เริ่มแล้ววันนี้! รถไฟฟ้าสายสีเหลือง เปิดบริการทดลองวิ่ง หัวหมาก-สำโรง

Advertisement 2 มิ.ย. 2566 – นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการ บริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด หรืออีบีเอ็ม ผู้ได้รับสัมปทาน โครงการ รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง เปิดเผยว่า ในวันที่ 3 มิ.ย. บริษัทจะทำการเปิดทดลองการเดินรถในบางช่วง จากสถานีหัวหมาก-สำโรง รวมทั้งสิ้น 13 สถานี ตั้งแต่ช่วงเวลา 09.00 -20.00 น. และมีความถี่ในการให้บริการ 10 นาทีต่อขบวน ซึ่งการเปิดทดลองให้บริการเป็นบางช่วง เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม และสร้างความคุ้นเคยให้กับผู้โดยสาร Advertisement หลังจากเปิดให้บริการแล้ว ประมาณ 1 สัปดาห์ จะมีการประเมินร่วมกับ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) อีกครั้ง เพื่อให้ผู้โดยสารเกิดความมั่นใจ ก่อนเปิดให้บริการเต็มรูปแบบทั้ง 23 สถานี สำหรับ 10 สถานีที่เหลือ ตั้งแต่ สถานีศรีกรีฑา […]

แบบนี้ก็ได้หรอ? โยกคันเบรกฉุกเฉินรถไฟฟ้า อ้างว่าเพราะขึ้นผิดขบวน

ล่าสุดมีผู้โดยสารรายหนึ่งแชร์เรื่องราวที่เกิดขึ้นบนรถไฟฟ้า ซึ่งพบว่า ผู้โดยสารคนหนึ่งได้ดึงคันโยกฉุกเฉิน เพื่อหยุดขบวนรถด้วยสาเหตุที่ไม่เข้าท่า โพสต์ดังกล่าวระบุว่า “WTF มีอีป้ามาดึงคันโยกฉุกเฉิน 3-4 ที เพราะขึ้นผิดขบวน อห ๆ พอประตูเปิดนางก็วิ่งออกไปเลย ชะงักกันไปหมด” อย่างไรก็ตามพบว่า มักมีเหตุการณ์ลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้น ด้วยเหตุผลที่ไม่ฉุกเฉิน ซึ่งคันโยกฉุกเฉิน (Passenger Emergency Release หรือ PER) เมื่อมีการดึงจะกระทบต่อการเดินรถ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ควบคุมรถจะต้องใช้เวลาในการรีเซ็ตขบวนรถทุกครั้ง ​ทำให้ขบวนถัดไปต้องหยุดลงด้วย ซึ่งกรณีที่พบได้บ่อยกว่ากรณีอื่นคือ มีผู้เป็นลมในขบวนรถ ผู้โดยสารจึงดึง PER ซึ่งทำให้ขบวนรถต้องหยุดนานกว่าปกติที่สถานีถัดไปโดยไม่จำเป็น ทำให้มีคำแนะนำว่า หากต้องการความช่วยเหลือ ให้กดปุ่มกระดิ่งแจ้งเจ้าหน้าที่ได้ทันที ซึ่งอยู่ใกล้ๆกัน ตัวอย่างการใช้ PER เช่น ขบวนรถไฟฟ้าจอดสนิทที่สถานี หากอยู่ในขบวนรถ แต่พบผู้โดยสารท่านอื่นขาตกในช่องว่างระหว่างชานชาลา ก็สามารถดึง PER เพื่อไม่ให้รถเคลื่อนที่ได้   ข่าวจาก : ข่าวสด

รฟม. แจงเหตุ สน.หัวหมาก ทรุดตัว ไม่เกี่ยวกับงานก่อสร้างรถไฟฟ้า

27 ส.ค. 2565 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ขอเรียนชี้แจงว่า ตามที่สื่อมวลชนและสื่อสังคมออนไลน์ ได้มีการเผยแพร่ข่าวกรณีพื้นที่ของสน.หัวหมาก และสถานีดับเพลิงและกู้ภัยหัวหมากเกิดทรุดตัวลง โดยได้มีการกล่าวถึงว่า บริเวณด้านหน้าของสน.หัวหมาก มีการก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้านั้น ในการนี้รฟม. ขอเรียนชี้แจงว่า พื้นที่เกิดเหตุอยู่ห่างจากเขตก่อสร้างสถานี กกท. (OR18) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ประมาณ 25 เมตร จากการสำรวจพบว่าในส่วนอื่น ๆ ของอาคารดังกล่าวห่างจากพื้นที่ก่อสร้างประมาณ 17 เมตร ไม่มีความเสียหาย ทั้งนี้ ในระหว่างการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันออก) รฟม. ได้มีการตรวจวัดการทรุดตัวของอาคารโดยรอบพื้นที่ก่อสร้างอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งสภาพโดยรอบพื้นที่ก่อสร้างสถานี กกท. (OR18) ในช่วงปี 2561-2563 ที่มีการก่อสร้างโดยใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ และก่อให้เกิดการสั่นสะเทือน (งานก่อสร้างผนัง D-wall บริเวณทางขึ้นลงที่อยู่ใกล้สน.หัวหมาก ได้ดำเนินการแล้วเสร็จเมื่อ 10 มกราคม 63 ไม่พบการเคลื่อนตัวที่ผิดปกติแต่อย่างใด ปัจจุบันการก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าดังกล่าว กำลังดำเนินงานภายใน ได้แก่ งานสถาปัตยกรรมและงานระบบไฟฟ้าเครื่องกล ซึ่งไม่ได้ก่อให้เกิดการสั่นสะเทือนแต่อย่างใด […]

บีทีเอสสายสีเขียว “ชัชชาติ” เคาะแล้ว ตลอดสาย ไม่เกิน 59 บาท

(27 มิ.ย. 2565) นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยความคืบหน้า กรณีสัญญาสัมปทาน “รถไฟฟ้าสายสีเขียว” ว่า จะต้องสรุปความคืบหน้าร่วมกับ นายธงทอง จันทรางศุ ประธานกรรมการบริหารบริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด ภายใน 1 เดือน สิ่งสำคัญคือ การคิดราคารถไฟฟ้าบีทีเอสส่วนต่อขยายส่วนที่ 2 ที่เป็นภาระหนี้ ซึ่งปัจจุบันมีคนใช้อยู่ 27% ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาชั่วคราว โดยเบื้องต้น คงเป็นไปตามข้อเสนอของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ที่ให้เก็บค่าโดยสารตลอดสายไม่เกิน 59 บาท ในส่วนต่อขยายส่วนที่ 2 แบริ่ง-เคหะสมุทรปราการ และ ห้าแยกลาดพร้าว-คูคต ถึงเวลาที่ต้องจ่ายค่าโดยสาร เพราะต้องจ่ายค่าเดินรถเพื่อความยุติธรรม นายชัชชาติ กล่าวต่อว่า ปัจจุบัน “รถไฟฟ้าสายสีเขียว” มีหนี้ส่วนต่อขยายราว 100,000 ล้านบาทนอกจากนี้ ยังมีหนี้โครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล แบ่งเป็นหนี้วางระบบขณะที่หนี้ของรัฐบาล เป็นหนี้วางระบบรถ ประมาณ 19,000 ล้านบาท หนี้ค่าจ้างเดินรถ 13,000 ล้านบาท ซึ่งต้องพิจารณา […]

รถไฟฟ้า BTS-MRT สามารถจ่ายคนละครึ่งได้ เช็กขั้นตอนการใช้ที่นี่

การเดินทางด้วยรถไฟฟ้า BTS หรือ MRT สามารถจ่าย “คนละครึ่ง” ได้เพียงติดต่อซื้อตั๋ว/เหรียญที่ห้องจำหน่ายตั๋วทุกสถานี สแกนจ่ายผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” หลังจากที่กระทรวงการคลัง เพิ่มวงเงินสนับสนุนโครงการ “คนละครึ่ง” เฟส 3 จำนวน 1,500 บาทต่อคน โดยนำไปรวมกับวงเงินสิทธิ์คงเหลือจากรอบที่ 1 และรอบที่ 2 โดยอัตโนมัติ รวมเป็นวงเงินสิทธิ์ที่ได้รับจำนวนทั้งสิ้น 4,500 บาทต่อคนตลอดระยะเวลาโครงการ สามารถใช้สิทธิ์ได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 นอกเหนือจาก ใช้สิทธิ์ซื้ออาหารและเครื่องดื่ม จากร้านอาหารและเครื่องดื่มที่เข้าร่วมโครงการฯ รวมไปถึงใช้บริการซื้ออาหาร ผ่านผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอรีแพลตฟอร์ม สามารถใช้สิทธิ์คนละครึ่ง เฟส 3 ซื้อตั๋วโดยสาร BTS และ MRT ผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” การซื้อตั๋วเดินทางรถไฟฟ้าบีทีเอส กับโครงการของรัฐ โครงการคนละครึ่ง เฟส3 บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ขั้นตอนการซื้อตั๋วโดยสาร BTS ดังนี้ เติมเงินใส่แอปเป๋าตัง ในช่อง G-Wallet เข้าในแถบสำหรับสแกนคนละครึ่งเพื่อสแกนชำระ […]

1 2 3
error: