โบราณว่าไว้! ” 7 สิ่งต้องระวังสำหรับคนท้อง”…ไม่ใช่คำขู่ แต่ทุกอย่างมีที่มาที่ไป พิสูจน์ได้จริง





ความเชื่อโบราณ..อาจเป็นสิ่งที่คนรุ่นใหม่หลงลืม และคิดว่าเป็นเพียงคำพูดหลอกเด็กเท่านั้น แต่ในความจริงแล้ว ความเชื่อโบราณกับแฝงไปด้วยเหตุผลทางวิทยาศาตร์ที่ปัจจุบันสามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นเรื่องจริง

วันนี้…เราจึงขอหยิบยกความเชื่อโบราณที่เกี่ยวกับสาวที่อยู่ในช่วงตั้งครรภ์ ว่ามีอะไรบ้างที่ควรระวัง แล้วโบราณเขาว่าไว้อย่างไรบ้าง ไม่เชื่ออย่าลบหลู่เลยนะ!

 

1. ควรดื่มน้ำมะพร้าวอ่อนระหว่างท้อง

ความเชื่อโบราณ

มีความเชื่อว่า…”การดื่มน้ำมะพร้าวอ่อนทุกวันระหว่างตั้งครรภ์ จะทำให้เด็กทารกที่คลอดมามีผิวพรรณสะอาดเกลี้ยงเกลา ไม่มีไขมันติดตัวออกมาเวลาคลอด”

 

เหตุผลทางวิทยาศาสตร์

เรื่องนี้ นักโภชนาการโรงพยาบาลพระรามเก้ากล่าวชี้แจงว่า

"…เคยมีงานวิจัยของเมืองนอกชิ้นหนึ่งออกมาว่าในน้ำมะพร้าวมีสารชนิดหนึ่งซึ่งช่วยให้มดลูกบีบตัว ดังนั้นหากหญิงมีครรภ์ดื่มน้ำมะพร้าวเข้าไป สารตัวนี้ก็จะไปช่วยให้มดลูกบีบรัดรก ทำให้เกิดมีการคล้ายๆ การชะล้างเกิดขึ้น …

ซึ่งเหมือนๆกับข้อห้ามไม่ให้คนที่กำลังมีประจำเดือนดื่มน้ำมะพร้าวเพราะเกรงว่าจะไปบีบรัดมดลูกนั่นเอง

ทั้งนี้ ยังไม่มีงานวิจัยใดที่ออกมายืนยันว่าการดื่มน้ำมะพร้าวจะทำให้ผิวพรรณเด็กดีจริง

 

2. ห้ามนอนหงายเพราะรกจะติดหลังแล้วคลอดออกมาไม่ได้

ความเชื่อโบราณ

ข้อห้ามไม่ให้ " คนท้องนอนหงาย " นี้ดูเหมือนจะเป็นความเชื่อของคนแทบทุกภาคในประเทศ

เหตุผลทางวิทยาศาสตร์

จากการวิจัยทางการแพทย์ของหลายหน่วยงานยืนยันว่า

“คุณแม่ตั้งครรภ์ควรนอนตะแคงด้านซ้าย เพราะเส้นเลือดใหญ่อยู่ทางด้านขวา หากนอนตะแคงขวาจะทำให้เลือดไหลไม่ค่อยสะดวก”

 

 

3. ห้ามไปงานศพ

ความเชื่อโบราณ

น่าแปลกที่ความเชื่อเรื่องนี้ปรากฏมีตรงกันแทบทุกท้องถิ่นของประเทศไทย แต่แตกต่างกันเฉพาะเหตุผล เช่น กลัวมีวิญญาณร้ายจากสุสานติดตามมา กลัวผีเข้า

 

เหตุผลทางวิทยาศาสตร์

ร.อ. (หญิง) เพ็ญพร สมศิริ ให้ความเห็นว่า

"…หญิงตั้งท้องในระหว่างรอคลอดไม่ควรเครียด และแสดงอาการวิตก เพราะจะส่งผลต่อทารกน้อยในครรภ์  ควรทำใจให้มีความสุขยิ้มแย้ม เด็กเกิดมาจะได้มีสุขภาพกายและใจที่แข็งแรง… "

 

4. ห้ามกินกล้วยน้ำว้า เพราะจะทำให้คลอดยาก

ความเชื่อโบราณ

คนโบราณมักไม่ให้คนท้องกินกล้วยน้ำว้า

 

เหตุผลทางวิทยาศาสตร์

แม้ว่ากล้วยน้ำว้าเป็นกล้วยที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง แต่สาเหตุที่คนโบราณห้ามไม่ให้คนท้องกินนั้นเช่น

– กลัวเด็กจะตัวโตแล้วคลอดยาก เพราะในสมัยก่อนยังไม่มีการผ่าตัดทำคลอด

– กล้วยสุกๆ จะหวานมีแป้งมาก อิ่มเร็ว ทานอย่างอื่นไม่ได้ อาจทำให้เด็กขาดสารอาหารอื่นๆได้

– การกินกล้วยห่ามๆ ไม่สุกจะทำให้เกิดอาการท้องผูก ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของคนท้อง

 

 

5. ห้ามกินเนื้อวัว

ความเชื่อโบราณ

โบราณเชื่อว่า จะทำให้เนื้อตัวทารกที่เกิดใหม่เต็มไปด้วยไขมันล้างออกยาก

 

เหตุผลทางวิทยาศาสตร์

จริงๆแล้วโภชนาการสมัยใหม่ไม่ได้ห้ามไม่ให้คนท้องกินเนื้อวัว แต่ควรระมัดระวังเพราะเนื้อวัวมักจะมีไขมันเยอะ ทำให้อ้วนได้ง่าย"

 

6. ห้ามกินหอย

ความเชื่อโบราณ

คนโบราณห้ามคนท้องกินหอยทุกประเภท เพราะมีความเชื่อว่า เวลาคลอดจะมีกลิ่นคาว และคลอดยากเหมือนหอยที่ติดอยู่ในเปลือก

 

เหตุผลทางวิทยาศาสตร์

โภชนาการคนท้องสมัยนี้ไม่มีข้อห้ามไม่ให้คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์กินหอย เพราะหอยส่วนใหญ่จะให้คุณค่าให้สารไอโอดีนสูง ยกเว้นแต่คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีไขมันในเลือดสูง ควรงดกินหอยทุกชนิด โดยเฉพาะหอยนางรมที่มีคอเรสเตอรอลสูงมาก

 

7. ห้ามกินผักที่เป็นเครือเถา

ความเชื่อโบราณ

คนโบราณในบางท้องที่เช่นทางภาคเหนือจะห้ามไม่ให้คนท้องกินผักที่มีลักษณะเป็นเครือเถา เช่น ผักตำลึง ยอดฟักทอง เป็นต้น

 

เหตุผลทางวิทยาศาสตร์

คนโบราณที่กินอาหารประเภทนี้ มักมีอาการปวดขา เพราะในผักยอดอ่อนจะมีสาร purin สูง สารนี้เมื่อทำการย่อยจะกลายเป็นกรดยูริก ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคเก๊าส์ได้

อย่างไรก็ตาม ส่วนคนที่กินแล้วไม่เกิดอาการใดๆ ก็ยังสามารถทานได้ตามปกติ

 

 

ไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร แต่ก็ยากยิ่งที่จะเลือนลบ " ความเชื่อโบราณ" ทั้งหลายให้จางหายไปจากสังคมไทย

ดังนั้น คุณจึงควรฟังหู ไว้หูจะดีที่สุด เพราะความเชื่อหลายอย่างมีทั้งเป็นจริง หรือไม่เป็นจริงเนื่องจากกาลเวลาที่เปลี่ยนไปนั่นเอง

 

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก www.gotoknow.org

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: