อย่านิ่งนอนใจ! ปัญหา “เหงื่อออกที่มือและเท้า” มาจากหลายสาเหตุ…แต่ยังมีทางแก้แค่ทำแบบนี้





เวลาเหงื่อไหล สามารถบ่งบอกอาการของโรคได้ เพราะอาการเจ็บป่วยเกิดขึ้นเริ่มต้นได้จากการเปลี่ยนแปลงเล็กๆน้อยๆ ดังนั้น หากเรารู้จักสังเกตตนเองทุกครั้ง ก็จะทำให้รู้ว่ามีอาการผิดปกติเกิดขึ้นกับสุขภาพของเราหรือไม่

 

อาการ ”เหงื่อออกมาก” หรือออกมากจนผิดปกติ ก็เป็นอีกอาการที่บ่งบอกโรคได้เช่นกัน มาร่วมกันสังเกตและหาทางป้องกันกันเถอะค่ะ!

 

หากคุณมีภาวะที่มีเหงื่อออกมากที่มือและเท้าโดยไม่สัมพันธ์กับอากาศร้อน การออกกำลังกาย และพยากรณ์ไม่ได้ว่าเหงื่อจะออกเมื่อไหร่ หรือหาไม่ได้ว่าอะไรเป็นตัวกระตุ้นให้เหงื่อออก เพราะไม่เกี่ยวกับอารมณ์ ความเครียด ความตื่นเต้น หรือความกังวล หรือไม่มีอาการผิดปกติอื่นๆร่วมด้วย ทางแพทย์จะเรียกอาการนี้ว่า ภาวะ Primary hyperhidrosis

 

“Primary hyperhidrosis” เป็นภาวะป่วยที่ยังไม่ทราบสาเหตุ แพทย์บางท่านสันนิษฐานว่า อาจเกิดจากประสาทอัตโนมัติที่ควบคุมเกี่ยวกับเหงื่อที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และรักแร้ทำงานเกินปกติ แต่ก็ยังพิสูจน์ไม่ได้แน่ชัด  ทั้งนี้โรคบางโรคอาจมีผลให้เหงื่อออกมาก….

 

โรคที่ทำให้เหงื่อออกมาก ได้แก่

1. โรคเครียด ลักษณะของเหงื่อที่ออกจะออกมากบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า และหน้าผาก อาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ใจสั่น ชีพจรเต้นเร็ว มือสั่น

2. ต่อมไทรรอยด์เป็นพิษ หรือคอพอก จะมีเหงื่อซึมออกมาทั่วตัวและบริเวณฝ่ามือทั้ง 2 ข้าง อาจมีอาการหงุดหงิด มือสั้น ขี้ตกใจ ตาโปน ผมร่วง และหิวน้ำบ่อย

3. วัณโรค เหงื่อออกมากทั่วลำตัวในเวลากลางคืน สลับกับอาการไอเรื้อรัง

4. โรคเบาหวาน จะมีเหงื่อซึมทั่วตัวโดยเฉพาะฝ่ามือ ฝ่าเท้า ใจสั่น เหนื่อยหอบ หวิวๆ คล้ายจะเป็นลม

5. โรคหัวใจ  จะมีอาการเหงื่อแตก ร่วมกับใจสั่น เหนื่อยหอบขณะออกกำลังกาย หากมีอาการแน่นที่หน้าอก เหงือออกตามนิ้วมือนิ้วเท้าทุกครั้งที่ออกกำลังกาย เสี่ยงการเป็นโรคหัวใจสูง

6. ภาวะใกล้หมดประจำเดือน  สมองจะหลั่งฮอร์โมนเทศหญิงน้อยลง ทำให้เหงื่อออกมากในเวลากลางคืน

 

 

อาการนี้เป็นภาวะที่พบได้ประมาณ 1-3% ของประชากรทั้งหมด มักพบตั้งแต่ในวัยรุ่น และวัยหนุ่มสาว ผู้หญิงและผู้ชายมีโอกาสเกิดภาวะนี้ได้เท่าๆกัน

เมื่อป่วยเป็นโรคนี้ไม่จำเป็นต้องรักษาถ้าอาการไม่มีผลต่อการดำเนินชีวิต แต่ถ้ากังวลอยากลดอาการให้น้อยลง เรามีวิธีแก้ ดังต่อไปนี้

 

วิธีแก้เหงื่อออกตามฝ่ามือฝ่าเท้า

1. น้ำส้มสายชูแอปเปิ้ลไซเดอร์

– ให้ใช้น้ำอุ่นล้างบริเวณที่มีเหงื่อออกมาก

– นำสำลีชุบแอปเปิ้ลไซเดอร์ทาทิ้งไว้ข้ามคืน

– เมื่อตื่นนอนตอนเช้าให้อาบน้ำและทาทับด้วยแป้งเด็ก

 

2. แป้งข้าวโพด

– ผสมแป้งข้าวโพดและเบคกิ้งโซดาในปริมาณเท่ากัน

– นำมาทาบริเวณชื้นเหงื่อ โดยก่อนทาควรเช็ดเหงื่อให้แห้งก่อน และใช้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น

 

3. น้ำมะนาว

– ผสมน้ำมะนาวและเบคกิ้งโซดา 1 ช้อนชา

– ทาบริเวณชื้นเหงื่อทิ้งไว้ 10 นาทีจึงล้างออก

– ทำวันละครั้ง

 

4. มะเขือเทศ

– ฝานเป็นแผ่นไม่บางมาก

– นำไปถูกบริเวณเหงื่อออกเยอะให้น้ำมะเขือเทศออกทิ้งไว้ 10-15 นาที

– ล้างออกด้วยน้ำอุ่น วันละครั้ง

หรือดื่มน้ำมะเขือเทศสด 1 แก้วทุกวันก็ช่วยได้

 

5. ทานอาหารที่อุดมไปด้วยแมกนีเซียม

เช่น อัลมอนด์ อะโวคาโด กล้วย ถั่ว เมล็ดฟักทอง เต้าหู้ นมถั่วเหลือง มันฝรั่งพร้อมเปลือก โยเกิร์ตและผักใบเขียว

เนื่องจาก ธาตุแมกนีเซียมจะช่วยควบคุมต่อมเหงื่อ และป้องกันการผลิตเหงื่อมากเกินไปได้ รวมถึงการป้องกันการส่งกลิ่นเหม็นด้วย

 

 

ถึงแม้อาการเหงื่อออกมากจะบ่งบอกอาการของโรคได้หลายอย่าง แต่ก็ต้องมีปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วยเพราะฉะนั้นต้องสังเกตให้ดี  แต่ถ้าไม่มีอาการร่วมก็สบายใจได้เลย

 

หากมีอาการเหงื่อออกมากผิดปกติ ก็ควรดูแลสุขภาพ หาวิธีป้องกัน และไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียดอีกครั้งนะคะ

 

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก top10homeremedies  และ guru.sanook.com

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: