เปิดอาชีพที่คนไทยน้อยคนจะรู้!! ‘หมอบนแทนขุดเจาะน้ำมัน’ เงินเดือน6หลัก วันหยุด28วัน!!





 

หนึ่งอาชีพบน “แท่นขุดเจาะ” ที่หลายต่อหลายคน อาจจะยังไม่ทราบว่า มีหน้าที่แบบนี้อยู่ด้วยเหรอ? นั่นก็คือ แพทย์ประจำแท่นขุดเจาะน้ำมัน (Remote Site Doctor) หรือ “หมอบนแท่นขุดเจาะ” ซึ่งเป็นทางเลือกสำหรับแพทย์ที่มองหาความท้าทายใหม่ๆ

โดยภาระงานต้องให้การดูแลด้านการแพทย์ สำหรับพนักงานที่ทำงานประจำการบนแท่นขุดเจาะน้ำมัน แต่จะมีรายละเอียดและกระบวนการอย่างไร วันนี้เราจะพามาทำความรู้กัน ซึ่งมี “นายภานุพันธ์ เนียมประพันธ์” ผู้จัดการฝ่ายบริการด้านการแพทย์ บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส (ประเทศไทย) เล่าให้ฟังว่า ต้องเป็นแพทย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมจากแพทยสภา มีประสบการณ์อย่างน้อย 3 ปี เพื่อความเชี่ยวชาญในการตรวจวินิจฉัย และรักษาคนไข้ได้อย่างถูกต้อง แต่ก็ยังไม่สามารถถขึ้นประจำแท่นได้เลย

 

 

เริ่มแรกต้องผ่านการตรวจร่างกาย เพราะบนแท่นขุดเจาะ ต้องไม่นำคนที่มีสุขภาพไม่ดีขึ้นไป จากนั้นส่งตัวไปฝึกที่ศูนย์อบรมจากาต้า ประเทศอินโดนีเซีย ประมาณ 3 สัปดาห์ ด้วยโปรแกรมการทำงานนอกชายฝั่ง (Offshore) แม้กระทั่งคนที่“ฟันผุคราบหินปูน” ก็ไม่ผ่าน!!! การเข้มงวดเช่นนี้เพราะว่า…จะช่วยลดอัตราการส่งคนไข้กลับเข้าฝั่ง

 

 

ระยะเวลา สัปดาห์จะต้องเรียนรู้อะไรบ้าง?? ได้แก่ หลักสูตรการกู้ชีพ ฝึกการช่วยชีวิตขั้นสูง ปั๊มหัวใจ ให้สารน้ำ เน้นฝึกปฏิบัติให้มากที่สุด ปกติใช้เวลา 2 วันครึ่ง แต่ที่นี้ใช้เวลา 5 วัน สัปดาห์ต่อมาเรียนรู้การดูแลคนไข้ที่ได้รับบาดเจ็บตามหลักสูตรสากล วิชาการหนีออกจากเฮลิคอปเตอร์ เวลาตกน้ำ (Helicopter Underwater Escape) และสัปดาห์สุดท้ายเรียนรู้ระบบการทำงานบนไซต์งาน ดูแลคนไข้ให้ปลอดภัยได้อย่างไร หรือแม้กระทั่งเช็กคลื่นลมแรง อินเตอร์เน็ต ฯลฯ

เมื่อกลับมาจากจากาต้า ต้องเข้าฝึกปฏิบัติงานจริงตามโรงพยาบาลบนพื้นดิน โดยเฉพาะแผนกห้องฉุกเฉินอีก 1 สัปดาห์ และส่งต่อไปฝึกเรียนการดำรงชีพในทะเล สัปดาห์ถัดมาจึงจะได้เรียนรู้หลักการทำงานตามมาตรฐานแต่ละองค์กรที่ได้ตั้งไว้ อาจจะเรียนรู้อีก 1-2 วัน

 

 

กระทั่งแพทย์ขึ้นไปทำงานบนแท่นขุดเจาะ จะต้องทำงานร่วมกับแพทย์ โดยการ “แฮนด์โอเวอร์” (Handover) อีก 1 สัปดาห์ รวมระยะเวลาร่วมกว่า 2 เดือนสำหรับการเทรนนิ่ง จากนั้นจะถูกส่งไปเรียนประกาศนียบัตร “อาชีวเวชศาสตร์”เป็นวิชาการแพทย์แขนงหนึ่ง ว่าด้วยเรื่องการดูแลสุขภาพของคนทำงาน ครอบคลุมตั้งแต่การป้องกันโรค การรักษาโรค และการฟื้นฟูสุขภาพของคนทำงาน กินเวลาประมาณ 2 เดือน เบ็ดเสร็จก็จะประมาณ 4 เดือน เพื่อเตรียมความพร้อมให้การรักษาคนงานบนแท่นขุดเจาะ

แต่ทว่าหลายคนอาจสงสัย?? จะเสียเวลามากเกินไปหรือเปล่า จริงๆ แล้วไม่เลย เพราะต้องคำนึงถึงชีวิตของคนทำงานเป็นหลัก และอีกอย่างแพทย์ที่ผ่านการตรวจร่างกายเข้าฝึกอบรบ ยังได้รับเงินเดือนตั้งแต่เริ่มฝึก 

 

 

ด้าน “นายพิพัฒน์ คณานุวัฒน์” กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส (ประเทศไทย) ให้ข้อมูลว่า ความห่างไกลจากพื้นดิน จึงต้องมีแพทย์ไปประจำที่คลินิก ไม่เหมือนกับการตั้งโรงพยาบาลในพื้นดิน เมื่อไปประจำยังแท่นขุดเจาะ ก็ยังจะมีความเสี่ยงกว่าภาคพื้นดิน ทุกคนจึงต้องผ่านหลักสูตร “ผจญเพลิง” รวมไปถึงการดูแลด้านสิ่งแวดล้อม และอาหารการกิน หรือ เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของโรคจะป้องกันอย่างไร?

โดยโรคที่เกิดขึ้นจากการทำงานบนแท่นขุดเจาะเป็นส่วนใหญ่ ก็จะมีทั้งได้รับสารหนู สารปรอท การทำงานที่มีความเสี่ยง ไข้หวัด น้ำมูกไหลโรคกระเพาะ แต่บางโรคที่จะหลุดมาบ้าง คือ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ไส้ติ่งอักเสบ ส่วนอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้น้อย เพราะบนแท่นขุดเจาะเน้นความปลอดภัยเป็นหลัก แต่ถ้าเกิดอะไรขึ้นมา แพทย์ก็จะดูแลเบื้องต้นได้ตลอดเวลา
 

 

 

“หมอจะตรวจร่างกายตามปกติ ถ้าสามารถให้ยาก็จะให้ตามอาการ แต่ในกรณีที่จะต้องรักษาเพิ่ม หรือเสี่ยงต่อชีวิตทุพพลภาพ จะมีแพทย์เฉพาะทางจากศูนย์ที่อยู่บนฝั่งให้คำปรึกษา Conference Call และหากผู้ป่วยมีอาการแย่จะประสานเฮลิคอปเตอร์ไปรับ แพทย์ประจำแท่นจึงต้องมีความเชี่ยวชาญ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าฉับไว แต่ต้องถูกต้อง”

ซึ่งแพทย์ 2 คนจะสลับกันดูแล 1 โลเคชั่น ระยะเวลาในการทำงาน 28 วัน หยุดพักขึ้นบก 28 วัน โดยตามกฎหมายประเทศไทย เมื่อทำครบ 28 วัน จะต้องให้หยุด 14 วัน แต่ด้วยมาตรฐานแท่นขุดเจาะ หรือว่าเป็นบริษัทต่างชาติที่มาลงทุนอยู่ในอ่าวไทย จึงทำให้เป็น Worldwide standard” ฉะนั้นจึงทำงาน 28 หยุด 28 วัน แต่ด้วยความเป็นจริงแล้ว ก่อนการทำงานทุกครั้งก็จะต้องเทรนด์นิ่ง 3-5 วัน เพื่อเพิ่มพูนความรู้อยู่ตลอดเวลา

หากมีอะไรที่กระทบต่อจิตใจแพทย์อย่างรุนแรง ซึ่งธรรมดาจะสลับกัน 28 วัน ก็จะส่งแพทย์ท่านใหม่เข้าไปทำงานแทนทันที เพราะสุขภาพแพทย์ก็เป็นสิ่งหลักที่จะต้องดูแลด้วย

 

 

“ค่าตอบแทนถ้าเทียบกับหมอที่อยู่บนบก ก็พอๆ กัน เพียงแต่ว่าเขาทำงาน เดือน แต่ได้เงิน เดือน หยุด เดือนเขาได้รับเงินตามปกติ จะพูดว่าดีกว่าก็ได้ เพราะฉะนั้นหมอที่ชอบเที่ยว อยากมีเวลาส่วนตัวเขาก็จะมีเวลาหยุดมากขึ้น แต่ถ้าไปเทียบกับหมอที่เป็น Special personalคนไข้ติดกันตรึมก็อีกเรื่องหนึ่ง แต่ถ้าหมอที่รับเงินเดือนประจำก็พอๆ กัน ก็ต้องมี หลักขึ้น”

แม้ว่า…รายได้ (อาจจะ) งาม แต่ก็นำมาซึ่งความรับผิดชอบที่นอกเหนือจากการตรวจรักษาคนไข้ ต้องทำหน้าที่รับผิดชอบโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของพนักงานบนแท่นขุดเจาะ ไม่ว่าจะด้านโภคชนาการ การออกกำลังกาย การต่อต้านมะเร็ง โรคปอด โรคติดเชื้อ พร้อมกับเก็บข้อมูลและทำรายงานเกี่ยวกับโรคต่างๆ เพื่อประเมินผล

ทั้งหมดนี้ คือหนึ่งอาชีพที่เรียกว่า “หมอบนแท่นขุดเจาะ” แต่อย่างไรก็ตามไม่มีใครรับประกันได้ว่าเหตุการณ์วิกฤติต่างๆ จะไม่มีวันเกิดขึ้นกับตัวเอง แพทย์เองก็ต้องมีสุขภาพที่ดีก่อนที่จะไปรักษาหรือดูแลคนไข้ เพราะเมื่ออยู่บนแท่นขุดเจาะ หากเหตุการณ์เช่นนั้นเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หน้าที่จึงเป็นสิ่งสำคัญ!!

ขอบคุณข้อมูลจาก : เดลินิวส์ออนไลน์

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: