในการเข้ารับราชการ ให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนและหลักการไม่เลือกปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ ครม. จึงมีมติ อนุมัติร่างกฎ ก.พ. ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงแก้ไขร่างกฎ ก.พ. ฉบับดังกล่าว ให้ยกเลิกข้อความการกำหนดให้โรคจิต หรือโรคอารมณ์ผิดปกติ ที่ปรากฏอาการเด่นชัดรุนแรงหรือเรื้อรังและเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่ออก Advertisement ส่วนโรคอื่น ๆ อันเป็นลักษณะต้องห้ามในการเข้ารับราชการของบุคคล ตามที่กำหนดในร่างกฎ ก.พ. ฉบับนี้ ยังคงเดิม ได้แก่ 1. […]

ครม.แก้กฎก.พ.เพิ่ม “โรคจิต-โรคอารมณ์ผิดปกติ” ห้ามรับราชการ

เมื่อวันที่ 20 ก.ย. ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่าที่ประชุม ครม.มีมติเห็นชอบร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. …. ตามที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เสนอปรับปรุงกฎ ก.พ.ว่าด้วยโรค พ.ศ.2553 ที่กำหนดลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนโดยให้ยกเลิก “โรควัณโรคในระยะแพร่กระจายเชื้อ” ออกจากลักษณะต้องห้ามของผู้ที่จะเข้ารับราชการพลเรือน เพราะโรควัณโรคมีแนวโน้มที่ลดลง และใช้เวลาในการรักษาประมาณ 2 สัปดาห์ สามารถหายได้ นอกจากนี้ได้เพิ่มโรคจิต (Psychosis) หรือโรคอารมณ์ผิดปกติ (Mood Disorders) ที่มีอาการเด่นชัดรุนแรงหรือเรื้อรัง และเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ เป็นลักษณะต้องห้ามด้วย ส่วนโรคอื่นๆ ยังกำหนดเป็นลักษณะต้องห้ามตามเดิมได้แก่ 1.โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม 2.โรคติดยาเสพติดให้โทษ 3.โรคพิษสุราเรื้อรัง และ 4.โรคติดต่อร้ายแรงหรือโรคเรื้อรังที่ปรากฏอาการเด่นชัด หรือรุนแรงและเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ ทั้งนี้ มีผลนับตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา.   ข่าวจาก : dailynews

error: