คนผ่อนบ้านต้องรู้! แชร์วิธีเลือกธนาคารรีไฟแนนซ์บ้าน ลดดอก ลดเวลาผ่อนบ้านได้เยอะ!





 

เรื่องโดย : สมาชิกหมายเลข 3809877
เว็บไซต์ : https://pantip.com/topic/36635514

สวัสดีค่ะ หนี้สินเป็นเรื่องใหญ่จริงๆ สำหรับใครหลายๆคน โดยเฉพาะการซื้อบ้านหรือรถ ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เลยที่จะต้องกู้ เอาจริงๆเราเพิ่งรู้จักการรีไฟแนนซ์หลังจากผ่อนบ้านไปแล้วเกือบ 4 ปี ถ้าไม่มีเพื่อนบอกก็ไม่รู้ จักจริงๆค่ะ เพราะคนรอบตัวก็ไม่ได้ทำการรีไฟแนนซ์ ผ่อนไปเรื่อยๆยาวๆจนหมด จากที่ได้ไปลองคุยกับพี่ที่ ทำงานมาก็ได้รู้ประโยชน์ของการรีไฟแนนซ์บ้านว่ามันช่วยให้เราประหยัดเงินได้จริงๆค่ะ    

กระทู้นี้เลยอยากจะมาแชร์เรื่องการเลือกธนาคารรีไฟแนนซ์บ้านจากประสบการณ์ที่เราศึกษาหา ข้อมูลมาระยะนึง ซึ่งเชื่อว่ามีหลายคนรู้ และมีอีกหลายคนที่ยังไม่รู้ (แต่ก่อนก็เราแล้วคนนึง)  

รีไฟแนนซ์คือการเปลี่ยนเจ้าหนี้ หรือจะเรียกว่า หาเจ้าหนี้ใหม่ที่เราต้องจ่ายดอกน้อยกว่าก็ได้ ลองดู รูปที่เราแนบไว้ อันนี้คือของเราผ่อนเดือนละ 20,000 เหมือนเดิม ดอกลดจาก 6.25%เป็น 4% จะเห็นได้เลย ว่าถ้ารีไฟแนนซ์จะจ่ายดอกน้อยลงไปเลยเกือบ 7 หมื่น นี่แค่ปีเดียวนะคะ 

 

 

ประโยชน์คือเราอาจผ่อนบ้านหมดได้ไวขึ้น อาจรวมไปถึงได้ระยะเวลาที่ยาวขึ้นด้วย (แล้วแต่ข้อเสนอ แต่ละธนาคาร) นอกจากนี้ยังได้เงินมาหมุน. . . . หมุนยังไง ลองอ่านๆไปก่อนนะคะ ตอนแรกเราก็ งง เดี๋ยวจะ มาพูดถึงอีกทีในตอนท้ายๆดีกว่า  

เรารีไฟแนนซ์กับใครได้บ้างคะ ตอบ >> มีแค่ธนาคารเนี่ยแหละ ประสบการณ์ส่วนตัวที่เราเจอ+รับฟังมา แบงค์ที่ปล่อยกู้ซื้อที่อยู่อาศัยหรือเน้นเกี่ยวกับการ Refinance ที่น่า สนใจจะเป็น ธนาคารทหารไทย(TMB) ธนาคารยูโอบี(UOB) ซีไอเอ็มบีไทย (CIMB) และ ธนาคารกรุงศรี  กลุ่มนี้โปรโมชั่นค่อนข้างดีเลยค่ะ ดอกเบี้ยประมาณ 3 นิดๆ นอกเหนือกว่านี้ ต้องเปรียบเทียบโปรจากที่ ต่างๆดูอีกทีค่ะ    

ทีนี้มาพูดถึงการเปรียบเทียบข้อเสนอจากธนาคารต่างๆ แค่คิดก็อยากกรี๊ดเป็นภาษาเกาหลีดังๆแล้วค่ะ 

มาลองอ่านกันก่อนแล้วกัน เดี๋ยวเราจะแนะนำว่าเราเจอวิธีอะไรมาบ้างค่ะ 

1) โทรไปถาม  

– อันนี้เป็นวิธีแรกที่เราทำ แต่ควรทำใจไว้ก่อนซักนิดนึงนะคะ หรืออาจเป็นช่วงเวลาเหลือจากจิบน้ำชา ยามบ่ายวันเสาร์ เพราะถ้าคุณโทรวันธรรมดา กว่าจะโอนสายไปมา ถามข้อมูล บางทีเจอพนักงาน อธิบายไม่ชัดเจน จากที่ งง แล้ว งงหนักกว่าเดิมอีกค่ะ ความยากลำบากคือ การที่ต้องรับข้อมูลแล้ว ต้องทำความเข้าใจกับสิ่งที่ค่อนข้างซับซ้อนและมีเงื่อนไขมากมายผ่านทางโทรศัพท์ บางทีพนักงาน ก็พูดเร็วเหลือเกิน เลยต้องจดเท่าที่จะฟังทัน มาดูตอนหลัง งงเองอีก ! บอกเลยค่อนข้างลำบากค่ะวิธี นี้ คือถ้าไม่ใช่คนที่มีประสบการณ์หรือรู้เรื่อง รู้ข้อมูลพวกนี้อยู่แล้ว ไม่แนะนำเลยค่ะ หัวร้อนมาก แค่ รอสายโอนไปมา กว่าจะได้พูดกับคนก็เสียเวลาเป็น 10 นาทีแล้วค่ะ  

– ปัญหาที่เจอหลังจากโทรไปแล้ว คือเวลาเราจดข้อมูล จะต้องใช้เวลาระยะนึงเลย ผูกข้อมูลว่าอะไร เทียบกับอะไร บางธนาคารใช้ MLR – MRR บางทีจดผิด บางทีจดไม่ครบ 

หลังจากที่โทรไปก็รู้สึกว่าเปลี่ยนวิธีดีกว่า  

2)   เดินตะลุยตามธนาคาร 

 

 

ที่โทรไปแล้วรู้สึกว่าคุยแบบเห็นหน้าน่าจะเข้าใจกว่า เราเลยเลือกที่จะเดินเข้าธนาคารค่ะ เราขอ แนะนำให้ไปห้างที่มีธนาคารติดกัน โชคดีว่าที่ทำงานเราอยู่ใกล้ห้างเลยไปหลังเลิกงานได้พอดี เรา

แนะนำให้หาช่วงเวลาที่คนน้อย เราจะได้มีเวลาคุยหรือสอบถามเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับรายละเอียดต่างๆ ได้ วิธีนี้ก็ใช้เวลาไม่แพ้กันค่ะ แต่อย่างน้อยคุยกันต่อหน้าก็เข้าใจมากกว่าที่จะจดข้อมูลลงกระดาษ บางธนาคารก็ไม่ค่อยรับแขกหรือไม่มีการเตรียมพร้อมจริงๆค่ะ เอาเศษกระดาษเขียนให้ (ใบที่อยู่ ขวามือของรูป)

– บางทีเราอาจต้องไปธนาคารเดิมถึง 2-3 รอบเพราะคนที่เราไปถามข้อมูลมีความรู้ไม่มากพอ ช่วง ไหนเจอผู้จัดการก็จะโชคดีหน่อย หรือบางทีก็ได้แค่ A4 ปริ้นขาวดำกลับมา โอเคขึ้นมาหน่อยก็เป็น โบชัวร์ แต่ที่ต้องการจริงๆคือคนให้ข้อมูลได้ถูกต้อง แล้วจบ ไม่ใช่ถามหลายๆรอบแล้วมีเพิ่มเติม เรื่อยๆ  และยกตัวอย่างง่ายๆให้คนทั่วไปเข้าใจ (ไม่รู้เพราะเราไม่ค่อยฉลาดรึเปล่าแต่มันเหมือนการ พูดศัพท์เทคนิคกับคนที่ไม่รู้เรื่องค่ะ ใครที่เคยคุยกับกราฟิค หรือบัญชีจะพอเข้าใจ บางคนอธิบาย ยาก แต่ไม่ใช่ทุกคนนะคะ ออกตัวก่อนเดี๋ยวมาดราม่ากันอีก) เพราะเกือบทุกครั้งต้องรอคิวแสนนาน ราวกับรอซากกระดูกไดโนเสาร์ทับถมให้กลายเป็นน้ำมัน (อันนี้ก็เวอร์ไป) แต่มันนานแล้วน่า หงุดหงิดจริงๆค่ะ นอกจากนี้ยังต้องมาทำความเข้าใจรายละเอียดต่างๆ ในแผ่นที่มีข้อมูลค่อนข้าง เยอะ แต่หลังๆจะค่อยๆคุ้นชิน และเก่งขึ้นเองค่ะ 

– ต่อมาจากการหาข้อมูล ก็ต้องมาเลือกว่าธนาคารไหนดีสุด สุดท้ายได้ข้อมูลมา ไม่ว่าจะจากการโทร ไป หรือการเดินเข้าธนาคาร ก็นั่งปวดหัวกับข้อมูลที่ได้มา เอาโบชัวร์ที่ได้มา มากางดู กระดาษที่จด มาก็อ่านไม่ออกแล้ว บางทีจดไม่ครบ ถามไม่ครบ ได้มาแล้วก็ต้องมาคำนวณ เปรียบเทียบ ไม่รู้จะ เปรียบเทียบยังไงอีก   ด้วยปัญหา 108 1009 และความหงุดหงิดที่ได้จากข้อ 1 และข้อ 2 จบลง เพราะวิธีต่อไปนี้จะช่วยให้ ประหยัดเวลาได้เยอะขึ้นมากค่ะ 

3) 3rd party ที่ช่วยเลือกธนาคาร refinance  ตอนแรกเข้าใจว่าเป็นสถาบันที่ช่วยปล่อยกู้ให้ซื้อบ้านนอกจากธนาคาร แต่จริงๆไม่ใช่ค่ะ พวกบริษัทพวกนี้ คือ เป็นตัวกลางในการให้ข้อมูล หรือช่วยเราคุยกับ bank แต่ก็จะมีข้อดีแตกต่างกันไป  เท่าที่ลองหาจะเจอ Refinn FINSTREET CLS เจ้าตัวหลังนี่อยู่มานานหน่อย 

 

 

กระทู้นี้จะขอเปรียบเทียบ Refinn กับ FINSTREET แล้วกันค่ะเพราะลองใช้แล้วรู้สึกว่าใช้ง่ายกว่า

 

 

เรามาเริ่มกันที่ Refinn กันค่ะ  

– Refinnเป็นเว็บไซต์ ที่ใช้คำนวณเปรียบเทียบโปรโมชั่นจากธนาคารต่างๆ ข้อมูลชัดเจน www.refinn.com 

– การใช้งานคือ กรอกข้อมูลสินเชื่อ หลังจากกรอกข้อมูลต่างๆครบหมดแล้วก็จะเห็นโปรโมชั่นจาก ธนาคารต่างๆ แต่จะไม่เห็น3อันดับแรกนะคะว่าธนาคารอะไร จะไปรู้ก็ตอนเค้ายื่นเรื่องให้แล้วค่ะ  

– พอเลือกสมัครสินเชื่อแล้ว, Refinn จะเป็นคนจัดการเอกสาร ดำเนินเรื่องกับธนาคารให้ค่ะ

 

 

อีกตัวที่เจอมาจากเพจบนเฟสบุ๊ก ก็คือ FINSTREET 

– ของฟินสตรีท เป็นการแชทบน Facebook messenger http://m.me/FinstreetOfficial เหมือนคุยตอบ คำถาม หาข้อมูลและเปรียบเทียบได้เลยไปในตัวสะดวกดีค่ะ  

– ข้อดีของตัวนี้คือรู้ข้อเสนอทั้งหมดของแต่ละธนาคารทันทีโดยที่ไม่ต้องให้ข้อมูลเยอะ บอกแค่ ยอดกู้คงเหลือเท่าไหร่ ผ่อนอยู่เดือนละเท่าไหร่ ต้องผ่อนอีกกี่ปี อื่นๆอีกนิดหน่อย 

– สุดท้ายคือจะเลือกส่งข้อมูลให้ธนาคารไหนบ้างก็แล้วแต่เรา ทำให้สามารถต่อรองเพิ่มเติมกับธนาคารเอง ได้เปิดโอกาสให้เราได้ข้อเสนอที่ดีขึ้นค่ะ (แล้วแต่ทักษะการเจรจาส่วนตัวกับเพดานของธนาคารค่ะ)  

หลังจากที่ลองมาหลายวิธี ก็รู้สึกขอบคุณที่โลกนี้มีอินเตอร์เนต เจ้า 3rd party นี้แหละทำให้ชีวิตง่ายขึ้น เยอะค่ะ ไม่ต้องเดินดุ่ยๆไปรอคิวตามธนาคาร หรือโทรจนหูร้อน ทำให้เราย่นระยะเวลาหาข้อมูล เปรียบ เทียบธนาคารจากเกือบอาทิตย์เหลือแค่ไม่กี่นาทีแล้วก็สมัครได้เลย ที่สำคัญใช้งานฟรีค่ะ บอกเลยว่าฟิน!   คหสต เราว่า FINSTREET ใช้ง่ายกว่า เป็นแบบถามตอบไม่ต้องกรอกข้อมูลเยอะตามที่ว่าค่ะ แต่จะแนะนำ จริงๆก็ลองให้หมดนั่นหละ ต้องวัดกันที่ข้อเสนอจากธนาคารไหนจะดีกว่า อาจเป็นลดดอก ปีผ่อนเท่าเดิม หรือ เพิ่มปี แล้วแต่เราเลยค่ะ 

– – – – –  

หลังจากได้ข้อเสนอที่เราชอบแล้ว ก็ลองใช้สูตร Excel นี้คำนวณก็ได้  ว่าเราจะจ่ายน้อยลงเท่าไหร่ เป็นไฟล์เดียวกับที่เราใช้คำนวณแนบรูปตอนต้นค่ะ ต้องขอบคุณ คนที่ทำ และคนแบ่งปันไฟล์นี้ด้วยนะคะ เราขอโทษด้วยที่จำไม่ได้ว่าเอามาจากไหน แสดงตัวได้ นะคะ จะได้ใส่เครดิตให้ (^^)  
https://drive.google.com/open?id=0B6FPVUN0rTtgMzRtN0pGRmNvSlU

หลังจากเลือกได้แล้วว่าข้อเสนอธนาคารไหนน่าทำรีไฟแนนซ์ด้วย ก็จะมีค่าใช้จ่ายเล็กน้อย  เราเห็นบางกระทู้บอกว่ารีไฟแนนซ์ไม่คุ้ม แต่เอาจริงๆ ถ้าได้ลดดอก คิดยังไงมันก็คุ้ม (-.-“) ค่าใช้จ่ายต่างๆจะมีประมาณนี้ค่ะ ขาดตกบกพร่องยังไง รบกวนเสริมได้เลยนะคะ  

– ค่าจดจำนอง 1% จากยอดกู้ แต่ไม่เกิน 2 แสนบาท 

– ค่าประเมินทรัพย์สิน (ถ้าบ้าน ราคาเพิ่มในอนาคต ตอนรีไฟแนนซ์ ทำให้เรากู้ได้เยอะขึ้น เอาตังมาหมุนไป ลงทุน ไปทำอย่างอื่นได้ ) 

– อากรแสตมป์ 0.05% ของวงเงินกู้ใหม่ 

– ค่าประกันอัคคีภัย อันนี้น่าจะบอกไม่เอาได้มั้ง บางธนาคารจะมีโปรโมชั่น ฟรีค่าจดจำนอง ค่าประเมินด้วยนะคะ ต้องลองดูรายละเอียดค่ะ 

*** ก่อนจะจากกันไป ฝากเรื่องกู้สั้น กู้ยาว  

บางคนเลือกที่จะกู้สั้น เพราะสุดท้ายจ่ายน้อยกว่า แต่อย่าลืมเผื่อเงินไว้ยามฉุกเฉินด้วยนะคะ เพราะ ถ้าจ่ายไม่ทัน ดอกจะเด้งงงงง เคยเห็นน้องที่บริษัทโดน สงสารเลยค่ะ  แนะนำว่า กู้ยาว ผ่อนน้อยแล้วมีตังเอา ไปโปะ เร็ว + ไม่กดดันมากด้วยค่ะ    

สุดท้ายแล้วววววว   

ใครมีเคล็ดลับดีๆ มาแบ่งปันกันได้เลยนะคะ เรานึกถึงตัวเองตอนต้องศึกษาเองแรกๆ ถึงจะพอมีคน แนะนำ แต่ก็ยัง งงๆ อยากให้เป็นอีกกระทู้นึงที่คนอ่านแล้วเข้าใจมากขึ้น  อย่างครอบครัวเราก็ ผ่อนโปะ ผ่อนโปะ แต่ไม่รู้จักการรีไฟแนนซ์ เสียดายอยู่เหมือนกันค่ะ คิดแล้วเอาตังไป ทำอย่างอื่นได้อีก  สำหรับกระทู้นี้คงหมดเรื่องเท่านี้ค่ะ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยสำหรับคนที่หลงเข้ามา (>,,<) แล้วเจอกันใหม่ค่าาาา

คลิกที่นี่เพื่ออ่านเพิ่มเติมจากลิ้งค์ต้นเรื่อง

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: