สร้าง “ความโชคดี”​ ให้ตัวเองทำได้จริง…ไม่ต้องรอโชคชะตา





โชคดีสร้างได้  ศาสตราจารย์ริชาร์ด  ไวส์แมน (RichardWiseman) แห่งสถาบันจิตวิทยา  มหาวิทยาลัยเฮิร์ตฟอร์ดเชียร์ (University of Hertfordshire)  อังกฤษ ผู้ศึกษาวิจัยเรื่อง “ความโชคดี” มานับสิบปีได้ข้อสรุปว่า “ความโชคดีไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน แต่มักจะเกิดขึ้นกับคนที่มีลักษณะพิเศษ”

[ads]

   คนลักษณะพิเศษที่พูดถึง ได้แก่ ผู้ที่มีทักษะในการสร้างโอกาสและมองเห็นโอกาส  ผู้ที่ตัดสินใจอย่างชาญฉลาดโดยไม่ได้อาศัยแค่บรรทัดฐานของตนเองเพียงอย่างเดียว  มีความคาดหวังในด้านบวก และมีทัศนคติที่ยืดหยุ่น  นอกจากนั้นยังพบว่า  ผู้คนที่อับโชคมักเป็นคนเคร่งเครียด มองโลกในแง่ร้าย  ไม่กล้าเปิดใจรับสิ่งใหม่ ๆสนใจแต่เรื่องเดิม ๆ  สิ่งเหล่านี้เองที่ทำให้พวกเขามักจะพลาดโอกาสต่าง ๆ ไปอย่างน่าเสียดาย

   เมื่อศาสตราจารย์ริชาร์ดทดลองให้ผู้คนที่อับโชคเข้ารับการฝึกฝนคุณลักษณะต่าง ๆ ของคนที่โชคดีเป็นเวลาหนึ่งเดือน  ผลการทดลองก็แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า  อาสาสมัครกว่าร้อยละ 80 รู้สึกว่าตนเองเริ่มโชคดีมากขึ้น

10 อุปนิสัยแห่งความโชคดี

ดักลาส  มิลเลอร์ (Douglas Miller)  นักเขียนนักพูด นักฝึกอบรม  และโค้ชด้านอาชีพชื่อดัง  เป็นอีกคนหนึ่งซึ่งเชื่อว่า  โชคดีไม่ใช่แค่เรื่องบังเอิญ เขาเขียนหนังสือ “THE LUCK HABIT” ซึ่งระบุถึงปัจจัยแห่งความโชคดีไว้ดังนี้คือ

1.รู้จักตนเอง :รู้ว่าอะไรที่สำคัญกับชีวิตบ้างเพื่อจะได้ทุ่มเทใช้ชีวิตไปให้ถูกทาง

2.มีเป้าหมาย :ทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพื่อให้เกิดแรงจูงใจและมีทิศทางในการใช้ชีวิตอย่างชัดเจน

3.กระตือรือร้น:สดชื่นอยู่เสมอ ใส่ใจกับทุกสิ่งที่ทำ อยากรู้อยากเห็นสนใจเปิดรับเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆเสมอ

4.เชื่อมั่น “ทำได้”  และ “จะทำ” :การมีความรู้และทักษะต่าง ๆ แม้จะก่อให้เกิดความมั่นใจ  แต่ยังไม่พอ  ต้องสร้างแรงจูงใจว่า “อยากทำ” ด้วย  เพราะความเชื่อมั่นและแรงจูงใจจะช่วยให้ประสบความสำเร็จในชีวิต

5.อย่าขี้เกียจ: ต้องทำงานหนัก  การทำงานหนักหมายถึงหมั่น “ตรวจสอบ” ตัวเองอยู่เสมอว่ามีอะไรที่ต้องปรับปรุงหรือพัฒนา  จากนั้นจึงฝึกฝนทักษะใหม่ ๆ นั้นให้เชี่ยวชาญ

6.อย่ากลัวอย่ากังวลกับสิ่งที่ยังไม่เกิด :เพราะความกดดันอาจทำให้เกิดความผิดพลาดได้  คิดไว้เสมอว่า  ทุกปัญหาสามารถแก้ไขได้โดยการจัดการอย่างมีสติและเป็นขั้นเป็นตอน

7.ล้มบ้างก็ได้  แพ้บ้างก็ดี: เรียนรู้จากความล้มเหลวหรือความพ่ายแพ้เพื่อไม่ให้เกิดซ้ำอีก

8.เปิดกว้างรับฟังความคิดเห็น:ให้คิดว่าทั้งคำชมและคำวิจารณ์  ถือเป็น “ของขวัญ” และ “โอกาส” ในการพัฒนาตนเอง

9.สัมพันธภาพเป็นสิ่งสำคัญ :ไม่ใช่แค่หมั่น “สร้าง” ให้เพิ่มขึ้น  แต่ต้องหมั่น“รักษา” สิ่งที่มีอยู่ไม่ให้ขาดหาย  ยิ่งคุณรู้จักผู้คนมากเท่าไหร่  ก็ยิ่งเป็นประโยชน์มากเท่านั้น

10. มองเห็นโอกาส: ไม่รอให้โอกาสมาหา  แต่ขวนขวายสร้างโอกาสให้ตัวเอง  ขณะเดียวกันต้องเตรียมความพร้อมในด้านต่าง ๆ อยู่เสมอ  เช่นพัฒนาความรู้ความสามารถและทักษะเพื่อสร้างโอกาสนั้นให้เป็นจริง อย่าสร้างอุปสรรคปลอม ๆ มาบั่นทอนความมั่นใจของตนเองเช่น  ฉันทำไม่ได้หรอก  ฉันไม่เก่ง

 

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: