เคล็ดลับ…การเงินง่ายๆ สำหรับคนวัย 30+ ให้มีเงินใช้สบายๆ





ในวัยอายุเลข 3 ที่เป็นช่วงอายุที่น่าจะผ่านร้อนผ่านหนาวกันมาระดับนึงแล้ว มีบทเรียนชีวิตมากมายที่ได้ลองผิดลองถูกมา ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือเรื่องการเงินการลงทุน หลาย ๆ คนน่าจะวางแผนการใช้เงิน การลงทุนอย่างรอบคอบมากขึ้น วันนี้มีเคล็ดลับบริหารเงิน 20 ข้อที่จะช่วยให้เพื่อน ๆ เริ่มชีวิตวัย 30 กว่า ๆ และใช้ชีวิตไปถึงวัยเกษียณอย่างมั่นคงคะ

[ads]

1.ต้องมีเงินทุนสำรองเผื่อฉุกเฉินได้แล้ว เพราะเรื่องไม่คาดคิดเกิดขึ้นได้และมักมีราคาแพงเสมอ เช่น ตกงานหรือค่ารักษาพยาบาลฉุกเฉิน เพื่อน ๆ ต้องเตรียมเงินสำรองตรงนี้ไว้

2.เปลี่ยนที่ทำงานบ้าง ถ้ามีโอกาสที่ดีกว่า อย่าลังเลที่จะคว้ามันไว้ เพื่อเพิ่มมูลค่าความสามารถของตัวเอง และได้พัฒนาทักษะการทำงานใหม่ ๆ สำหรับเติบโตในสายงานนั้น ๆ

3. ถ้าจะเสี่ยงเปลี่ยนสายงานให้ทำซะตอนนี้ เพราะถ้าเลยไปถึงอายุ 40-50 จะสายเกินไปแล้ว ถ้าอยากลองอะไรใหม่ ๆ ช่วงอายุเลข 3 นำหน้านี่ล่ะเหมาะเลย

4. ช่วงอายุ 30 กว่าจะเป็นช่วงที่เงินเดือนขึ้นมากที่สุด และทำเงินได้มากที่สุด แต่อย่าชะล่าใจนะคะหาเงินได้มาก เพื่อน ๆ ก็ควรจะเก็บออมให้ได้มากขึ้นด้วย หรือเผื่อไว้สำหรับการลงทุนจะก็ดี

5. การลงทุนกับตัวเองก็เป็นสิ่งสำคัญ หาเวลาและเงินไปพัฒนาทักษะ ความรู้ที่จะต่อยอดการทำงานของเรา อาจจะทำให้เราก้าวกระโดดในหน้าที่การงานได้มากขึ้นด้วย

6. ทำประกันที่คุ้มครองอย่างเหมาะสม วัยนี้น่าจะต้องเลิกส่งประกันขั้นต่ำ แต่มามองว่าอยากให้ประกันครอบคลุมสินทรัพย์ชิ้นไหนของเราบ้าง อาจจะต้องจ่ายแพง แต่ว่าคุ้มอยู่แล้วถ้าเกิดอะไรขึ้นมา

ภาพ:EveryDollar

7. วัยเกษียณไม่ไกลตัวอีกต่อไป เพื่อน ๆ ต้องบริหารการเงินอย่างจริงจัง ส่งเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพื่อให้มีเงินใช้หลังเกษียณได้แล้ว

8. ขึ้นเลข 3 แล้วเชื่อว่าหลาย ๆ คนคงอยากมีบ้านเป็นของตัวเองใช่มั้ย ถ้าไม่ได้คิดว่าจะย้ายจังหวัดก็ลองเก็บเงินดาวน์บ้านสักหลังน่าจะดีกว่าเช่าบ้านอยู่ แต่ต้องหาข้อมูลให้ดีก่อนตัดสินใจนะคะ

9. เงินสดบางทีก็ดีกว่าเครดิตการ์ด หลาย ๆ ร้านมีค่าธรรมเนียมรูดบัตรเครดิตทำให้คุณต้องเสียเงินโดยใช่เหตุ

10. พยายามเป็นหนี้ให้น้อยที่สุด ว่ากันว่าคนเราไม่ควรมีหนี้เกิน 20% ของเงินเดือน (ยกเว้นหนี้อสังหาริมทรัพย์) แต่เพื่อน ๆ ต้องดูสุขภาพการเงินของตัวเองด้วยว่ามีรายได้กี่ทางและมั่นคงพอจะเคลียร์หนี้หรือเปล่าด้วย ยังไงพยายามเป็นหนี้ให้น้อยที่สุดดีกว่า

11. ต้องคุยกับคู่ชีวิตเรื่องการเงินให้ชัดเจน เพราะเรื่องนี้อาจทำให้เกิดปัญหาภายหลังได้ เพื่อน ๆ ควรจะเรียนรู้ว่าคู่ของเรามีไลฟ์สไตล์การใช้เงินและการออมยังไง รวมทั้งตกลงการใช้จ่ายในบ้านด้วย

12. เริ่มคิดถึงพินัยกรรม อาจจะดูเร็วไปแต่ใครจะรู้ล่ะว่าเราจะจากไปเมื่อไหร่ ลองคิดว่าเราจะให้ทรัพย์สินที่มีอยู่ให้ใครดูแลต่อ และค่อยอัพเดทเมื่ออายุมากขึ้นก็ได้

13. ประกันชีวิตก็ต้องทำ ถ้าคุณเป็นเสาหลักของบ้าน ก็น่าจะต้องทำประกันชีวิตเพื่อให้คนข้างหลังสบายหากคุณจากไปกะทันหัน พูดเรื่องนี้อาจจะหดหู่หน่อย แต่ว่าคนเราต้องมีสติและจัดการเรื่องจำเป็นให้ได้

14. การลงทุนก็สำคัญ เมื่อเก็บเงินสำรองฉุกเฉินแล้ว ก็เริ่มจัดสรรเงินเก็บให้การลงทุนได้ โดยเน้นกองทุนรวมและหุ้นบริษัทต่าง ๆ อาจจะกระจายซื้อบริษัทขนาดเล็ก กลาง ใหญ่

15. แต่อย่าหมกมุ่นกับตลาดหุ้น ให้ลงทุนเพื่อผลตอบแทนในระยะยาว อย่าไปนั่งจ้องซื้อ-ขายทุกวัน แบบนั้นเปลืองเวลาและเปลืองค่าธรรมเนียมด้วย

16. มาถึงการเงินของลูก ๆ กันบ้าง แม้ว่าลูกจะยังเล็กแต่เพื่อน ๆ ควรเริ่มเก็บเงินค่าเล่าเรียนสำหรับระยะยาวจนถึงเข้ามหาวิทยาลัยได้แล้ว พอถึงเวลาต้องใช้จริง ๆ จะได้ไม่ขัดสน

17. นอกจากเก็บเงินให้ลูก ๆ แล้ว เราก็ควรสอนวิธีบริหารเงินให้ลูก ๆ ด้วย โดยเราทำให้ดูเป็นตัวอย่าง

18. เพิ่มความรู้ทางการเงิน สมัยนี้มีกูรูด้านการเงิน การลงทุนมากมายให้เรียนรู้ได้จากสื่อออนไลน์ เราก็สามารถศึกษาเพิ่มเติมเรื่องการเงิน การลงทุน หรือการวางแผนหลังเกษียณจะได้เอามาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

19. อย่าฟุ่มเฟือย วัย 30 จะเป็นวัยที่เงินเดือนมากขึ้นกว่าตอนเริ่มทำงาน แต่ก็ไม่ได้แปลว่าเพื่อน ๆ จะต้องไปซื้อของหรูหราตลอด ปล่อยคนอื่นเค้าอวดรวยไปเถอะราเก็บเงินของเราเพื่ออนาคตดีกว่า

20. ไม่ได้หมายความว่าเพื่อน ๆ จะต้องทำงานหนัก เก็บเงินจนเครียดการบริหารเงินที่ดีต้องจัดสรรงบส่วนหนึ่งให้รางวัลตัวเองด้วย วางแผนไปเที่ยวทริปในฝันก่อนที่จะแก่เกินเดินทางกันนะคะ

 

 

 

พี่หมีว่าช่วงเวลา 30+ น่าจะสนุกอยู่นะครับเพราะว่าเราตั้งตัวได้ระดับนึงแต่ยังไม่ได้แก่เกินจะสนุกกับชีวิต

สำหรับเพื่อน ๆ ที่บริหารเงินได้ดี ๆ จะทราบว่ามีบัตรเครดิตที่โปรโมชั่นเจ๋ง ๆ ก็ช่วยเราได้มาก ทั้งคืนเงิน สะสมแต้มต่าง ๆ ลองไปดูข้อมูลบัตรเครดิตและโปรโมชั่นต่าง ๆ เปรียบเทียบดูได้ที่เว็บไซต์โกแบร์เลยครับ

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: