หยุด! ล้วงคอให้อาเจียน โรคร้ายตามมาเพียบ





มีคนมากมายที่รักในการกิน แต่ไม่รักในการออกกำลังกาย พวกเขามักจะกลัวอ้วนจนต้องทำทุกวิถีทางเพื่อให้สมหวังทั้งเรื่องของการกินและการมีหุ่นที่ดี ทางเลือกที่ว่านี้ ก็คือ “การล้วงคอเพื่อให้อาเจียนเอาอาหารที่เพิ่งทานลงไปออกมา อาหารเหล่านั้นจะได้ไม่ถูกย่อยจนเป็นพลังงานส่วนเกินของร่างกาย” ความร้ายกาจของการล้วงคอไม่ใช่เรื่องธรรมดา แต่มันคือโรคที่ต้องรักษา และต้องแก้ปัญหาที่ตามมาอีกมากมาย คุณหรือคนใกล้ตัวคนไหนที่กำลังทำแบบนี้อยู่ บอกเขาเถอะว่า “เลิกซะ!”

อาการเช่นนี้ เรียกกันว่า “โรคบูลิเมีย (Bulimia nervosa) ซึ่งมีลักษณะของอาการที่เด่นชัดคือ การมีพฤติกรรมการกินที่ไม่สามารถควบคุมปริมาณมากๆได้ในเวลาจำกัด เมื่อทานอาหารเข้าไปแล้วจะรู้สึกผิด จึงพยายามที่จะกำจัดอาหารที่กินออกไปโดยการล้วงคอให้อาเจียน การออกกำลังกายอย่างหักโหม การอดอาหาร การใช้สารอย่างอื่น เช่น ยาระบาย ยาถ่าย ยาขับปัสสาวะ เพื่อที่จะขับอาหารหรือว่าแคลอรีที่รับประทานเข้าไปแล้วให้ออกมา

230.1

ค่านิยมเรื่องการมีหุ่นดีในสังคมไทยทำให้พฤติกรรมที่ว่านี้น่าเป็นห่วงมากยิ่งขึ้น เพราะคนส่วนใหญ่จะมองว่า ยิ่งผอมยิ่งดี จึงส่งผลให้ผู้หญิงหลายคนพยายามคุมน้ำหนักตัวอย่างเคร่งเครียดมากจนเกินไป และเผลอทำพฤติกรรมแบบผิดๆที่เป็นอันตรายร้ายแรงถึงชีวิตได้เลย

ภาวะแทรกซ้อนจากการป่วยด้วยโรคบูลิเมียถือว่าเป็นอันตรายอย่างมากเพราะอาจทำให้เสียชีวิตได้เลย โดยภาวะอาการที่พบบ่อย ได้แก่ ภาวะอิเล็กโตรไลท์ที่ผิดปกติ เช่น ระดับโปรแตสเซียมในเลือดต่ำ คลอไรด์ในเลือดต่ำ ซึ่งถ้าหากผู้ป่วยเดินทางมารักษาไม่ทันก็คงเป็นเรื่องน่าเศร้าสลดเป็นอย่างมาก

230.2

นอกจากนี้ โรคบูลิเมีย ยังจะทำให้เกิดโรคหรืออาการเจ็บป่วยอื่นๆตามมาอีก ได้แก่

1. การฉีกขาดของหลอดอาหารหรือเยื่อบุลำคอ หรือหลอดอาหารอักเสบเรื้อรัง ในระหว่างที่มีการกระตุ้นตัวเองให้อาเจียน

2. เกิดอาการเลือดออกในทางเดินอาหาร

3. เกิดโอกาสฟันผุทั้งปาก เนื่องจากกรดที่ขย้อนขึ้นมาจากกระเพาะอาหารขึ้นมากัดกร่อนอวัยวะในช่องปาก

4. เกิดภาวะไตวาย ในกรณีที่ผู้ป่วยมีการกระตุ้นตัวเองให้อาเจียนหลายๆ ครั้ง จนขาดน้ำ หรือขาดอิเล็กโตรไลท์ที่สำคัญ

5. เกิดโรคขาดสารอาหารแบบต่างๆ

[ads]

การที่คิดจะเลิกวิธีการดังกล่าวนั้นด้วยตัวเองถือเป็นสิ่งที่ดี  เพราะการรักษาโรคนี้ไม่มีคำว่าสายค่ะ แต่ถ้าหากเลิกด้วยตนเองไม่ได้ ขอแนะนำให้คุณลองไปปรึกษาจิตแพทย์ เพราะโรคนี้จิตแพทย์ช่วยได้แน่นอน โดยจะเน้นการรักษาด้านจิตบำบัดและพฤติกรรมบำบัดแบบ Cognitive behavioral psychotherapy (CBT) เพื่อปรับความคิดและมุมมองเรื่องน้ำหนักและภาพลักษณ์ของผู้ป่วย

 

ความต้องการที่จะมีรูปร่างที่สมส่วน สามารถทำได้ด้วยการกินให้เหมาะสม ออกกำลังเป็นประจำ ไม่ยึดติดกับค่านิยมการมีรูปร่างที่ผอมบางจนเกินไป เพราะบางครั้งการที่เรามีรูปร่างที่ผอมมากเกินไป ก็ไม่ได้ทำให้เราดูสวยขึ้นแต่อย่างใดหรอกค่ะ เพียงเท่านี้คุณก็จะมีรูปร่างที่สวยงามได้ดั่งใจ และห่างไกลจากโรคบูลิเมียได้แล้ว

 

ขอบคุณข้อมูลจาก healthyhealthyday.blogspot.com และ visitdrsant.blogspot.com

เรียบเรียงข้อมูลโดย ThaiJobsGov.com

[ads=center]

 

 

 

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: