ลือสนั่น! ปชป. ชิงส่งชื่อว่าที่ รมต.แล้วตั้งแต่ 2-3 วันก่อน

Advertisement สะพัด! พรรคประชาธิปัตย์ ส่งชื่อว่าที่ รมต. ให้พรรคเพื่อไทยพิจารณาแล้วตั้งแต่ 2-3 วันที่ผ่านมา ส่วนกลุ่มธรรมนัส โควตารมต.3เก้าอี้ Advertisement จากกระแสข่าวร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ พร้อมด้วยนายไผ่ ลิกค์ สส.กำแพงเพชร เดินทางไปพบกับนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เมื่อกลางดึกที่ผ่านมา (20 ส.ค.2567) เพื่อหารือเรื่องการจับมือทางการเมืองเข้าร่วมรัฐบาลชุดใหม่นั้น ล่าสุดนายไผ่ ลิกค์ ปฎิเสธข่าวดังกล่าวว่า ไม่ได้ไปร่วมวง และไม่ทราบว่ามีการการพบกันระหว่างนายเฉลิมชัยกับร้อยเอก ธรรมนัส เกิดขึ้น Advertisement ขณะเดียวกันมีรายงานข่าวจากพรรคประชาธิปัตย์ ยืนยันว่า ไม่มีการพบกัน เพราะเมื่อคืนนายเฉลิมชัยมีแขกเข้าพบอยู่ก่อนแล้ว และ ที่ผ่านมาเรื่องการเข้าร่วมรัฐบาลได้พูดคุยกันจนได้ข้อยุติแล้ว โดยพรรคประชาธิปัตย์ ได้ส่งรายชื่อว่าที่รัฐมนตรี 2 คน ให้พรรคเพื่อไทยพิจารณาเป็นรัฐมนตรี ประกอบด้วย นายเฉลิมชัย และ นายเดชอิศม์ ขาวทอง สส.สงขลา ตั้งแต่เมื่อ 2-3 วันที่ผ่านมา นอกจากนั้นก็มีรายงานข่าวด้วยว่า จากจำนวน สส. […]

“กบน.” เพิ่มเงินชดเชยราคาน้ำมันดีเซล 2.02 บาท หลังน้ำมันในตลาดโลกปรับเพิ่มขึ้น

แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน ระบุว่า คณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.)ได้พิจารณาเพิ่มเงินชดเชยราคาน้ำมันดีเซลขึ้นอีกครั้งเป็น 2.02 บาทต่อลิตรจากเดิมชดเชยอยู่ 1.60 บาทต่อลิตร เนื่องจากราคาน้ำมันตลาดโลกปรับเพิ่มขึ้น อีกทั้ง กบน.เองก็ไม่สามารถปรับขึ้นราคาดีเซลได้อีก เนื่องจากเต็มเพดานที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) กำหนดให้ปรับขึ้นได้ไม่เกิน 33 บาทต่อลิตร ซึ่งปัจจุบันราคาดีเซลจำหน่ายอยู่ที่ 32.94 บาทต่อลิตร ทั้งนี้ จึงส่งผลทำให้ กบน.ต้องอนุมัติใช้เงินกองทุนน้ำมันชดเชยราคาน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้นแทนการเพิ่มเงินชดเชยราคาน้ำมันดีเซลดังกล่าวส่งผลให้กองทุนน้ำมันต้องประสบปัญหาเงินไหลออก 178.28 ล้านบาทต่อวัน ซึ่งมากกว่าเงินไหลเข้า 158.47 ล้านบาทต่อวัน ทำให้เงินกองทุนน้ำมันติดลบวันละ 19.81 ล้านบาท หรือ 594 ล้านบาทต่อเดือน ส่วนสถานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงล่าสุดนั้น จากการตรวจสอบของ “ฐานเศรษฐกิจ” ไปยังข้อมูลที่เผยแพร่โดยสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (สกนช.) วันที่ 23 มิ.ย. 67 พบว่า ติดลบ 110,743 ล้านบาท แบ่งเป็น บัญชีน้ำมันติดลบ 63,121 ล้านบาท บัญชีก๊าซหุงต้ม ติดลบ47,622ล้านบาท อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมา กบน.พยายามปรับขึ้นราคาดีเซลจาก […]

ครม.อนุมัติ กฟผ. ลุย 4 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ กำลังผลิต 6.75 เมกะวัตต์

(18 มิถุนายน 2567) นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบให้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนลำตะคอง เขื่อนลำปาว เขื่อนห้วยแม่ท้อ และเขื่อนกระเสียว กำลังผลิตติดตั้งรวม 6.75 เมกะวัตต์ โดยมีวงเงินขออนุมัติ 959.76 ล้านบาท ทั้งนี้ในการดำเนินโครงการที่มีวงเงินขออนุมัติ 959.76 ล้านบาทนั้น แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ เงินตราต่างประเทศ 243.83 ล้านบาท และ เงินบาท 715.93 ล้านบาท โดยให้สามารถเกลี่ยงบประมาณระหว่างโครงการได้ และให้ถือว่า กฟผ. ได้รับอนุมัติงบประมาณเพื่อการลงทุนตามแผนการประมาณการเบิกจ่ายประจำปี 2567 ตามที่กระทรวงพลังงาน เสนอ สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนลำตะคอง เขื่อนลำปาว เขื่อนห้วยแม่ท้อ และเขื่อนกระเสียว เป็นโครงการที่บรรจุอยู่ในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561-2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (แผน PDP2018 Rev.1) […]

สินค้าที่ไม่เข้าร่วม “เงินดิจิทัล 1 หมื่น” ผ่านมติ ครม. ล่าสุด

“เงินดิจิทัล 10,000 บาท” ล่าสุดคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบกรอบหลักการโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ตามมติคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ครั้งที่ 3/2567 เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2567 และมีมติเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ประเด็นที่สำคัญของเงินดิจิมทัล 1 หมื่นบาทที่ประชาชนต้องกาารรับทราบข้อมูลเป็นอย่างมากก็คือ เงินดิจิทัลวอลเล็ตดังกล่าวสามารถนำไปใช้ซื้อสินค้าอะไรได้บ้าง จากการให้ข้อมูลของนายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โฆษกกระทรวงการคลัง ระบุว่า สินค้าที่ไม่เข้าร่วมรายการ “เงินดิจิทัล 10,000 บาท” ประกอบด้วย สลากกินแบ่งรัฐบาล เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาสูบ น้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซธรรมชาติ กัญชา กระท่อม พืชกระท่อม ผลิตภัณฑ์กัญชา-กระท่อม บัตรกำนัล บัตรเงินสด ทองคำ เพชร พลอย […]

ครม.ตั้งบอร์ดคุมเข้มทุกหน่วยงานราชการ ซื้อคอมพิวเตอร์

(26 มีนาคม 2567) ที่ทำเนียบรัฐบาล นางสาวเกณิกา อุ่นจิตร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติ และเห็นชอบการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ของรัฐ โดยมีปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธาน สำหรับคณะกรรมการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ของรัฐ มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสม เสนอแนะแนวทางการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ของส่วนราชการ องค์การมหาชน ที่ใช้งบประมาณแผ่นดิน รวมถึงแหล่งเงินอื่นที่นอกเหนือจากงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งเป็นภาระที่รัฐจะต้องตั้งงบประมาณชดใช้ในการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมูลค่าเกินกว่า 100 ล้านบาทขึ้นไป โดยเฉพาะการบูรณาการงบประมาณ เทคโนโลยี และการใช้ข้อมูลร่วมกัน เพื่อลดความซ้ำซ้อนในการดำเนินการ รวมทั้งให้มีการใช้เกณฑ์มาตรฐานเดียวกันในการพิจารณาการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ของรัฐให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งการพิจารณาติดตามแผนงานและโครงการที่ได้ให้ความเห็นชอบของส่วนราชการและรายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบ รวมทั้งพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์ และแนวทางปฏิบัติการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ของรัฐ และ พิจารณากำหนด และเผยแพร่ข้อมูลในเรื่องราคาและคุณลักษณะของระบบคอมพิวเตอร์ ที่เหมาะสมกับลักษณะงานต่าง ๆ เช่นเดียวกับการเสนอแนะข้อวินิจฉัย ปัญหาและแนวทางปฏิบัติในการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ของรัฐ ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมมอบหมาย อีกทั้งยังให้มีอำนาจเชิญเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องมาชี้แจง เสนอข้อมูล และ/หรือเอกสารประกอบ การพิจารณาได้ตามความจำเป็น แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน และผู้ช่วยเลขานุการเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น และปฏิบัติงานอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมายจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำหรับองค์ประกอบของบอร์ดชุดใหม่ ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานกรรมการ ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง ประจำกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย […]

ทำเนียบส่งหนังสือด่วน 5 หน่วยงาน จ่อเลิกจ่ายเงินอุดหนุนช่วยเกษตรกร

แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล แจ้งว่า ขณะนี้ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้ทำหนังสือด่วนที่สุด ที่ นร 0505/ว(ล)25288 แจ้งถึงกระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงบประมาณ และสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ถึงการจัดทำมาตรการ/โครงการเพื่อสนับสนุนหรือให้ความช่วยเหลือเกษตรกร หนังสือราชการดังกล่าวมีสาระสำคัญ โดยระบุมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ขอให้การช่วยเหลือเกษตรกรและภาคเกษตรต่อจากนี้ไป ขอให้ทุกหน่วยงานหลีกเลี่ยงการดำเนินการในลักษณะการให้เงินอุดหนุน ช่วยเหลือ ชดเชย หรือประกันราคาสินค้าเกษตรโดยตรงแก่เกษตรกร ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นว่า เพื่อยกระดับขีดความสามารถของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรที่เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจต่าง ๆ ของประเทศ เช่น ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง ข้าวโพด ปาล์ม และอ้อย รวมถึงพัฒนาภาคเกษตรให้มีความเข้มแข็งและเกิดความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน ทำให้เกษตรกรที่เพาะปลูกพืชดังกล่าวสามารถประกอบอาชีพของตนได้อย่างมีศักยภาพ มีรายได้พอเพียงแก่การดำรงชีวิตได้อย่างยั่งยืน โดยไม่เป็นภาระต่อภาครัฐในการให้ความช่วยเหลือดูแล และชดเชยเกินจำเป็น คณะรัฐมนตรีจึงมีมติกำหนดเป็นหลักการว่า ในการจัดทำมาตรการ/โครงการเพื่อสนับสนุนหรือให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและภาคเกษตรต่อจากนี้ไป ให้ทุกหน่วยงานหลีกเลี่ยงการดำเนินการในลักษณะการให้เงินอุดหนุน ช่วยเหลือ ชดเชย หรือประกันราคาสินค้าเกษตรโดยตรงแก่เกษตรกร พร้อมทั้งให้พิจารณาดำเนินมาตรการ/โครงการในลักษณะที่เป็นการสนับสนุนการเพิ่มระดับผลิตภาพ (Productivity) ของภาคการเกษตรการพัฒนาภาคเกษตรตลอดห่วงโซ่อุปทาน หรือเป็นการยกระดับกระบวนการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าเกษตร ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรสามารถสร้างรายได้ของตนเองได้อย่างเพียงพอได้ในระยะยาวและดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพและมีความยั่งยืนต่อไป ท้ายหนังสือด่วนฉบับนี้ยัง ระบุว่า ขอให้หน่วยงานต่าง ๆ […]

เปิดรายชื่อคณะรัฐมนตรี “เศรษฐา 1” เรียงตามประกาศราชกิจจานุเบกษา

28 สิงหาคม 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานขั้นตอน การโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง คณะรัฐมนตรี ซึ่งเป็นไปตามความในมาตรา 158 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หลังจากได้ทรงพระกรุณาแต่งตั้งนายเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศลงวันที่ 22 สิงหาคม 2566 แล้วนั้น บัดนี้ นายเศรษฐา ทวีสิน ได้เลือกสรรผู้ที่สมควรดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี เพื่อบริหารราชการแผ่นดินสืบต่อไปแล้ว จึงนำรายชื่อเข้าตรวจสอบคุณสมบัติโดยสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) จากนั้นนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ลงนามในหนังสือกราบบังคมทูลเกล้าฯ รายชื่อ แล้วให้เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ส่งเรื่องให้กับสำนักราชเลขาธิการ รับไปดำเนินการ โดยรายชื่อคณะรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการ และรัฐมนตรีช่วยว่าการ เรียงตามลำดับ ตัวอักษรชื่อกระทรวง ที่เคยประกาศในราชกิจจานุเบกษา รายชื่อคณะรัฐมนตรี ที่จะได้รับการแต่งตั้ง ดังต่อไปนี้ นายชูศักดิ์ ศิรินิล เป็นรองนายกรัฐมนตรี นายสมศักดิ์ เทพสุทิน เป็นรองนายกรัฐมนตรี นายภูมิธรรม เวชยชัย เป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายปานปรีย์ […]

ประยุทธ์ แจกหนังสือผลงานรัฐบาล 3 ปี ให้ ส.ส.-ครม.

วันนี้ (25 พศจิกายน) ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มี ศุภชัย โพธิ์สุ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม ซึ่งเป็นวาระพิจารณาเรื่องที่กรรมาธิการพิจารณาแล้วเสร็จ เช่น ญัตติเพื่อพิจารณาศึกษาสอบหาข้อเท็จจริงกรณีการปิดอ่าวมาหยา จังหวัดกระบี่ เรื่องรายงานการศึกษา เทคโนโลยี 5G รวมทั้งความสำเร็จของการจัดประชุมผู้นำ APEC ที่ผ่านมาอีกด้วย ทั้งนี้ ในการประชุมสภา มีการแจกรายงานผลดำเนินการของรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปีที่ 3 ระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม 2564 – 25 กรกฎาคม 2565 โดยมีรูปปกหนังสือเป็นรูป พล.อ. ประยุทธ์ พร้อมรายละเอียดรายงานผลงานของรัฐบาล ทำแจกสมาชิกรัฐสภาทั้งหมด รวมถึงแจกให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ด้วย ซึ่งแจกวันนี้เป็นวันแรก สำหรับเนื้อหาในหนังสือรายงานเรื่องดังกล่าวมีเนื้อหา 370 หน้า ประกอบไปด้วยผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ และแผนปฏิรูปประเทศตามนโยบายหลัก 12 ด้านของรัฐบาล […]

ครม. ไฟเขียวยืดเวลาเก็บแวต 7% อีก 2 ปี – ชี้ไม่กระทบประมาณการรายได้ปีงบ 65-66

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 24 ส.ค. 2564 มีมติเห็นชอบขยายระยะเวลาการลดภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) ที่จะครบกำหนดวันที่ 30 ก.ย. นี้ ต่อไปอีกเป็นเวลา 2 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2564 ถึงวันที่ 30 ก.ย. 2566 โดยยังคงจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการขายสินค้า การให้บริการ หรือการนำเข้าทุกกรณีในอัตราเดิม คือ 7% (รวมภาษีท้องถิ่น) หรืออัตรา 6.3% (ไม่รวมภาษีท้องถิ่น) ทั้งนี้ การขยายระยะเวลาลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยคงอัตราเดิม 7% จะไม่ผลกระทบต่อการประมาณการรายได้ในปีงบประมาณพ.ศ. 2565 และ พ.ศ. 2566 เนื่องจากในการจัดทำงบประมาณได้มีการคำนวณประมาณการรายได้ โดยใช้ข้อมูลพื้นฐานการคำนวณของอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ในอัตรา 7% แล้ว   ข่าวจาก : ข่าวสด

1 2
error: