‘แอมเนสตี้ไทย’ประณาม! ประหารนักโทษเป็นเรื่องน่าละอาย เหตุกรมราชทัณฑ์ตัดสินให้ฉีดยานักโทษฆ่าชิงทรัพย์เมื่อวานนี้!





 

จากข่าวการประหารนักโทษชิงทรัพย์ ซึ่งเป็นการประหารครั้งแรกในรอบ 9 ปีเป็นที่ฮือฮากันเมื่อวานนั้น

อ่านข่าวย้อนหลัง : ประหารครั้งแรกในรอบ9ปี! กรมราชทัณฑ์ตัดสินฉีดยาพิษประหารชีวิตนักโทษคดีฆ่าชิงทรัพย์ นับเป็นการประหารด้วยฉีดยาคนที่7ของไทย

ล่าสุด (เวลา 10.26 น.ของวันที่ 19 มิ.ย.61) เพจ Amnesty International Thailand ซึ่งเป็นกลุ่มนักสิทธิมนุษยนชน ก็แถลงประณามการกระทำดังกล่าว โดยระบุว่า…

“ไม่มีหลักฐานใดๆ ว่าโทษประหารจะส่งผลให้บุคคลยั้งคิดก่อนกระทำความผิดอย่างชัดเจน การที่ทางการไทยคาดหวังว่ามาตรการเช่นนี้จะช่วยลดการก่ออาชญากรรม จึงเป็นความเข้าใจผิดอย่างยิ่ง โทษประหารนับเป็นการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม และย่ำยีศักดิ์ศรีมากสุด ทั้งไม่ได้เป็น “คำตอบสำเร็จรูป” ที่ช่วยแก้ปัญหาที่ทางการต้องการแก้ไขอย่างรวดเร็ว

หลังผ่านไปเกือบ 10 ปีที่ไม่มีการประหารชีวิต การประหารชีวิตครั้งนี้นับเป็นความถดถอยสำคัญในเส้นทางไปสู่การยกเลิกโทษประหารชีวิตของไทย รัฐบาลไทยต้องยุติแผนการใด ๆ ที่จะประหารชีวิตประชาชนอย่างต่อเนื่อง และจัดทำความตกลงชั่วคราวเพื่อยุติการใช้โทษประหารชีวิต”

อ่านแถลงการณ์ฉบับเต็มได้ที่นี่ https://bit.ly/2I0VeMP

 

"เราไม่ได้อ่อนข้อ หรือยกโทษให้กับผู้กระทำความผิด ผู้กระทำความผิดต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม (ที่เป็นธรรม) แต่เราเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบ / วิธีการลงโทษผู้กระทำความผิด"

 

 

 

แอมเนสตี้ชี้การประหารชีวิตในรอบ 9 ปีของไทยเป็นการกระทำที่น่าละอายอย่างยิ่ง

19 มิถุนายน 2561

สืบเนื่องจากรายงานข่าวว่า ทางการไทยได้ประหารชีวิตชายอายุ 26 ปีในคดีฆ่าผู้อื่นอย่างทารุณ ซึ่งนับเป็นการประหารชีวิตครั้งแรกในประเทศนับแต่เดือนสิงหาคม 2552

 

แคทเธอรีน เกอร์สัน เจ้าหน้าที่ฝ่ายรณรงค์ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเผยว่า เรื่องนี้นับเป็นการละเมิดสิทธิที่จะมีชีวิตรอดอย่างน่าละอาย เป็นเรื่องน่าตกใจที่ประเทศไทยละเมิดต่อพันธกิจที่เคยประกาศไว้ว่า จะเดินหน้าไปสู่การยกเลิกโทษประหาร และการปกป้องสิทธิที่จะมีชีวิตรอด ทั้งยังเป็นการทำตัวไม่สอดคล้องกับกระแสโลก ซึ่งกำลังมุ่งหน้าออกจากโทษประหาร

 

“ไม่มีหลักฐานใดๆ ว่าโทษประหารจะส่งผลให้บุคคลยั้งคิดก่อนกระทำความผิดอย่างชัดเจน การที่ทางการไทยคาดหวังว่ามาตรการเช่นนี้จะช่วยลดการก่ออาชญากรรม จึงเป็นความเข้าใจผิดอย่างยิ่ง โทษประหารนับเป็นการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม และย่ำยีศักดิ์ศรีมากสุด ทั้งไม่ได้เป็น “คำตอบสำเร็จรูป” ที่ช่วยแก้ปัญหาที่ทางการต้องการแก้ไขอย่างรวดเร็ว  

 

หลังผ่านไปเกือบ 10 ปีที่ไม่มีการประหารชีวิต การประหารชีวิตครั้งนี้นับเป็นความถดถอยสำคัญในเส้นทางไปสู่การยกเลิกโทษประหารชีวิตของไทย รัฐบาลไทยต้องยุติแผนการใด ๆ ที่จะประหารชีวิตประชาชนอย่างต่อเนื่อง และจัดทำความตกลงชั่วคราวเพื่อยุติการใช้โทษประหารชีวิต”

 

นับเป็นการประหารชีวิตครั้งแรกของไทย หลังจากมีการประหารชีวิตด้วยการฉีดยาต่อนักโทษชายสองคนเมื่อเดือนสิงหาคม 2552 ซึ่งก่อนหน้านั้นก็ไม่มีการประชีวิตบุคคลเลยตั้งแต่ปี 2546 จากตัวเลขของกระทรวงยุติธรรมระบุว่า จนถึงสิ้นปี 2560 มีนักโทษประหารอยู่จำนวน 510 คน โดยเป็นผู้หญิง 94 คน ในจำนวนนี้ 193 คนเป็นนักโทษเด็ดขาดที่ผ่านกระบวนการอุทธรณ์คดีหมดสิ้นแล้ว เชื่อว่ากว่าครึ่งหนึ่งของนักโทษเหล่านี้ต้องโทษประหารชีวิตในคดียาเสพติด

 

แม้ว่าการใช้โทษประหารชีวิตเชิงบังคับถือเป็นข้อห้ามตามกฎหมายระหว่างประเทศ แต่โทษประหารยังเป็นโทษเชิงบังคับสำหรับความผิดหลายประการในประเทศไทย รวมทั้งคดีฆ่าผู้อื่นอย่างทารุณ โดยความผิดหลายประการที่มีการใช้โทษประหาร มีลักษณะไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของการเป็น “อาชญากรรมร้ายแรงสุด” ซึ่งกฎหมายระหว่างประเทศอนุญาตให้ใช้โทษแบบนี้ได้ สำหรับประเทศต่าง ๆ ที่ยังไม่ยกเลิกโทษประหารเสียทีเดียว

 

เมื่อ 40 ปีที่แล้ว มีเพียง 16 ประเทศ ที่ยกเลิกโทษประหารชีวิต จนถึงทุกวันนี้ 106 ประเทศทั่วโลกได้ยกเลิกโทษประหารสำหรับความผิดทุกประเภท และ 142 ประเทศหรือมากกว่า 2 ใน 3 ของประเทศทั่วโลกที่ได้ยกเลิกโทษประหารชีวิตทั้งในทางกฎหมายหรือในทางปฏิบัติแล้ว นั่นแสดงให้เห็นว่าทัศนคติและความเชื่อดั้งเดิมสามารถเปลี่ยนแปลงได้

 

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลคัดค้านโทษประหารชีวิตทุกกรณีโดยไม่มีข้อยกเว้น ไม่ว่าจะเป็นความผิดทางอาญาประเภทใด ไม่ว่าผู้กระทำผิดจะมีบุคลิกลักษณะใด หรือไม่ว่าทางการจะใช้วิธีประหารชีวิตแบบใด โทษประหารชีวิตละเมิดสิทธิที่จะมีชีวิตตามที่ประกาศไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และถือเป็นการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม และย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ รวมทั้งมีงานวิจัยมากมายจากนานาประเทศได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าโทษประหารชีวิตไม่มีความเชื่อมโยงใด ๆ กับการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของอาชญากรรมที่เกิดขึ้น

ขอบคุณข้อมูลจาก : เพจ Amnesty International Thailand

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: