รู้ไว้ใช่ว่า! ข้าราชการท้องถิ่น ระดับชำนาญการ ใช่ว่าจะได้รับเงินประจำตำแหน่ง3,500บาททุกคน! ต้องดูวิชาชีพด้วย!





 

ในระบบแท่งของท้องถิ่นนั้น ได้กำหนดให้ข้าราชการ สายวิชาการ ระดับชำนาญการ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราเดือนละ 3,500 บาท แต่ใช่ว่าจะได้รับในทุกตำแหน่ง ก กลางได้กำหนดตำแหน่งต่างๆออกตามประเภทวิชาชีพไว้ ให้มีคุณสมบัติที่จะมีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่ง ดังนี้

ข้าราชการท้องถิ่นที่จะได้รับเงินประจำตำแหน่ง คือ
ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะ (วช.) มีดังต่อไปนี้
วิชาชีพเฉพาะกายภาพบำบัด
วิชาชีพเฉพาะการทันตแพทย์
วิชาชีพเฉพาะการพยาบาล
วิชาชีพเฉพาะการแพทย์
วิชาชีพเฉพาะการสัตวแพทย์
วิชาชีพเฉพาะเภสัชกรรม
วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมเครื่องกล
วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมไฟฟ้า
วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมโยธา
วิชาชีพเฉพาะสถาปัตยกรรม
วิชาชีพเฉพาะรังสีการแพทย์
วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมชลประทาน
วิชาชีพเฉพาะวิทยาการคอมพิวเตอร์
วิชาชีพเฉพาะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
วิชาชีพเฉพาะนิติการ

จะเห็นได้ชัดเจนว่า "นักทรัพยากรบุคคลฯ – นักพัฒฯ – นักวิชาการศึกษา – นักวิเคราะห์ฯ เป็นต้น" ถึงแม้จะอยู่ในระดับชำนาญการ ก็ไม่มีสิทธิได้รับเงินประจำแหน่ง

ตำแหน่งที่จะได้รับเงินประจำตำแหน่ง ชัดเจนเลย คือ
– นายแพทย์
– ทันตแพทย์
– พยาบาล
– เภสัชกร
– วิศวกรโยธา
– วิศวกรไฟฟ้า
– สถาปนิก
– นิติกร
ฯลฯ
ตำแหน่งเหล่านี้ หากมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ ก กลาง ท้องถิ่น กำหนดไว้ ก็มีสิทธิจะได้รับเงินประจำตำแหน่ง

แต่อย่างไรก็ตาม ข้าราชการที่ดำรงตำแหน่งระดับชำนาญการ (สายวิชาชีพ) จะได้รับเงินประจำตำแหน่งหรือไม่นั้น ต้องอยู่บนพื้นฐานของ "ระยะเวลา 2 ปีด้วย" มิใช่ปรับแท่งเป็นชำนาญการแล้วจะได้เงินประตำแหน่งเลย เว้นแต่ว่า ท่านเคยดำรงตำแหน่งซี 6 มาแล้วอย่างน้อย 2 ปี ก็จะได้รับทันที

ดังนั้น เมื่อสายวิชาชีพ ซี 6 เดิม เข้าแท่งเป็นชำนาญการแล้ว ก็ต้องดูระยะเวลาของเดิม (ที่ครอง 6 มา) บวกกับระยะเวลาใหม่ (ชำนาญการ) ให้ครบ 2 ปี ก่อนจึงจะได้รับเงินประจำตำแหน่ง

 

 

 

คลิกที่นี่เพื่ออ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเงินประจำตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ

คลิกที่นี่เพื่ออ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเงินประจำตำแหน่งของพนักงานส่วนท้องถิ่น

ข้อมูลจาก : thailocalmeet.com, สำนักงาน ก.พ.local.moi.go.th

 

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: