ระวัง!ทำงานเป็นกะ เสี่ยงเป็น’โรคเมาเวลา’





images (3)

ยุคสมัยนี้เป็นยุคแห่งการแข่งขัน บริษัทหลายๆ แห่งเปิดให้มีการทำงานเป็นกะหรือล่วงเวลามากขึ้น เพื่อหวังที่จะใช้เครื่องจักรและสถานที่ให้คุ้มกับการลงทุน มีคนจำนวนมากที่ทำงานอย่างบ้าคลั่งในขณะที่มีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่มีการพักผ่อนไม่เป็นเวลา เหล่านี้นำมาสู่โรคใหม่ที่ชื่อว่า Social Jet lag หรืออาการเมาเวลาทางสังคม ที่มาจากคำว่า Jet lag ว่าเป็นอาการเมาเวลาเหตุการบิน เกิดจากการนั่งเครื่องบินข้ามโซนเวลาที่ต่างกัน ลักษณะอาการ คืออ่อนเพลียเมื่อยล้า  หรือง่วงเหงาหาวนอนในที่ทำงานซึ่งเกิดจากนาฬิกาชีวิตทำงานผิดเวลาหรือจากตารางเวลาทำงานที่ไม่สอดคล้องกับนาฬิกาชีวิตหรือ Biological Clock ในร่างกายคนเรา

work-life-balance

 

นักวิจัยด้านชีววิทยา Till Roenneberg ผู้นำงานวิจัยเรื่อง Social Jet lag ยกตัวอย่างว่า นาฬิกาชีวิตอาจกำหนดว่าเมื่อเราเข้านอนดึก เราควรตื่นสายเพื่อให้ได้รับการพักผ่อนเต็มที่ แต่นาฬิกาจริงๆ บนโต๊ะหัวเตียง บอกว่าเราต้องตื่นไปทำงานตั้งแต่หกโมงเช้า จึงทำให้ร่างกายเราตอบสนองต่ออาการผิดเวลา ในแบบเดียวกับการเกิด jet lagนอกจากนี้ยังจะพยายามหาความเชื่อมโยงระหว่าง Social Jet lag หรืออาการเมาเวลาทางสังคม กับปัญหาด้านสุขภาพ เช่นโรคอ้วนด้วย

[ads]

Manager working in office at night and drinking coffee at his workplace

นักวิจัยแนะนำว่าในที่สุดแล้วคนทำงานไม่ว่ากะเช้าหรือกะดึก ควรได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่ เพราะยิ่งสดชื่นมากก็ยิ่งทำงานได้ดีขึ้น และที่สำคัญไม่บั่นทอนสุขภาพตนเอง

 

[ads=center]

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: