หนุ่มตั้งกระทู้ปรึกษา พนักงานลาออกไปแล้ว ไลน์มาถาม’ผมได้โบนัสไหม’ ชาวเน็ตชี้ เคยมีคดีตัวอย่างลูกจ้างฟ้องแล้วชนะ เรียกโบนัสได้ด้วย!!





 

หนุ่มแปลกใจ แบบนี้ก็มีด้วยหรอ พนักงานที่เพิ่งลาออกไป ไลน์มาถาม "ผมได้โบนัสไหม" เลยตั้งกระทู้ถามชาวเน็ต เผื่อว่าจะได้ความรู้ใหม่ ๆ บ้างว่าทำได้จริงหรือไม่? เป็นเรื่องที่แปลกจริงหรือไม่?

 

 

ชาวพันทิปหลายคนต่างแสดงความคิดเห็นไปต่าง ๆ นานากัน บางคนก็ชี้ว่ามันเป็นสิทธิที่ลูกจ้างจะถามได้ เพราะเขาก็ไม่รู้ เนื่องจากแต่แรกอาจไม่ได้มีการบอกเงื่อนไขกันไว้

 

 

แต่ความคิดเห็นที่น่าสนใจก็คือ ความคิดเห็นที่ 4 ที่แปะคดีตัวอย่างให้อ่านว่า เคยมีการฟ้องร้องจนชนะคดีกันมาแล้ว

 

ทำเป็นเล่นไป กรณีเงินโบนัสหรือเงินรางวัลพิเศษนี้ หากนายจ้างไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายอย่างชัดเจน แม้ลูกจ้างลาออกไปแล้ว นายจ้างอาจต้องจ่ายเงินดังกล่าวให้แก่ลูกจ้าง กรณีเช่นนี้เคยมีลูกจ้างที่ลาออก ฟ้องเรียกเงินรางวัลพิเศษ ซึ่งจ่ายหลังจากที่ลูกจางลาออกไปแล้ว แถมฟ้องไปแล้ว ศาลฎีกาพิจารณาให้ลูกจ้างชนะเสียด้วย ด้วยเหตุที่ว่านายจ้างไม่มีหลักเกณฑ์การจ่ายที่ระบุว่า ลูกจ้างที่มีสิทธิได้รับเงินรางวัลนี้ต้องมีสถานะเป็นลูกจ้าง ณ วันที่จ่าย ดังนั้นกรณีเช่นนี้ นายจ้างเห็นว่าเป็นเรื่องง่ายๆ แต่ตกมาตายมาแล้วก็มีนะครับ

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3473/2546
ตามหนังสือแจ้งเงินเดือนและเงินรางวัลพิเศษระบุว่า โจทก์มีสิทธิได้รับเงินรางวัลพิเศษโดยมิได้มีหลักเกณฑ์ว่าผู้มีสิทธิได้รับรางวัลพิเศษต้องมีสภาพเป็นพนักงานของจำเลยในวันที่จำเลยจ่ายเงินรางวัลพิเศษ ดังนั้น แม้โจทก์จะลาออกไปในภายหลัง โจทก์ก็ยังมีสิทธิได้รับเงินรางวัลดังกล่าว

โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องเกี่ยวกับระยะเวลาการทำงานเพื่อคิดค่าชดเชยเพิ่มขึ้นนั้น มิใช่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนและมิใช่การแก้ไขข้อบกพร่องหรือข้อผิดพลาดเล็กน้อย เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องหลังจากที่ศาลแรงงานกลางได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทและหลังสืบพยานแล้ว จึงล่วงเลยเวลาที่จะขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 31

ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.วิ.พ. ม. 180
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ม. 31
แหล่งที่มา
สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ชื่อคู่ความ
โจทก์ – นางสาว กัญญา ราชอักษร
จำเลย – บริษัท หลุยส์ ตี. เลียวโนเวนส์ (ประเทศไทย) จำกัด
ชื่อองค์คณะ
รุ่งโรจน์ รื่นเริงวงศ์
พันธาวุธ ปาณิกบุตร
อรพินท์ เศรษฐมานิต
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ที่ตัดสิน

 

ศาลท่านมองว่า มิได้มีหลักเกณฑ์ว่าผู้มีสิทธิได้รับเงินรางวัลพิเศษต้องมีสภาพเป็นพนักงานของจำเลยในวันที่จำเลยจ่ายเงินรางวัลพิเศษดังที่จำเลยให้การต่อสู้ แต่คำตัดสินนี้ตั้งแต่ปี 2544 และหลังจากนั้นเท่าที่ติดตาม ยังไม่มีฎีกาใดมาตีฎีกานี้ แต่หากมีคดีใหม่ฟ้องในช่วงเวลานี้ อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงแนวคำตัดสินก็เป็นได้ครับ

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า "คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ข้อแรกว่า โจทก์มีสิทธิได้รับเงินรางวัลพิเศษจากจำเลยหรือไม่ เพียงใด พิเคราะห์หนังสือแจ้งเงินเดือนและเงินรางวัลพิเศษปี 2544 ที่จำเลยแจ้งแก่โจทก์ตามเอกสารหมาย จ.2 มีข้อความระบุไว้ตอนต้นว่า "บริษัทฯ ขอแจ้งเงินเดือนและเงินรางวัลพิเศษ(Incentive) ประจำปี 2544 ของท่าน ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2544 ดังนี้

เงินเดือน 26,250 บาท
เงินรางวัลพิเศษ (Incentive) 4,630 บาท

บริษัทฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านจะรักษาไว้ซึ่งมาตรฐานการปฏิบัติงานอันดีเช่นนี้ตลอดไป" และได้หมายเหตุไว้ตอนท้ายว่า ระบบเงินรางวัลพิเศษ (Incentive) ในปี 2544ยังคงมีหลักเกณฑ์การคำนวณจ่ายเช่นเดิมตามที่เคยปฏิบัติมา คือ คำนวณจ่ายทุกไตรมาส ทั้งนี้ ยอดที่แจ้งไว้ในหนังสือนี้ คือยอดที่ท่านจะได้รับต่อเดือนซึ่งอาจปรับเปลี่ยนเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามผลการดำเนินงานของหน่วยงานที่ท่านสังกัด อนึ่ง ระบบเงินรางวัลพิเศษนี้อาจมีการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมกับสถานการณ์การดำเนินธุรกิจ เห็นว่าหนังสือแจ้งเงินเดือนและเงินรางวัลพิเศษตามเอกสารหมาย จ.2 ได้ระบุไว้ตอนต้นว่าโจทก์จะได้รับเงินรางวัลพิเศษจำนวน 4,630 บาท ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2544เป็นต้นไป โดยเป็นยอดที่จะได้รับต่อเดือนตามหมายเหตุตอนท้าย และจำเลยยังได้ระบุไว้ด้วยว่าระบบเงินรางวัลพิเศษในปี 2544 ยังคงมีหลักเกณฑ์การคำนวณจ่ายเช่นเดิมตามที่เคยปฏิบัติมา คือคำนวณจ่ายทุกไตรมาส หมายความว่า โจทก์มีสิทธิได้รับเงินรางวัลพิเศษตั้งแต่เดือนมกราคม 2544 เป็นต้นไป โดยคิดให้เป็นรายเดือน เดือนละ 4,630 บาท และจ่ายให้ทุกสามเดือน มิได้มีหลักเกณฑ์ว่าผู้มีสิทธิได้รับเงินรางวัลพิเศษต้องมีสภาพเป็นพนักงานของจำเลยในวันที่จำเลยจ่ายเงินรางวัลพิเศษดังที่จำเลยให้การต่อสู้ เมื่อโจทก์มีสิทธิได้รับเงินรางวัลพิเศษคิดเป็นรายเดือน จึงมีสิทธิได้รับเงินรางวัลพิเศษสำหรับเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม 2544 เดือนละ 4,630 บาท รวม 9,260 บาท ส่วนเดือนกันยายน2544 นั้น โจทก์ทำงานให้แก่จำเลยจนถึงวันที่ 21 กันยายน 2544 ซึ่งเกินกว่าครึ่งเดือนแล้วให้ปัดเศษขึ้นเท่ากับโจทก์ทำงานกับจำเลยครบเดือนจึงมีสิทธิได้เงินรางวัลพิเศษจำนวน4,630 บาท รวมแล้วโจทก์มีสิทธิได้รับเงินรางวัลพิเศษทั้งสิ้นจำนวน 13,890 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยตามกฎหมาย ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาว่า โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินรางวัลพิเศษจากจำเลยนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย อุทธรณ์ของโจทก์ข้อนี้ฟังขึ้น

 

ถ้าหากถามผม ผมให้ความเห็นในเชิงข้อกฎหมายว่า โบนัสดังกล่าวที่ไม่ได้กำหนดรูปแบบวิธีการ วันเวลาที่จะจ่าย ลักษณะการจ่ายที่ชัดเจน เป็นเพียงการกระทำต่อๆกันมานั้น ยังไม่ถือเป็นสภาพการจ้าง เป็นเพียงการจ่ายให้ตามความพึงพอใจของนายจ้าง (รายละเอียดดังกล่าวแตกต่างจากแนวคำตัดสินศาลฎีกาที่มีการวางจำนวนเงินไว้อย่างชัดเจน เพียงแต่ไม่ระบุวันจ่าย) ดังนั้นในกรณีของท่านลูกจ้างค่อนข้างเสียเปรียบเนื่องจากโบนัสไม่มีหลักเกณฑ์ใดๆครอบไว้เลย

 

ถือว่าเป็นกระทู้หนึ่งที่น่าสนใจมากทีเดียวสำหรับมนุษย์เงินเดือนที่ควรรู้ไว้ เพราะนี่คือสิทธิที่เรียกร้องได้

((คลิกที่นี่เพื่ออ่านเพิ่มเติมจากลิ้งค์ต้นเรื่อง))

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: