เผยรายชื่อ “8 อาชีพเสี่ยงตกงาน” ผลพวงจากไทยแลนด์ 4.0…..ใครไม่อยากโดนไล่ออกเปลี่ยนงานด่วน





เนื่องจากรัฐบาลชุดปัจจุบันได้เร่งชูนโยบายไทยแลนด์ 4.0 เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การค้า และภาคบริการของประเทศ โดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เพื่อยกระดับให้เป็นประเทศที่มีรายได้สูงในปี 2579

ก็ถือเป็นเรื่องดีที่ประเทศไทยจะได้รับการพัฒนา แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีบางกลุ่มอาชีพที่กำลังจะขาดใจตาย เนื่องจากหมดความสำคัญลงไปเรื่อยๆ มาดูอาชีพที่สุ่มเสี่ยงดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง เผื่อว่าคุณจะได้เปลี่ยนงานหรือปรับตัวเองทัน

 

นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาห กรรมไทย ได้ประเมินในเบื้องต้น และพบว่ามี 8 อาชีพเสี่ยงตกงานจากเทคโนโลยี 4.0 หากไม่มีปรับเปลี่ยนองค์กรให้สอดคล้องกับบริบทใหม่ ได้แก่

 

8 อาชีพเสี่ยงตกงาน

              1. พนักงานขายปลีกหน้าร้าน, ในห้างโมเดิร์นเทรดต่าง ๆ และพนักงานขายตรง

              2. พนักงานโรงแรม

              3. พนักงานที่เกี่ยวข้องกับสถาบันทางการเงิน 

              4. แรงงานในอุตสาหกรรม

              5. แรงงานในภาคโลจิสติกส์

              6. บุรุษพยาบาลดูแลคนสูงวัยหรือผู้ป่วย

              7. คนขับรถยนต์ทั้งรถยนต์และรถบรรทุก

              8. เคาน์เตอร์เซอร์วิส ในภาคธุรกิจต่าง ๆ

 

“ในข้อเท็จจริงมีมากกว่า 8 อาชีพที่มีความเสี่ยงเพราะเราแค่ยกตัวอย่าง โดยที่มีความเสี่ยงนอกเหนือจากนี้ ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 80% ของมูลค่าการส่งออกของไทยที่ส่วนใหญ่ยังอยู่ในยุค 2.0-2.5 

ซึ่งในสัดส่วน 80% นี้มี 25% มีความเปราะบางมากเพราะยังไม่มีการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีมากนัก ทำให้กระทบต่อความสามารถในการแข่งขัน เห็นได้จากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาการส่งออกสินค้าในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะติดลบต่อเนื่องรวมมีมากกว่า 10 อุตสาหกรรม เช่น สิ่งทอ รองเท้า ผ้าผืน เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องหนัง หัตถอุตสาห กรรม เครื่องไมโครเวฟ และ สื่อสิ่งพิมพ์ ในอุตสาหกรรมเหล่านี้หากไม่มีการปรับตัวโอกาสคนจะตกงานมากขึ้น”

 

 

ดังนั้น ในช่วงรอยต่อยุค 4.0  ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องปฏิรูปภาคแรงงานให้ก้าวผ่านไปสู่การแข่งขันทางเศรษฐกิจที่รุนแรงขึ้น  ดังต่อไปนี้

1. ต้องส่งเสริมค่านิยมเรียนสายอาชีวะ เพราะถือเป็นที่ต้องการ และเป็นแรงงานสำคัญที่จะขับเคลื่อนประเทศ

2. มุ่งเน้นให้การศึกษาภาคแรงงานของไทย คน 50.5% ของแรงงานที่มีอายุ 49 ปีขึ้นไป มีการศึกษาไม่เกินระดับประถม  และในจำนวนนี้แรงงาน 1.2 ล้านคน ไม่มีการศึกษา ดังนั้น รัฐบาลจึงต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษว่าจะพัฒนาอย่างไร

3. ผู้ประกอบการ SME ไม่ค่อยให้ความสำคัญต่อการพัฒนาเสริมทักษะความรู้ให้แรงงานของตน

4. องค์กรที่เกี่ยวกับแรงงานต้องปฏิรูปบทบาท ในที่นี้คือการยกระดับพัฒนาแรงงานให้มีทักษะเพิ่มหรือเปลี่ยนทักษะใหม่ให้สอดคล้องกับไทยแลนด์ 4.0 และสังคมแรงงานสูงอายุ

5. กระทรวงแรงงานต้องเลิกยึดติดกับการเป็นกระทรวงด้านสังคม และปรับตัวเชิงรุกเป็นกระทรวงด้านเศรษฐกิจ สิ่งที่ต้องทำก่อน คือ การเปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อให้ดูทันสมัย และสามารถก้าวผ่านไปสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 ได้

พล.อ. ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ไม่อยากให้พี่น้องกังวลว่ายุคไทยแลนด์ 4.0 จะตกงาน ขอยืนยันว่าคนไทยทุกกลุ่มจะไม่มีการตกงาน แต่จะมีรายได้ที่ดีขึ้น

ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานจะดำเนินการสำรวจแรงงานในแต่ละกลุ่ม ว่ามีอยู่จำนวนเท่าใด และมีความจำเป็นต้องเสริมความเข้มแข็งของแรงงานในระดับต่าง ๆ อย่างไร เพื่อปรับทักษะฝีมือขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง

 

หวังว่าคนไทยจะมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และไม่ต้องตกงานจนเป็นภาระของสังคมนะคะ

 

ขอบคุณข้อมูลดีๆจากhttp://www.springnews.co.th/th/2017/05/42704/ และ https://money.kapook.com/view170744.html

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: