อะไรยังไง ? ภตช.ชี้เงินแป๊ะเจี๊ยะปี 2558 พุ่ง 1.2 หมื่นล้าน !





20121203143824

 

คืบหน้าภายหลังจาก ภาคีเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นของชาติ (ภตช.) เดินเกมรุกเปิดโปงความไม่โปร่งในในสำนักงานส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) องค์การค้าของ สกสค. และคุรุสภา จนนำไปสู่การยึดทรัพย์ สกสค. นั้น ล่าสุด ภตช. ได้แต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบการทุจริตกรณีเรียกรับผลประโยชน์ในการรับนักเรียนโดยไม่เป็นธรรม หรือ แป๊ะเจี๊ยะ

น.อ. บัญชา รัตนาภรณ์ หัวหน้าคณะทำงานตรวจสอบการทุจริต กรณีเรียกรับผลประโยชน์ในการรับนักเรียนโดยไม่เป็นธรรม ของภตช. กล่าวว่า เพื่อให้การดำเนินงานของ ภตช. มีความสอดคล้องตรงกับพันธกิจที่ได้กำหนดไว้ และเป็นการสนับสนุนนโยบายด้านการปราบปรามทุจริตคอร์รัปชั่นของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยเฉพาะด้านปฏิรูปการศึกษา ซึ่งพบว่าสถานศึกษาบางแห่งมีการเรียกรับผลประโยชน์จากผู้ปกครองนักเรียนโดยไม่เป็นธรรม โดยเฉพาะโรงเรียนที่มีการแข่งขันสูง ทำให้ประชาชนเดือดร้อน กระทบกับการพัฒนาการศึกษาของชาติ ซึ่งเป็นการกระทำผิดต่อระเบียบกฎหมาย และขัดต่อนโยบายของรัฐ อาศัยอำนาจตามความในข้อ 17,25 และ 26 แห่งข้อบังคับของภาคีเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นของชาติ (ภตช.) พุทธศักราช 2554 ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการอำนวยการ เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2558

[ads]

น.อ.บัญชา กล่าวอีกว่า จากการตรวจสอบการทุจริตกรณีเรียกรับผลประโยชน์ในการรับนักเรียนโดยไม่เป็นธรรม ปี2558 พบว่า ช่วงหลังสงกรานต์โรงเรียนที่มีการแข่งขันสูง จำนวน 366 แห่ง ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศไทย ในช่วงเวลาดังกล่าวปรากฏว่ามีจำนวนนักเรียนและผู้ปกครองเป็นจำนวนมาก เข้าแถวต่อคิวรอพบผู้บริหารโรงเรียน เนื่องจากลูกหลานสอบไม่ติดชั้นมัธยมศึกษาปีที่1(ม.1 )และม.4 ซึ่งพบว่าผอ.ร.ร.บางแห่งแม้เด็กสอบไม่ติดแต่เปิดช่องให้ผู้ปกครองกรอกตัวเลขจำนวนเงินที่จะบริจาคให้กับโรงเรียนเอาไว้ พร้อมออกใบเสร็จรับรอง

“ การเปิดรับแป๊ะเจี๊ย มีการประมูลเก้าอี้เรียนกันอย่างเปิดเผย โจ่งครึ่ม ทั่วประเทศ คิดเป็นเงินจำนวนกว่า 12,000 ล้านบาท ในโรงเรียนที่มีการแข่งขันสูง 366 โรงเรียน ซึ่งต้องการรับนักเรียนโรงเรียนละ 240 คน คิดเป็น 87.000 ที่นั่ง ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และทำให้ประชาชนเดือดร้อน”น.อ.บัญชากล่าว

น.อ.บัญชา กล่าวต่อไปว่า ไม่เพียงเท่านั้น พบว่าโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน( สพฐ.) ทั่วประเทศกระทำผิด พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2545 และ พ.ร.บ. การบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 ทั้งกรณี มาตรา 10 ระบุให้เรียนฟรี 12 ปี แต่โรงเรียนมาเรียกเก็บ “ ค่าบำรุงการศึกษา ” โดยอ้างจากประกาศกระทรวงศึกษาธิการ และกรรมการสถานศึกษา เป็นเงินว่า 30,000 ล้านบาทในปี2558

“การจัดเก็บเงินค่าบำรุงการศึกษา จัดเก็บมา 12 ปี รวมวงเงิน 330,000 ล้านบาท ทั้งที่เรียกเก็บเงินจากผู้ปกครองไม่ได้ เนื่องจากไม่มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา ถือเป็นการฉ้อโกงนักเรียนและผูัปกครอง อีกทั้งกรณีแต่โรงเรียนได้กำหนดเกรดของเด็กที่จะเรียนต่อในระดับมัธยมปลาย เป็นการกระทำผิดกฎหมาย เป็นการลิดรอนสิทธิเด็ก และเป็นช่องทางในการแสวงหาประโยชน์ของผู้บริหาร” น.อ.บัญชา กล่าว

น.อ.บัญชา กล่าวอีกว่า จากการตรวจสอบ ยังบกว่า มีการนำใบเสร็จ “ ค่าบำรุงการศึกษา ” ไปเบิกคืนจากราชการ เป็นเงินปีละกว่า 3,000 ล้านบาท ซึ่งทำให้ราชการเสียหาย

อีกทั้ง มีการใช้สมาคมผู้ปกครองและครู เป็นแหล่งรับผลประโยชน์ ซึ่งอาจเป็นแหล่งฟอกเงิน บางแห่งเป็นสมาคมเถื่อน ตลอดจนกรณีโรงเรียนออกใบแจ้งหนี้นักเรียนระดับมัธยมที่ไม่ชำระค่าเรียน และไม่ให้จบการศึกษา(ม.3/ม.6) เพราะไม่จ่าย ค่าเทอม เป็นการกระทำผิดกฎหมาย

น.อ.บัญชา กล่าวต่อว่า ข้อสังเกตุ ในการรับนักเรียน และการบริหารการศึกษาโดยไม่โปร่งใสเป็นธรรม มีการประกาศผลสอบนักเรียน ไม่ได้ระบุคะแนน ระบุเพียงเลขที่ใบสมัคร และเรียงตามอักษร เท่านั้น ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนฐานข้อมูลได้ ไม่โปร่งใส

น.อ.บัญชา กล่าวต่อไปว่า กรณี ค่าหนังสือเรียนของนักเรียน ซึ่งรัฐจ่ายให้เป็นรายหัวต่อปี ตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงมัธยม เป็นเงิน 650 – 1,200 บาท เป็นเงินภาษีทั้งหมด 7,500 ล้านต่อปี กลับพบว่า มีการใช้หนังสือเก่ามาให้เด็กเรียน นักเรียนได้หนังสือไม่ครบ 8 กลุ่มสาระวิชา ซึ่งอาจมีการทุจริตในกระบวนนี้จำนวนมาก ขณะเดียวกัน ในโรงเรียนมีการแบ่งชนชั้นของนักเรียน เช่น ห้องพิเศษ, กลุ่มห้องคิงส์, กลุ่มปานกลาง,กลุ่มทั่วไป และกลุ่มเรียนอ่อนและมีปัญหา รวม 5 กลุ่ม ซึ่งไม่เป็นธรรม สร้างปมด้อยให้เด็ก รวมถึงมีการเปิดสำนักติวหน้าโรงเรียนดัง โดยครูผู้สอนนำข้อสอบมาเปิดเผยเป็นการทุจริตและทำลายระบบการศึกษา

เมื่อตรวจสอบพบแล้ว ภตช. จะส่งเรื่องดังกล่าวให้กระทรวงศึกษาธิการ ให้นายกรัฐมนตรี ในฐานะ ประธาน คตช. และหากพบหลักฐานทุจริตจะส่งเรื่องถึงหน่วยงาน ป.ป.ช. และ ปปง. ให้ยึดทรัพย์ตกเป็นเงินแผ่นดินต่อไป พร้อมกับเรียกร้องให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ใช้มาตรา 44 กำจัดปัญหาแป๊ะเจี๊ยะให้หมดไป”น.อ.บัญชา กล่าว

รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ยุคขิงแก่ กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาแป๊ะเจี๊ยะให้หมดไปจากสังคมไทยนั้น เป็นเรื่องที่ทำได้อยากไม่น้อย ตราบใดที่ความต้องการของนักเรียนและผู้ปกครองอยากเข้าเรียนในโรงเรียนที่มีการแข่งขันสูง ซึ่งโรงเรียนเหล่านี้มีที่นั่งเรียนน้อยแต่จำนวนเด็กสมัครเข้าเรียนจำนวนมาก เช่น โรงเรียนรับได้ 300 คน แต่มีเด็กสมัคร 1,000 คน ย่อมเกิดการแย่งชิงที่นั่งเรียนด้วยวิธีการต่างๆ

“เงินเป็นอีกช่องทางที่จะทำให้ลูกได้เข้าร.ร.แข่งขันสูง แต่การได้มาของเงินควรจะโปร่งใส และเป็นธรรมกับนักเรียนและผู้ปกครองคนอื่นๆ ที่ไม่มีฐานะทางการเงิน ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเร่งแก้ไข เพื่อความเป็นธรรมกับเด็กทุกๆคน” รศ.ดร.วรากรณ์ กล่าวในที่สุด

 

ขอบคุณเนื้อหาจาก http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/645957 

รูปประกอบจาก mcot.net

 

[ads=center]

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: