คนไทยไม่กลัวกฎหมาย? ตำรวจเผยข้อมูลสุดอึ้ง จากสถิติใบสั่งทางไปรษณีย์13ล้าน พบคนมาจ่ายแค่2ล้าน ยอมรับปัญหาส่วนหนึ่งคือระบบยังไม่เชื่อมขนส่งโดยสมบูรณ์





 

จ่ายค่าปรับแค่ 2 ล้านเศษ โดยใบสั่งที่ส่งทางไปรษณีย์ 11 ล้านใบไม่มีคนกลัว โดนเบี้ยวถึง 88%

พล.ต.ท.ไกรบุญ ทรวดทรง ผู้บัญชาการสำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) ประธานคณะทำงานติดตามผลบูรณาการแก้ไขปัญหาการจราจรในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล กล่าวว่าจากสถิติใบสั่งในระบบพีทีเอ็ม (PTM-Police Ticket Management) ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งเป็นระบบจัดการใบสั่งผู้กระทำผิดกฎจราจร ที่มีข้อมูลการออกใบสั่งทั่วประเทศ

พบว่าผลการบันทึกข้อมูลล่าสุดถึงเมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2561 มีการออกใบสั่งรวม 13,515,036 ราย ชำระค่าปรับ 2,338,968 ราย โดยยังมีใบสั่งของผู้กระทำความผิดที่ค้างชำระ 11,176,068 ราย คิดเป็นการค้างชำระร้อยละ 83

ทั้งนี้ ประเภทใบสั่งแยกเป็น 1. แบบเล่ม สามารถจับกุมผู้กระทำความผิดและบันทึกในระบบ มีจำนวน 2,311,023 ราย ชำระค่าปรับ 973,262 ราย ค้างชำระค่าปรับ 1,337,761 ราย คิดเป็นร้อยละ 58 2. แบบส่งทางไปรษณีย์ จำนวน 11,204,013 ราย ชำระค่าปรับ 1,365,706 ราย ค้างชำระ 9,838,307 ราย คิดเป็นร้อยละ 88 ซึ่งจากสถิติดังกล่าวพบว่ามีผู้กระทำความผิดที่ได้รับใบสั่งไม่มาชำระค่าปรับจำนวนมาก เพราะประชาชนอาจจะไม่เกรงกลัวกฎหมายเนื่องจากการเชื่อมระบบกับกรมการขนส่งทางบกเพื่ออายัดการต่อทะเบียนรถผู้ที่ไม่มาชำระค่าปรับยังไม่แล้วเสร็จ

พล.ต.ท.ไกรบุญ กล่าวว่า ตนได้สั่งการให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ประสานกับ กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) เพื่อเร่งรัดการเชื่อมฐานข้อมูลระบบใบสั่งออนไลน์ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพราะตามหลักการคนที่ได้รับใบสั่งหากไม่มาชำระค่าปรับเมื่อนำรถไปต่อภาษีประจำปีจะถูกอายัดทันที แต่ขณะนี้ยังติดปัญหาการเชื่อมโยงข้อมูลของทั้งสองหน่วยงานที่ยังไม่สามารถดำเนินการให้เรียบร้อย รวมทั้งยังมีปัญหาระเบียบการส่งเงินค่าปรับของกรมการขนส่งทางบกและ สตช.ยังไม่ตรงกัน ซึ่งจะต้องมีการปรับแก้ไขรายละเอียด

โดยตนได้กำชับให้เร่งดำเนินการให้เร็วที่สุด เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและลดปัญหาประชาชนไม่ยอมมาชำระค่าปรับ ซึ่งการที่ไม่สามารถบังคับต่อผู้กระทำความผิดได้ส่งผลให้การขับขี่โดยไม่เคารพกฎหมาย ทำผิดวินัยจราจรยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และในที่สุดก็ส่งผลให้ท้องถนนไม่ปลอดภัยตามมา จึงต้องเร่งรัดการเชื่อมข้อมูลให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว

ข่าวจาก : sanook.com, ไทยรัฐออนไลน์

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: