อย่าทะลึ่ง! ทนายเตือน เอาโลโก้อื่นมาแปะทับขวด-แก้วบรรจุเบียร์ก็มีความผิด!





 

ผิดไปหมด-ผิดทุกอย่างเพลียจิต…เตือนสายเมาแห่โพสต์ภาพประชด เอาโลโก้อื่นแปะทับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทนายชี้อย่าคะนอง! ยังไงก็ผิดเพราะเป็นการสร้างแรงจูงใจ

เมื่อวันที่ 25 ก.ค. จากกรณีที่เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก หลังจากที่ พล.ต.อ.วิระชัย ทรงเมตตา ที่ปรึกษา (สบ10) ได้เปิดเผยถึงการดำเนินคดีดารา นักร้อง รวมถึงเน็ตไอดอล ที่โพสต์ภาพเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ลงในโลกออนไลน์ ซึ่งถือเป็นการเข้าข่ายกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จนเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในโลกออนไลน์ พร้อมลงรูปภาพประชดด้วยการนำโลโก้ นม,น้ำปลา,ผ้าอนามัย,น้ำยาถูกพื้น  มาแปะทับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ดังกล่าว จนกลายเป็นที่ส่งต่อเป็นจำนวนมาก

 

 

ล่าสุด ทนายรณณรงค์ แก้วเพ็ชร์ เปิดเผยกับ “เดลินิวส์ออนไลน์” ถึงกรณีดังกล่าวว่า ตามที่ พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 มาตรา 32 ได้ระบุไว้ว่า ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกฮอล์หรือแสดงชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกฮอล์ อันเป็นการอวดอ้างสรรพคุณหรือชักจูงให้ผู้อืนดื่ม ทั้งทางตรงหรือทางอ้อมนั้นสื่อให้เห็นว่าแม้ ผู้ที่นำโลโก้อื่นๆ มาปิดทับรูปเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็ถือว่ามีความผิด เพราะถือเป็นการจูงใจในทางอ้อมอย่างหนึ่ง มีโทษสูงสุดปรับถึง 5 แสนบาท

 

 

“แม้กฎหมายฉบับนี้จะออกมาแล้วกว่า 9 ปี แต่ก็ไม่สามารถนำมาใช้ได้อย่างจริงจัง เนื่องจากจุดประสงค์หลักคือการควบคุมผู้ประกอบการในเรื่องการโฆษณา และที่ผ่านมาก็ถือว่าสามารถลดปริมาณนักดื่มหน้าใหม่ได้เป็นอย่างดี แต่ในส่วนกรณีที่จะเอาผิดกับประชาชนเรื่องการโพสต์รูปภาพลงบนโลกออนไลน์นั้นยังมีหลายประเด็นที่ไม่ชัดเจน หากเป็นไปได้คณะคสช.ควรนำ ม.44 เข้ามาปลอดล็อกกฎหมายฉบับนี้ให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น และคงต้องมีการพูดคุยกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในประเด็นนี้เพื่อหาข้อสรุปที่ชัดเจนต่อไป..” ทนายรณรงค์ กล่าว

ข่าวจาก : เดลินิวส์ออนไลน์

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: