เคล็ดลับรักษาโรคไมเกรน





Migraine-002

 

“อากาศร้อน” ส่งผลให้ผู้ที่เป็น “ไมเกรน” มีโอกาสปวดศีรษะได้บ่อย อากาศร้อนเป็นปัจจัยที่สำคัญกระตุ้นอาการปวดศีรษะจากโรคไมเกรน อาการที่โดดเด่น คือ ปวดตุบๆ (ตามจังหวะชีพจร) ที่ขมับข้างเดียวเป็นส่วนใหญ่ ส่วนน้อยอาจเป็นพร้อมกันทั้ง 2 ข้าง และมักคลำได้เส้นเลือดที่ขมับนั้นพองโตขึ้นกว่าปกติ มักมีอาการคลื่นไส้ร่วมด้วย อาการจะแย่ลงเมื่อโดนแสง เสียง หรือยังฝืนเคลื่อนไหวไปมา หากปล่อยไว้ ไม่ดูแลรักษา ก็จะปวดติดต่อกันอยู่นาน 4-72 ชั่วโมง ก็จะทุเลาไปได้เอง อาการปวดไม่ถึงกับรบกวนการนอนหลับ คือกลางคืนหลับได้ แต่หลังจากตื่นขึ้นมาก็จะปวดต่อจนครบระยะของมัน

เคล็ดลับในการรักษาโรคไมเกรน
1. รีบกินยาแก้ปวดทันทีที่รู้สึกมีอาการกำเริบ บางคนอาจมีอาการเตือนก่อนปวด เช่น เห็นภาพแปลกๆ (เห็นแสงสว่างวับๆ หรือ เห็นภาพพร่ามัว) บางคนมีอาการมึนๆ หรือปวดกรุ่นๆ ก่อนจะปวดแบบตุบๆ ให้รีบกินยาแก้ปวดทันที อย่ารอให้มีอาการนานเกินครึ่งชั่วโมง ชึ่งยาจะได้ผลน้อย และจะปวดนาน หลังกินยาให้นอนพักหรือนั่งพักในห้องเงียบๆ แสงสลัว อากาศโล่งโปร่งสบาย และหยุดทำกิจกรรมทุกอย่างไว้ชั่วคราว อาการมักจะทุเลาได้ภายใน 30-60 นาที ยาแก้ปวด ได้แก่ พาราเซตามอล ครั้งละ 1-2 เม็ด แม้จะเป็นยาพื้นๆ แต่หากรู้จักกินให้ถูกเวลา (กินทันทีที่มีอาการ) ก็ช่วยให้สบายได้ถึง ร้อยละ 70-80 

[ads]

หากลองใช้อย่างถูกหลักแล้วไม่ได้ผล ก็ควรไปปรึกษาแพทย์ แพทย์อาจยาแก้ปวดชนิดอื่นแทน ซึ่งมีให้เลือกหลายตัว ถ้าได้ผล ควรใช้ยานั้นตามที่แพทย์สั่งให้ใช้ ไม่ควรนำตัวอย่างยาไปซื้อกินเอง เพราะหากใช้พร่ำเพรื่อเกินจำเป็น จะกลายเป็นติดยา ขาดยาไม่ได้ และยาบางชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มีส่วนผสมของเออร์โกทามีน มีผลข้างเคียง ทำให้หลอดเลือดแดงตีบทั่วร่างกาย หากใช้ติดต่อกันนานๆ หรือใช้ร่วมกับยาบางชนิด ก็อาจทำให้หลอดเลือดตีบหนัก เป็นอันตรายได้ เช่น ขาขาดเลือดไปเลี้ยง เนื้อตาย ต้องตัดทิ้ง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เป็นต้น

2. สังเกตให้ได้ว่ามีเหตุกำเริบจากอะไรบ้าง แล้วหาทางหลีกเลี่ยง ก็จะช่วยให้อาการห่างหายไปได้ เช่น อย่าอดนอน อย่ากินอาหารผิดเวลา อย่าโดนแสงจ้า หรือใช้สายตามากเกิน (เช่น เล่นสมาร์ทโฟนหรือคอมพิวเตอร์) อย่าดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อย่ากินยาเม็ดคุมกำเนิด (หากจำเป็นให้เปลี่ยนไปใช้ยาฉีดคุมกำเนิดแทน) เป็นต้น หากเลี่ยงไม่ได้ แล้วกำเริบจนเสียงานเสียการบ่อยมาก ก็ควรปรึกษาแพทย์ แพทย์อาจพิจารณาให้ยามากินป้องกันซึ่งควรกินทุกวันติดต่อกันนาน 3-6 เดือน

 

ขอบคุณเนื้อหาจาก มูลนิธิหมอชาวบ้าน

 

[ads=center]

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: