เริ่มใช้แล้ว! รถชนเมื่อไหร่แค่ถ่ายรูปไว้แยกได้ทันที ไม่ต้องรอประกัน…ทำง่ายๆเพียง 2 ขั้นตอน





อุบัติเหตุทางถนนเกิดขึ้นได้ทุกวัน ทุกเวลา ซึ่งถ้าเกิดขึ้นแล้วก็จะทำให้เกิดปัญหาการจราจรตามมา เพราะจำเป็นต้องจอดรถขวางถนนเอาไว้รอจนกว่าจะมีตำรวจหรือประกันมาเคลีย

 

แต่เมื่อวันที่ 17 มี.ค.60 พล.ต.อ.เดชณรงค์ สุทธิขาญบัญชา ได้ลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) เรื่องความร่วมมือเพื่อใช้ระบบการประกันภัยแก้ไขปัญหาจราจร ตามโครงการ รถชนแล้ว ถ่ายรูปไว้ แยกได้ ไม่ต้องรอ” โดย กองบัญชาการตำรวจนครบาล รายละเอียดดังนี้

 

ครั้งนี้ได้มีการร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง MOU กับ บริษัทประกันภัย 42 บริษัท ที่เข้าร่วมโครงการ เนื่องจากตามที่รัฐบาลได้เล็งเห็นถึงการสัญจรที่ติดขัดจากการเกิดอุบัติเหตุ และคาดว่าส่วนของโครงการนี้ จะช่วยลดปัญหาได้ระดับหนึ่ง หากเกิดอุบัติเหตุชนกันเล็กน้อย และไม่มีการบาดเจ็บ เมื่อถ่ายรูปไว้ แล้วแยกรถเข้าข้างทางให้พ้นการกีดขวางได้โดยไม่ต้องรอตำรวจ หรือประกันภัย

 

[ads]

 

ส่วนของวิธีการถ่ายรูป แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

1. ถ่ายภาพระยะไกล

ถ่ายเพื่อให้เห็นช่องทางการจราจรและสภาพถนนโดยรวมทั้งหมดที่เกิดอุบัติเหตุ โดยถ่ายรูปทั้งด้านหน้าและด้านหลังรถโดยสารให้เห็นแผ่นป้ายทะเบียนอย่างละ 1 รูปเป็นอย่างน้อย

2. การถ่ายภาพระยะใกล้

ถ่ายเพื่อให้เห็นตำแหน่งและบริเวณความเสียหายที่เกิดขึ้นของตัวรถที่ชนกันทั้งสองคัน

 

 

นายอานนท์ วังวสุ นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย กล่าวว่า…ขั้นตอนดังกล่าวไม่มีความยุ่งยาก เพียงแค่ถ่ายรูปไว้ ไม่ต้องเขียนเอกสารใดๆ จากนั้นจึงโทรแจ้งกับบริษัทประกัน เพื่อแจ้งเหตุ

จากนั้น บริษัทประกันจะส่งหลักฐานให้ตามขั้นตอนต่างๆที่กำหนดไว้ ซึ่งขณะนี้มีบริษัทที่เข้าร่วมแล้ว ครอบคลุมทุกบริษัททั่วประเทศไทย

 

หากประชาชนมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติสายด่วน 1193 หรือ 1197 หรือที่สมาคมประกันวินาศภัยไทยสายด่วน 1186

 

เทคโนโลยีที่ก้าวล้ำ เชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่น่าจะมีกล้องถ่ายรูป หรือมือถือที่ถ่ายรูปได้ติดตัวเกือบทุกคน ซึ่งน่าจะช่วยให้การแก้ไขปัญหาจราจรติดขัดจากอุบัติเหตุลดลงได้อย่างแน่นอน

 

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก matichon.co.th

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: