รู้สึกชาที่นิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง บ่อยๆ…อย่าปล่อยไว้ ! สัญญาณอันตรายที่ต้องแก้ไขด่วน





อาการนี้ถือเป็นอาการที่หลายคนเป็นกันมาก แต่กลับมองข้ามกันไป เพราะคิดว่าเดี๋ยวเป็นไม่นานก็คงจะหาย โดยกลุ่มอาการเส้นประสาทถูกกดทับบริเวณข้อมือที่ว่านี้ มีชื่อเรียกทางการแพทย์ว่า “Carpal Tunnel Syndrome” ซึ่งก็คือ กลุ่มอาการที่เกิดจากเส้นประสาทมีเดียนถูกกดทับบริเวณข้อมือ นั่นเอง

 

การที่เส้นเอ็นบริเวณช่องข้อมืออักเสบ จะมีผลทำให้เส้นเอ็นบวมมีขนาดใหญ่ขึ้น มีผลให้ช่องว่างในข้อมือมีขนาดเล็กลง เส้นประสาทถูกเบียดหรือถูกกดทับ ซึ่งเมื่อถูกกดทับจะทำให้มีอาการปวดและชาตามนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วก้อย หรือนิ้วนาง

และถ้าเส้นประสาทถูกกดทับนานๆ กล้ามเนื้อบริเวณฝ่ามือด้านนิ้วหัวแม่มือจะลีบเล็กลง ซึ่งอาการที่ว่านี้พบได้ในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และสามารถพบได้ในคนวัยกลางคนอายุตั้งแต่อายุ 30-50 ปี

 

  

 

สาเหตุของโรคพังผืดกดทับเส้นประสาทที่ข้อมือ เกิดจาก

1. การใช้งานข้อมือในท่าเดิม ๆ เช่น คนที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์ที่ต้องใช้เมาส์ การกดแป้นคีย์บอร์ด การเย็บผ้า

2. การใช้ข้อมือที่มีการงอมือเป็นเวลานาน เช่น การกวาดบ้านนานๆ การรีดผ้า หรือการหิ้วของหนักๆ

3. การทำงานที่มีการใช้ข้อมือกระดกขึ้นและการสั่นกระแทก เช่น ช่างฝีมือประเภทต่าง ๆ พนักงานโรงงาน งานที่เกี่ยวกับการก่อสร้างหรืองานคอนกรีต

4. เมื่ออายุมากขึ้น จะทำให้เกิดพังผืดหนาตัวมากขึ้น

 

ใครที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงลองเช็คอาการเหล่านี้ดูค่ะ

 

 

อาการที่พบบ่อย

1. ชานิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง (Numbness)

2. อาการปวด สียวคล้ายไฟช็อต (Tingling)

3. อาการปวดบริเวณข้อมือ มือ นิ้วมือ อาจปวดขึ้นตามแขนถึงไหล่ โดยมักมีอาการเวลากลางคืน เวลาที่ต้องทำงานที่ใช้มือมากๆ ทำอาหาร โทรศัพท์ เขียนหนังสือ ขับรถ เป็นต้น

 

เริ่มแรกมักจะมีอาการชาตอนกลางคืน ถ้าสะบัดข้อมืออาการจะดีขึ้น แต่ต่อมาอาการชาจะเป็นมากและบ่อยขึ้น จนกระทั่งชาเกือบตลอดเวลา

นอกจากนี้ ผู้ป่วยจะไม่ค่อยมีแรง ทำของหลุดจากมือโดยไม่ได้ตั้งใจ ถ้าเป็นนานๆ โดยไม่ได้รับการรักษาจะมีอาการอุ้งมือด้านข้างลีบได้

 

 

วิธีการรักษาโรคพังผืดทับเส้นประสาท

ยังไม่ต้องกังวลมากเกินไป เพราะอาการของโรคนี้สามารถรักษาได้ ดังนี้

1. การรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด ทำโดยการทานยาเพื่อลดอาการอักเสบและบวม ใช้อุปกรณ์พยุงข้อมือ ให้ข้อมืออยู่นิ่งๆ ตรงๆ จะมีความดันในโพรงข้อมือต่ำสุด เพื่อลดการอักเสบโดยจำกัดการเคลื่อนไหวข้อมือ วิธีนี้ใช้สำหรับกรณีที่เป็นระยะแรก

 

2. การรักษาโดยการผ่าตัด

ถ้ารักษาด้วยวิธีข้างต้นแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น มีอาการชาหรือปวดมากขึ้น หรือมีอาการลีบของกล้ามเนื้อฝ่ามือด้านนิ้วหัวแม่มือ ก็จำเป็นต้องรักษาด้วยวิธีผ่าตัด

การผ่าตัด เป็นการรักษาในรายที่มีอาการมากหรือกล้ามเนื้อเริ่มอ่อนแรงหรือลีบลง และไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา ซึ่งการรักษาด้วยการผ่าตัดทำให้โรคหายขาดได้

ทั้งนี้วิธีการรักษาขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ตามระดับความรุนแรงของโรค

 

[ads]

 

ทั้งนี้ ผู้ป่วยต้องปรับการใช้ข้อมือในการทำงานไม่ให้ใช้ข้อมือกระดกขึ้นหรืองอข้อมือซ้ำๆ กันนานๆ รวมทั้งหลีกเลี่ยงงานที่มีการสั่นกระแทกด้วย และการรักษาสามารถทำได้ทุกวิธี ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค รวมถึงประสบการณ์และความชำนาญของศัลยแพทย์เป็นหลัก

 

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก thairath.co.th และ ศูนย์ศัลยกรรมทางมือ โรงพยาบาลเวชธานี

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: