‘นายกฯ’ ลั่นแจก 1 หมื่นถ้วนหน้า ไม่ทบทวน แต่พร้อมรับฟังทุกฝ่าย

Advertisement 6 ตุลาคม ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประชุมร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) โดยใช้เวลาประชุมประมาณ 20 นาที จากนั้นนายเศรษฐาได้เดินทางกลับเพื่อไปตรวจเยี่ยมอุทกภัยที่ จ.อุบลราชธานี โดยกล่าวเพียงสั้นๆ ว่าได้ขอให้ ส.อ.ท.ทำแอ๊กชั่นแพลนเพื่อย่อยข้อเสนอทั้ง 8 ข้อ จากนั้นจะให้ทีมงานร่วมหารือกับ ส.อ.ท.ในแต่ละข้อเสนอเพื่อแก้ไขและผลักดันร่วมกันต่อไป Advertisement นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ได้เสนอนายกรัฐมนตรี 8 ข้อเสนอหลักจาก 70 ข้อ เน้นพัฒนา 3 ด้านคือ การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน การขับเคลื่อนจีดีพีให้เติบโตมาก และการพัฒนาเศรษฐกิจแบบบีซีจี 8 แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย ได้แก่ 1.การปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบ เพื่อส่งเสริมอีสออฟดูอิ้งบิซิเนส และเพิ่มการเติบโตทางเศรษฐกิจ 2.การพัฒนาบุคลากร เพิ่มผลิตภาพแรงงาน และแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงานทั้งระบบ 3.การบริหารจัดการด้านพลังงานทั้งระบบรองรับการเปลี่ยนผ่านพลังงาน 4.การส่งเสริมการส่งออก การค้า และสนับสนุนการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย 5.การยกระดับอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยีนวัตกรรมและดิจิทัล 6.การพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน การบริหารจัดการทรัพยากรนํ้า […]

คลังเผย เล็งปรับ “เงินดิจิทัล” ให้ใช้ได้ทั้งอำเภอ แทนการคิดจากรัศมี4กิโลเมตร

นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง เปิดเผยว่า ได้มีการประเมินว่า จะมีเกษตรกรและเอสเอ็มอีที่อยู่ในข่ายได้รับการพักชำระหนี้จากนโยบายของรัฐบาลไม่เกิน 7 ล้านราย แบ่งเป็น เอสเอ็มอีประมาณ 3 ล้านราย และเกษตรกรประมาณ 4 ล้านราย อย่างไรก็ดี ในส่วนของเกษตรกรนั้น จะเน้นไปยังกลุ่มรายย่อยเป็นหลัก แต่อยู่ระหว่างการพิจารณาว่า จะกำหนดวงเงินการพักหนี้ที่เท่าใด โดยจะต้องคำนึงถึงงบประมาณที่จะมาชดเชยให้แก่โครงการนี้ด้วย “ในหลักของการพักหนี้นั้น เราจะพักในกลุ่มเกษตรกรที่เป็นรายย่อย และ เอสเอ็มอี โดยไม่ต้องพิสูจน์ความทุกข์ยากใดๆ คาดว่า จะสรุปรายละเอียดได้ภายใน 14 วัน” นายจุลพันธ์ กล่าว นายจุลพันธ์ กล่าวว่า สำหรับนโยบายการแจกเงินดิจิทัล 1 หมื่นบาทนั้น ยืนยันว่าจะเร่งพิจารณารายละเอียดควบคู่ไปกับนโยบายพักหนี้ดังกล่าว เชื่อมั่นว่า จะแล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนด ส่วนระยะทางที่กำหนดสำหรับการใช้จ่ายเงินดังกล่าวนั้น ขณะนี้ยังไม่สรุปว่า จะให้ได้แค่ 4 กิโลเมตรนับจากที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน ซึ่งอาจจะขยายให้สามารถไปใช้ได้ภายในบริเวณอำเภอที่อยู่ภายในทะเบียนบ้าน   ข่าวจาก : มติชน

“จุลพันธ์” รมช.คลัง ยืนยันไม่นำสมบัติชาติมาแจกเงินดิจิทัล ไม่กระทบหนี้สาธารณะ ไม่กู้เพิ่มแน่นอน

11 ก.ย.2566 – เวลา 17.40 น. นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงดิจิตอลวอลเล็ท ว่า แหล่งที่มาของรายได้เงินดิจิตอลเรายึดมั่นกรอบวินัยการเงินการคลัง ไม่แตะต้องสมบัติของชาติ ทั้งกองทุนวายุภักษ์ บำเหน็จบำนาญข้าราชการ ทุนสำรองระหว่างประเทศ กองทุนประกันตน ก็ตาม ส่วนเหล่านี้รัฐบาลทราบวัตถุประสงค์ เราจะไม่แตะต้องและไม่เคยจะคิด กระบวนที่เราจะทำสุดท้ายจะชัดเจน เราขอเวลาตรวจรายละเอียดโครงการ ไม่ว่าจะเรื่องการใช้เงิน ระยะเวลาในการดำเนินการ กระบวนการที่จะเอางบประมาณมาใช้คืนให้หมดในระยะเวลาที่กำหนด ไม่กระทบต่อหนี้สาธารณะ และไม่กู้เพิ่มแน่นอน ยึดหลักกรอบวินัยการเงินการคลังเป็นหลัก นายจุลพันธ์ กล่าวต่อว่า มีการพูดกันว่าเม็ดเงินสุดท้ายจะไหลไปที่ทุนใหญ่นั้น ต้องเรียนว่า โครงการเติมเงินผ่านดิจิตอลวอล ไม่มีการเลือกปฏิบัติว่า สุดท้ายแล้วทุนใหญ่หรือว่าร้านสะดวกซื้อจะไม่สามารถเข้าโครงการได้ ด้วยความเคารพ มันเป็นสิทธิของประชาชนและเราต้องให้ความมั่นใจกับประชาชนในการเลือกกิจกรรมที่เขาจะทำ ทุกบาททุกสตางค์ ด้วยความที่เป็นระบบบล็อกเชน เป็นเทคโนโลยีพื้นฐาน สิ่งที่จะยืนยันกับรัฐสภาได้ ว่า ไม่มีเทคโนโลยีใดซึ่งจะมีความโปร่งใสและตรวจสอบได้เท่ากับเทคโนโลยีบล็อกเชนในปัจจุบัน ยืนยันกับพี่น้องและเพื่อนสมาชิกว่า นโยบายนี้จะเกิดประโยชน์และตรวจสอบได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์   ข่าวจาก : THAIPOST

ดูเงื่อนไขอีกครั้ง! เงินวอลเล็ต10,000 ต้องใช้ให้หมดใน6เดือน คาดว่าเริ่ม ก.พ.67 จ่ายค่าเทอม-ดาวน์รถได้!

ล่าสุด เกี่ยวกับเรื่องของนโยบาย เงินดิจิทัล1หมื่นบาท ทางด้าน นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ยืนยันว่า นโยบาย เงินดิจิทัล 10,000 คือการวางนโยบายพื้นฐานทางการเงินใหม่ ที่ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน เป็นการก้าวกระโดดจากเทคโนโลยีเดิม เพื่อประโยชน์ของการพัฒนาประเทศสู่เศรษฐกิจดิจิทัล และไม่ได้แจกเงินผ่านเป๋าตัง โดยจะแจกเงินผ่านรายชื่อตามทะเบียนบ้าน มีเงื่อนไข ดังนี้ – ประชาชนอายุ 16 ปีขึ้นไป รวมทั้ง ประชาชนที่มีสวัสดิการอื่นๆ เช่น คนพิการ, คนชรา ได้รับเงิน 10,000 บาท เข้าดิจิทัลวอลเล็ต แบบเต็มจำนวนไม่หักลด – ไม่ต้องลงทะเบียน เพราะระบบผูกกับบัตรประชาชน แต่ต้องดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน สำหรับผู้ที่ไม่มีสมาร์ทโฟน ก็ไม่มีปัญหา สามารถใช้เลขบัตรประชาชน พร้อมโค้ดส่วนตัว – ซื้อของภายในรัศมี 4 กิโลเมตร จากที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน จะซื้ออาหาร เครื่องดื่ม ยารักษาโรค เครื่องมือทำกิน ได้ทั้งนั้น หากพื้นที่ไหนไม่มีร้านค้า สามารถขยายได้ แต่ไม่อนุญาตให้ใช้นอกพื้นที่ หากอาศัยอยู่คนละที่ […]

เช็กกันอีกรอบ! เงินดิจิทัล10,000 จากรัฐบาลเพื่อไทย จะได้วันไหน? ใครอยู่ในเงื่อนไขที่ได้บ้าง?

เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า พรรคเพื่อไทย ได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล นั่นทำให้หลายคนย้อนกลับไปดูนโยบายต่าง ๆ ของพรรคที่เคยหาเสียงไว้ และนโยบายที่โดดเด่นก็คือ “เงินดิจิทัล 10,000” ที่พรรคเคยประกาศไว้ช่วงหาเสียงเลือกตั้ง ทั้งล่าสุด ดร.เผ่าภูมิ โรจนสกุล รองเลขาธิการ พรรคเพื่อไทย ก็ได้แถลงเดินหน้านโยบายนี้แล้ว แล้ว เงินดิจิทัล 10,000 คืออะไร ? นโยบายเงินดิจิทัล 10,000 บาท เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น แต่ในช่วง 6 เดือน จะมีมาตรการทางเศรษฐกิจอื่นๆ รองรับด้วย จากนี้ไป คนไทยจะมี 2 บัญชี คือ บัญชีออมทรัพย์ทั่วไป และ บัญชีดิจิทัลวอลเล็ต โดยใช้บล็อกเชนเขียนเงื่อนไขลงไปบนเงิน ว่าต้องใช้ภายใน 6 เดือน และรัศมี 4 กิโลเมตร ซึ่งแตกต่างจากแอปเป๋าตัง โดยมีวงเงินที่ต้องใช้ 560,000 ล้านบาท ใครได้บ้าง ? ประชาชนอายุ 16 ปีขึ้นไป สำหรับประชาชนที่มีสวัสดิการอื่นๆ […]

โปรดเกล้าฯ ให้ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม การโอน “คริปโทเคอร์เรนซี-เงินดิจิทัล”

พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๗๔๔) พ.ศ. ๒๕๖๕ ให้ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม การโอน ‘คริปโทเคอร์เรนซี-เงินดิจิทัล’ วันที่ 24 พ.ค.2565 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๗๔๔) พ.ศ. ๒๕๖๕ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสําหรับการโอนคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัล อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล รัษฎากร (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๔๖ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “ พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวล รัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๗๔๔) พ.ศ. ๒๕๑๕” มาตรา […]

คาซัคสถานขุดเหมืองคริปโตกันจนไฟดับทั่วประเทศ

การทำเหมืองคริปโตกำลังเป็นที่เฟื่องฟูในคาซัคสถาน มีทั้งเหมืองถูกกฎหมายและผิดกฎหมายผุดขึ้นทั่วประเทศ จนเกิดปัญหาไฟฟ้าไม่พอใช้ และทำให้ไฟดับในหลายพื้นที่ คาซัคสถานกำลังเจอปัญหาผลิตไฟฟ้าไม่เพียงต่อการใช้งานทั่วประเทศ ซึ่งสาเหตุหลักมาจากการขุดเหมืองคริปโต ซึ่งต้องใช้พลังงานไฟฟ้าจำนวนมหาศาล และด้วยผลตอบแทนที่คุ้มค่า จึงทำให้มีคนมาลงทุนทำเหมืองคริปโตกันมากขึ้น จนทำให้เกิดปัญหาไฟฟ้าไม่พอใช้ในหลายพื้นที่ กระทรวงพลังงานของคาซัคสถานเปิดเผยว่า ในปีนี้ มีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นถึง 8% จากเดิมที่จะเพิ่มแค่ปีละ 1-2% ซึ่งการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดปัญหาไฟฟ้าดับในหกภูมิภาคตั้งแต่เดือนตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่ง KEGOIC ผู้ผลิตไฟฟ้าของคาซัคสถาน บอกว่าจะแก้ไขปัญหาด้วยการลดสัดส่วนพลังงานไฟฟ้าที่ส่งไปยังเหมืองคริปโต และหากเกิดปัญหาไฟฟ้าไม่พอใช้อีก จะตัดไฟในส่วนที่ส่งไปให้เหมืองคริปโตก่อน คาซัคสถานมีเหมืองขุดคริปโตทั้งแบบถูกกฎหมายและผิดกฎหมายจำนวนมาก จึงทำให้มีการใช้พลังงานไฟฟ้าที่สูงเกินกว่าที่ทางการคาดไว้ ซึ่งรัฐบาลของคาซัคสถานกำลังขอให้ทางรัสเซียช่วยผลิตไฟฟ้าและส่งเข้ามายังคาซัคสถานเพิ่มเติมด้วย   ข่าวจาก : nationtv

นักลงทุนเงินดิจิทัลสะเทือน!! ครม.เห็นชอบกฎหมายเก็บภาษีเงินคริปโต หัก ณ ที่จ่าย 15% พร้อมต้องยื่นภาษี 40(4)

  ผู้สื่อข่าวรายงานจากทำเนียบรัฐบาลว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 13 มีนาคม มีมติเห็นชอบร่างพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (การจัดเก็บภาษีจากทรัพย์สินดิจิทัล) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบหลักการร่างพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (การจัดเก็บภาษีจากทรัพย์สินดิจิทัล) ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ กค. พิจารณาแล้วเห็นว่า ปัจจุบันประมวลรัษฎากรยังไม่ได้กำหนดเกี่ยวกับทรัพย์สินดิจิทัลไว้ จึงอาจเกิดความไม่ชัดเจน ดังนั้น เห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร โดยกำหนดนิยามของทรัพย์สินดิจิทัล ประเภทเงินได้ของเงินได้เนื่องมาจากทรัพย์สินดิจิทัล และการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายสำหรับเงินได้เนื่องมาจากทรัพย์สินดิจิทัล เพื่อให้ผู้มีเงินได้เนื่องมาจากทรัพย์สินดิจิทัลและผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับทรัพย์สินดิจิทัลเสียภาษีตามประมวลรัษฎากรอย่างถูกต้องครบถ้วนเช่นเดียวกันกับผู้มีเงินได้เนื่องมาจากทรัพย์สินอื่น ๆ และผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับทรัพย์สินอื่น ๆ และเนื่องจากในปัจจุบันได้มีการนำทรัพย์สินดิจิทัลมาใช้ในการประกอบธุรกิจและการกระทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศแล้ว โดยมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนเพื่อความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศซึ่งจะต้องตราพระราชกำหนด สาระสำคัญของร่างพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (การจัดเก็บภาษีจากทรัพย์สินดิจิทัล) เป็นการกำหนดนิยามของทรัพย์สินดิจิทัล ประเภทเงินได้ของเงินได้เนื่องมาจากทรัพย์สินดิจิทัล และการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายของเงินได้เนื่องมาจากทรัพย์สินดิจิทัล ดังนี้ 1.) […]

1 2
error: