ต้องพร้อมทำงาน! ตร.ภาค1 สั่ง134โรงพัก ให้สิบเวรตีระฆังทุก1ชั่วโมง ป้องกันการหลับเวร!(มีคลิป)





 

รรท.ผบช.ภ.1 สั่งการให้สถานีตำรวจในสังกัด 134 แห่ง ให้สิบเวรตีระฆังทุก 1 ชั่วโมง ป้องกันการหลับเวร พร้อมปักกลดนอนในพื้นที่แก้ปัญหาชุมชน

พล.ต.ต.อำพล บัวรับพร รรท.ผบช.ภ.1 และพล.ต.ต.กรไชย คล้ายคลึง รอง ผบช.ภ.1พร้อมคณะลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโครงการประชารัฐร่วมใจ ต้านภัยยาเสพติด (ปักกลด) และโครงการระฆังทอง ในจังหวัดนนทบุรี พร้อมตรวจเยี่ยมการทำงานของ สภ.เมืองนนทบุรี สภาพความเป็นอยู่ของข้าราชการตำรวจ รวมทั้งให้เแนวความคิดโครงการระฆังทองที่มีการสั่งให้ทุกสถานีตำรวจภูธรสังกัดภาค 1 จำนวน 134 สถานี มีการติดตั้งระฆังไว้ที่ด้านหน้าสถานี และให้สิบเวรต้องตีระฆังทุกๆ 1 ชม. มีการจำกัดความดังของเสียงให้อยู่ภายในสถานี เพื่อเป็นกุศโลบายอย่างหนึ่งว่าตำรวจที่เข้าเวรต้องไม่หลับเวร ต้องตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา และมีตำรวจประจำสถานี เป็นการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่จะมาแจ้งความร้องทุกข์

 

 

นอกจากนี้ ได้ลงพื้นที่ชุมชนวัดนครอินทร์ พื้นที่ สภ.เมืองนนทบุรี และชุมชนประเสริฐอิสลาม พื้นที่ สภ.ปากเกร็ด ตามโครงการปักกลด ที่ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจลงไปอาศัยอยู่ในชุมชนกับชาวบ้านเพื่อศึกษาข้อมูลของแต่ละชุมชน วิเคราะห์ปัญหา ออกพบปะชาวบ้าน โดยให้ประชาชนในชุมชนเป็นผู้ให้ข้อมูลแหล่งยาเสพติดและปัญหาอาชญากรรม รวมทั้งแจ้งข่าวสารให้กับตำรวจ เพื่อนำมาวางแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาให้ตรงจุดเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนนั้น เป็นชุมชนสีขาวปลอดยาเสพติด

พล.ต.ต.อำพล บัวรับพร รรท.ผบช.ภ.1 กล่าวว่า โครงการระฆังทอง เป็นกุศโลบายให้ตำรวจอยู่ประจำโรงพัก ไม่หลับเวลาเข้าเวร เรื่องตีระฆังก็ตีตามเวลาทุกชั่วโมง หลังจากตีเสร็จก็ให้เดินตรวจรอบๆสถานีด้วย เป็นการตรวจความเรียบร้อยและระวังเหตุไม่ให้ผู้ต้องหาหลบหนีหรือทำร้ายตัวเองด้วย อีกทั้งเมื่อประชาชนมาแจ้งความก็มีตำรวจอยู่สถานี ไม่ใช่มาแล้วไม่มีตำรวจอยู่ ถ้าไม่มีก็ให้ประชาชนตีระฆังเรียกได้เลย แล้วถ้าสถานีไหนประชาชนต้องตีระฆังเรียกตำรวจ ตนจะดำเนินการกับสถานีนั้น

 

 

สำหรับโครงการปักกลด นั้นเป็นการให้ตำรวจเราเข้าไปสัมผัสกับชาวบ้าน รู้ถึงปัญหาที่แท้จริงว่าในชุมชนนั้นๆมีปัญหาด้านไหนบ้าน โดยเฉพาะปัญหาเรื่องยาเสพติด ต้องไม่ให้มีในพื้นที่ โดยให้หาข้อมูลรายละเอียดแหล่งจำหน่ายหรือต้นตอยาเสพติดมา เพราะชาวบ้านรู้ดีที่สุด ลูกหลานใครติดยาก็นำมาทำการรักษา เป็นการป้องกันอาชญากรรมอื่นๆที่จะเกิดขึ้นตามมาด้วย เพราะเมื่อมียาเสพติด ติดยา ไม่มีเงินก็นำไปสู่อาชญากรรมอื่นๆตามมา

 

 

 

ดังนั้น ตำรวจที่ลงไปอาศัยกับชาวบ้านต้องสร้างความไว้วางใจให้กับคนในชุมชน ปรึกษาปัญหาต่างๆได้และนำไปสู่แนวทางแก้ไขให้ดีขึ้น ถ้าปัญหาใหญ่มากเจ้าหน้าที่ตำรวจจะได้นำปัญหานั้นกลับมาวิเคราะห์กับผู้บังคับบัญชา ส่งทีมสืบสวนและติดตามหาทางจัดการต่อไป

ข่าวจาก : workpointnewsตะลุยข่าว 4 ภาคสภ.ช้างใหญ่

 

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: